X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

8 ขั้นตอน สอนลูกรู้จักค่าของเงิน

บทความ 3 นาที
8 ขั้นตอน สอนลูกรู้จักค่าของเงิน

ความรุดหน้าทางเทคโนโลยีและรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้วัยรุ่นในปัจจุบันไม่ได้เห็นคนรอบตัวใช้เงินสดจับจ่ายซื้อของมากเท่ากับวัยรุ่นเมื่อสิบหรือยี่สิบปีก่อน ยิ่งได้เห็นพ่อแม่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตตามร้านค้าบ่อยเข้า เด็กจึงมักคิดว่าพ่อแม่มีเงินมากมายใช้ได้เรื่อยๆ ไม่มีจำกัด แล้วเราจะสอนลูกให้รู้จักค่าของเงินตั้งแต่ยังเล็กได้อย่างไร ต่อไปนี้คือ 8 ขั้นตอนสอนลูกให้รู้จักบริหารเงินที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ง่ายๆ ค่ะ

ก้าวแรก

การจะสอนลูกให้รู้จักค่าของเงิน คุณควรเริ่มสอนทันทีที่ลูกโตพอออกไปซื้อของหรือกดเงินจากเครื่องเอทีเอ็มกับคุณได้ สำหรับเด็กวัย 3-4 ขวบ เอทีเอ็มนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะมาก ก่อนพาลูกไปกดเงิน คุณควรเล่าให้ลูกฟังว่าคุณต้องทำงานเพื่อให้ได้เงินมาไว้ในบัญชีธนาคาร และเมื่อไปกดเงินที่เครื่องเอทีเอ็ม คุณสามารถสอนลูกได้ว่าเงินไม่ได้ออกมาจากช่องจ่ายบนเครื่องเฉยๆ แต่ออกมาจากบัญชีของคุณ ทำให้คุณมีเงินเหลือในบัญชีน้อยลง ถ้าอยากให้มีเงินกลับขึ้นมาเท่าเดิม คุณก็ต้องทำงานอีก

นับเหรียญและธนบัตร

สำหรับเด็กเล็ก เราสอนลูกเรื่องสกุลเงินและวิธีนับค่าเงินของเหรียญกับธนบัตรได้ค่ะ ลองเล่นเกมนับเหรียญเรียงเป็นตั้งๆ ให้ได้ค่าเงินตามที่กำหนดไว้ หรือคุณอาจสอนลูกให้ค่อยๆ เก็บออมเพื่อซื้อขนมที่ลูกชอบ ลูกจะได้เรียนรู้เรื่องค่าเงิน

ซื้อไปด้วยเรียนไปด้วย

สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาอีกสักหน่อยและเคยไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตกับคุณแล้ว บอกให้ลูกเลือกซื้อของใช้ในบ้านสักชิ้น สอนลูกให้รู้จักแยกแยะราคาของสินค้าประเภทเดียวกันว่าชิ้นไหนถูกชิ้นไหนแพง กำลังซื้อของครอบครัวเป็นหัวข้อสำคัญในบทเรียนนี้ค่ะ และซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นสถานที่ที่เหมาะใช้สอนลูกอย่างยิ่งว่าอะไรคือ “ของจำเป็น” และอะไรคือ “ของฟุ่มเฟือย”

เริ่มสอนเรื่องเงินเชื่อหรือเครดิต

ถ้าลูกรบเร้าให้คุณซื้อของเล่นสักชิ้น อย่าดุว่าหรือซื้อให้ลูกทันทีนะคะ คุณควรต่อรองให้ลูกออมเงินไว้ซื้อเองวันหลัง หากพูดยังไงลูกก็ไม่ฟัง นี่อาจเป็นโอกาสดีที่คุณจะสอนลูกเรื่องเงินเชื่อหรือเครดิตค่ะ เริ่มจากบอกลูกว่าคุณจะให้ลูกยืมเงินไปซื้อของก่อน และลูกต้องหาเงินมาคืนให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่อย่างนั้นลูกต้องจ่ายเงินคุณเพิ่มเป็นค่าดอกเบี้ยตามอัตราที่คุณกำหนด ถ้าคุณปลูกฝังนิสัยนี้ให้ลูกได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ลูกจะเห็นคุณค่าของของแต่ละชิ้นว่าหาซื้อมาได้ด้วย “เงินของตัวเอง”

สอนลูกบริหารเงิน

เปิดบัญชีธนาคารและทำบัตรเดบิตให้ลูก

Advertisement

เมื่อลูกโตพอจะมีเงินค่าขนมแล้ว สอนให้ลูกรู้จักพื้นฐานของการทำงานหาเงินและทำบัญชีรายรับรายจ่าย คุณอาจให้ลูกดูสลิปเงินเดือนของคุณและเล่าให้ลูกฟังคร่าวๆ ว่าคุณใช้เงินกับเก็บออมเงินอย่างไร คุณอาจเปิดบัญชีธนาคารให้ลูกและย้ายเงินรับขวัญหรือเงินที่ลูกได้รับจากญาติๆ ในโอกาสพิเศษต่างๆ มาไว้ในบัญชีนี้ เด็กๆ ชอบที่จะได้รู้สึกว่าตัวเอง “เป็นผู้ใหญ่” ธนาคารบางแห่งมีบัตรเดบิตสำหรับเด็กด้วย การให้ลูกได้เป็นเจ้าของบัตรสักใบนับเป็นความคิดที่ดีตราบใดที่คุณหมั่นติดตามการใช้จ่ายของลูกค่ะ

ตั้งงบและติดตามค่าใช้จ่าย

วัยรุ่นและวัยย่างเข้าวัยรุ่นพร้อมจะเรียนรู้เรื่องงบและการตั้งเป้าแล้วค่ะ แนะแนวทางให้ลูกหัดตั้งงบสำหรับค่าใช้จ่ายประจำ เช่น เงินค่าเติมมือถือ ค่าดูหนัง ค่ากาแฟเวลาออกไปเที่ยวกับเพื่อน เด็กยุคปัจจุบันไวเรื่องเทคโนโลยี บอกให้ลูกใช้แอพติดตามค่าใช้จ่ายของตัวเองดูก็เป็นความคิดที่ไม่เลวค่ะ สำหรับลูกวัยรุ่น ถ้าคุณต้องการสอนเรื่องการวางแผนการเงิน ลองแนะนำให้ลูกฝากเงินบางส่วนในบัญชีประจำเพื่อดอกเบี้ยที่สูงกว่า ลูกจะได้เรียนรู้ถึงข้อแตกต่างของการออมเงินแต่ละประเภท

หมั่นตรวจสอบค่าใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย

ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงแอพขายของทางมือถือได้อย่างง่ายดาย และอาจเผลอใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย คุณควรหมั่นตรวจสอบเรื่องนี้ แต่อย่าถึงกับห้ามลูกใช้มือถือนะคะ คุณควรสอนลูกให้เขียนรายการของที่อยากได้และให้ศึกษาหลายๆ เว็บดูว่าที่ไหนขายของนั้นๆ ถูกที่สุด และเน้นย้ำถึงความแตกต่างระหว่าง “ของจำเป็น” กับ “ของฟุ่มเฟือย” ที่สำคัญคือลูกต้องใช้เงินให้อยู่ในงบค่าขนมของตัวเองเท่านั้นค่ะ

ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง

ข้อสุดท้ายแต่สำคัญที่สุดคือคุณต้องเป็นตัวอย่างให้ลูก อย่าลืมค่ะว่าลูกเปรียบเสมือนฟองน้ำที่จะดูดซับนิสัยทุกอย่างของคุณ ทำให้ลูกเห็นเป็นตัวอย่างด้วยการตั้งเป้าหมายทางการเงิน เก็บออมเงินฉุกเฉินและใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด ถ้าคุณมีความรับผิดชอบต่อการใช้เงินของคุณเอง คุณก็จะส่งต่อค่านิยมเดียวกันนี้ให้ลูก และคุณจะมั่นใจได้ว่าลูกสามารถบริหารเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อพ้นอกคุณไปค่ะ

ที่มา : https://www.theindusparent.com/

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

5 วิธีออมเงินสุดเจ๋ง

นี่คือวิธีที่ครอบครัวเบ็คแฮมสอนลูกให้รู้จักคุณค่าของเงิน

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

พรพยงค์ นำธวัช

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 8 ขั้นตอน สอนลูกรู้จักค่าของเงิน
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว