X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 วิธี ปลดหนี้บัตรเครดิต ที่ใช้แล้วได้ผลจริง

บทความ 8 นาที
7 วิธี ปลดหนี้บัตรเครดิต ที่ใช้แล้วได้ผลจริง

บัตรเครดิตคือตัวช่วยให้เรามีสภาพคล่องทางการเงินและมีอำนาจในการจับจ่ายมากขึ้น รวมทั้ง ยังให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ส่วนลดอาหาร หรือคะแนนสะสมเพื่อแลกของ/ลุ้นรางวัล ฯลฯ และที่สำคัญ คือ ใช้จ่ายสะดวก ผ่อนง่าย และก็เช่นเดียวกัน เป็นหนี้ง่าย! หากใช้บัตรเครดิตโดยขาดการวางแผนแล้ว รู้สึกตัวอีกทีตรวนหนี้ก็อาจจะล่ามเราจนขยับไม่ได้ จึงต้องหาทางทำอะไรสักอย่างเพื่อ ปลดหนี้บัตรเครดิต ให้ได้

หัวใจในการแก้ไขปมหนี้ โดยเฉพาะบัตรเครดิต ต้องเริ่มจากความตั้งใจจริง และหากมีวิธีที่ช่วยสนับสนุนให้การลงมือลด-ปลดหนี้ที่ได้ผล โอกาสปลดหนี้บัตรเครดิตได้สำเร็จก็ยิ่งมากขึ้น

7 วิธีปลดหนี้บัตรเครดิตในบทความนี้ คือ วิธีที่จะช่วยคุณปลดเปลื้องภาระนี้ได้ (ขอเพียงคุณเริ่มต้นทำ)

 

1. หยุดสร้างหนี้ใหม่ (ยอมรับความจริง)

หนึ่งในปัญหาสำคัญของคนเป็นหนี้ โดยเฉพาะ “หนี้เสีย” เช่น หนี้บัตรเครดิตที่เกิดจากการบริโภคเกินรายได้ คือ ความรู้สึกอับอายและไม่ยอมรับความจริง

ผู้ที่เป็นหนี้สินแล้วอับอายกลัวว่าคนอื่นรู้แล้วจะดูไม่ดี ไม่มีคนคบ หรือครอบครัวเป็นห่วง อาจปกปิดความจริงด้วยการสร้าง “หนี้ใหม่” เพื่อเอามาใช้จ่ายเช่นปกติ เหมือนไม่มีภาระหนี้ล่ามขาอยู่ หากลูกและครอบครัวต้องการซื้ออะไรก็ยังเพียรหามาให้ได้ เพื่อนชวนไปสังสรรค์ก็ยังเกรงใจตกปากรับคำไปด้วยอย่างเคย ใช้บัตรเครดิตรูดแล้วรูดอีก วงเงินหมดก็รูดอีกใบ ใช้หมดทุกบัตร ก็ขอสินเชื่ออื่นมาหมุน ปัญหาหนี้สินก็จะไม่ได้รับการแก้ไขสักที มีแต่จะเติบโตขึ้นทุกวันๆ

ดังนั้น ข้อแรกของการเริ่มต้นปลดหนี้ (ที่ไม่ใช่แค่หนี้บัตรเครดิตเท่านั้น) จึงควรเริ่มต้นจากการยอมรับความจริงทั้งกับตนเองและคนรอบข้าง เพื่อให้ทุกคนรับรู้ปัญหาจะได้เข้าใจเรา และคุณจะได้เริ่มตั้งต้นจัดการหนี้สินอย่างจริงจัง ไม่ก่อหนี้เพิ่มได้

 

2. สำรวจหนี้สินและลำดับชำระหนี้

เมื่อต้องการแก้ไขหรือสะสางปัญหาอะไร เราต้องรู้จักปัญหาให้ดีก่อน รู้ว่าปัญหาของเราคืออะไร มีอะไรบ้าง และปัญหานั้นมีขนาดเท่าใด และสำหรับปัญหาหนี้บัตรเครดิต ก็มีดอกเบี้ยเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อจะได้รู้ว่าหนี้ตัวใดที่ดอกเบี้ยสูงและควรปิดก่อนและนำไปวางแผนจัดลำดับการชำระหนี้

การสำรวจภาระหนี้สินเพื่อการจัดการหนี้สินต่อไป จำเป็นต้องมีเกณฑ์รวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ลำดับหนี้ที่ต้องจัดการให้ได้ก่อน ได้แก่

  • รายการหนี้
  • ยอดหนี้สินรวม
  • อัตราดอกเบี้ย
  • ยอดชำระขั้นต่ำ
  • ระยะเวลาผ่อนชำระที่เหลือ

ตัวอย่างตารางสำรวจหนี้สิน

  1. บัตรเครดิต A ยอดหนี้รวม 40,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี ยอดชำระขั้นต่ำ 8,000 บาท
  2. หนี้บัตรเครดิต B (ผ่อนซื้อโทรศัพท์) ยอดหนี้รวม 15,000 บาท ดอกเบี้ย 0% ยอดชำระขั้นต่ำ 1,500 บาท เหลือระยะเวลาผ่อนอีก 10 เดือน
  3. บัตรเครดิต C ยอดหนี้รวม 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อเดือน ยอดชำระขั้นต่ำ 3,000 บาท

จากลำดับจะเห็นได้ว่า หนี้ที่ควรปิด/ปลดให้ได้ก่อน คือ หนี้ A ที่มียอดหนี้ก้อนใหญ่และต้องเสียอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด เพราะหากเวลาที่ปล่อยให้หนี้เหล่านั้นมีชีวิตนานเท่าไร ก็เท่ากับดอกเบี้ยที่เติบโตผลาญรายได้ของเราเท่านั้น ส่วนลำดับต่อมา คือ หนี้ B ถือเป็นหนี้ที่ต้องชำระตามจำนวนข้อตกลงจากการผ่อนชำระสินค้า อย่างไรก็ต้องจ่าย และ หนี้ C คือ หนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าหนี้ A เราอาจจ่ายหนี้ C แค่ขั้นต่ำ เพื่อแบ่งเงินไปจ่ายหนี้ A ให้มากๆ เพื่อจะปิดหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงกว่า

 

3. ปลดหนี้บัตรเครดิตได้ ต้องจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ

เชื่อว่าใครก็ตามที่มีประสบการณ์ติดหนี้บัครเครดิตคงทราบกันดีว่า อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตทั้งสูงและส่วนมากคิดเป็นรายเดือน ทำให้ยอดหนี้คงเหลือแทบจะไม่ลดลงเลย เหมือนกับทำงานส่งให้กับธนาคารหรือเจ้าของบัตรเครดิตเพียงเท่านั้น

หลักการสำคัญในการชำระหนี้บัตรเครดิตที่ทุกคนต้องทำ คือ คุณต้องจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ

เหตุผลที่คุณควรจ่ายมากกว่าขั้นต่ำนั้น ไม่ใช่แค่เพื่อให้คุณปลดหนี้บัตรเครดิตได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยเติบโตบานปลาย ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตต่อไปนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพว่า หากจ่ายเพียงขั้นต่ำ ดอกเบี้ยจะเติบโตไปเพียงใด

ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต

สูตรคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต

เงินต้นทั้งหมดที่ค้างจ่าย x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวัน ÷ 365 วัน

*ยอดบัตรเครดิต 40,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี จ่ายขั้นต่ำ 8,000 บาท (10%)

สรุปยอดทุกวันที่ 24 และกำหนดชำระบัตรทุกวันที่ 10

สมมติว่า เริ่มสรุปยอดวันที่ 24 มี.ค.

 

ขั้นที่ 1

40,000 บาท x 20% x 17 (วันที่ 24 มี.ค. – 10 เม.ย.) ÷ 365 วัน = 372.60 บาท

ขั้นที่ 2

32,000 บาท(จ่ายขั้นต่ำ 8,000 บาท) x 20% x 15 (วันที่ 10 เม.ย. – 24 เม.ย.) ÷ 365 วัน = 263 บาท

ดังนั้น หลังจากงวดที่จ่ายขั้นต่ำไป คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยของทั้งสองขั้น ทำให้ยอดค้างชำระของคุณ คือ 32,000 + 372.60 + 263 = 32,635.6 บาท เท่ากับจ่ายดอกเบี้ยราว 635 บาท และถ้าหากคุณเป็นหนี้บัตรเครดิตหลายๆ บัตรพร้อมกัน ดอกเบี้ยที่คุณต้องจ่ายต่อเดือนก็ยิ่งสูง ซึ่งเป็นรายจ่ายที่คุณไม่ได้อะไรกลับมา เสมือนการส่งเงินให้กับเจ้าหนี้ไปเรื่อยๆ

บทความจากพันธมิตร
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เปิดใจนักแสดงไทย คุณอุ้ย สุธิตา ทำไมถึงเลือกใช้บริการ German Kitchen Design
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
เลือกเป้อุ้มเด็ก ยี่ห้อไหนดี ให้ปลอดภัยสะโพกเด็กไม่หลุด
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
วิธีเลือก ทิชชู่เปียกเด็ก ที่ปลอดภัย ไม่แพ้ ไม่คันผิว
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing
Unique Ideas To Make Your Kitchen Look Elegant, Stylish and Appealing

ทั้งนี้ จากข้อที่แล้วที่เราได้เรียงลำดับหนี้สินไป คุณควรที่จะเร่งปิดหนี้หรือจ่ายมากกว่าขั้นต่ำมากๆ สำหรับหนี้สินที่ดอกเบี้ยสูง เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายโดยรวม

 

4. รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต ลดดอกเบี้ย

การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต คือ หนึ่งในวิธีปลดหนี้บัตรเครดิตที่ช่วยปลดหนี้ได้จริง ลดภาระดอกเบี้ยลงได้ และช่วยปรับโครงสร้างหนี้ให้จัดการง่ายยิ่งขึ้น

รีไฟแนนซ์บัตรเครดิตจะเหมาะกับคนที่รู้สึกว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตในปัจจุบันสูงเกินไป อยากลดอัตราดอกเบี้ยลง หรือมีบัตรเครดิตอยู่หลายใบแล้วต้องการรวมหนี้เพื่อให้จัดการได้ง่าย เพราะให้วงเงินถึง 5 เท่าของรายได้ (แต่ไม่เกิน 1 – 2 ล้านบาท)โดยที่ไม่ต้องใช้หลักประกันใดๆ ในการขอสินเชื่อ และต้องการลดภาระผ่อนต่อเดือนลง เพราะสามารถผ่อนชำระได้ยาวนานตั้งแต่ 12 – 72 เดือน (ตามโครงการสินเชื่อและแต่ละธนาคาร)

ทั้งนี้ วิธีการนี้ก็มีเงื่อนไขที่จำกัดอยู่ ได้แก่

  • มีระยะเวลาในการชำระชัดเจน เช่น 12 เดือน 24 เดือน หรือ 12 – 60 เดือน จนถึง 72 เดือน โดยอายุรวมระยะเวลาผ่อนต้องไม่เกิน 60 ปี
  • อายุการทำงาน 6 เดือน ขึ้นไป
  • รายได้ประจำต่อเดือน 30,000 บาท ขึ้นไป
  • มีประวัติการใช้บัตรเครดิต 2 ปี ขึ้นไป

หากคุณต้องการลดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ลดภาระผ่อนต่อเดือน ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อปลดหนี้บัตรเครดิตให้ได้ การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต คือ ตัวเลือกที่น่าทำมากที่สุด

5. รวมหนี้สินด้วยสินเชื่อจำนองสินทรัพย์

วิธีนี้ไม่แนะนำสำหรับคนที่มีหนี้สินเพียงบัตรเครดิตหรือยังสามารถจัดการหนี้สินได้อยู่บ้าง เพราะการรวมหนี้สินด้วยการขอสินเชื่อจำนองสินทรัพย์มาปิดหนี้หลายๆ ตัว คือ ความเสี่ยงที่จะสูญเสียสินทรัพย์ไป วิธีนี้จึงเหมาะเป็นทางเลือกท้ายๆ ในการจัดการปัญหาหนี้สิน

หากคุณมีหนี้สินหลายรายการ และหลายประเภท เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล ภาระผ่อนรถยนต์ ซึ่งหนี้แต่ละก้อนคิดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่าสินเชื่อเหล่านี้คิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อแบบจำนองสินทรัพย์ เช่น รถแลกเงิน บ้านแลกเงิน ที่ดินแลกเงิน ที่อัตราดอกเบี้ยไม่ถึง 10% ต่อปี

หากคุณกู้สินเชื่อจำนองสินทรัพย์ก้อนใหญ่มาเพื่อปิดหนี้ก้อนอื่นๆ จริง วิธีนี้จะเป็นเสมือน “ยาแรง” ช่วยคุณแก้หนี้ได้ แต่หากไม่รู้วิธีใช้ นำเงินจากสินเชื่อไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ยาแรงตัวนี้ก็จะให้ผลที่เลวร้ายได้เช่นกัน

 

6. ขอประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน

หากปัญหาหนี้สินของคุณมาถึงทางตัน ไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ต่อไปได้ คุณควรที่จะยอมรับความจริงแล้วเดินหน้าขอความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ แจ้งปัญหาให้เขาทราบว่าสถานการณ์การเงินของคุณเป็นอย่างไร และขอประนอมหนี้กับเขา ซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี เช่น

  • ขอขยายเวลาในการชำระหนี้ เพื่อให้ยอดชำระหนี้ในแต่ละงวดของคุณลดลง (คุณอาจแบ่งเงินไปปิดหนี้ที่คิดดอกเบี้ยสูงมากกว่าได้
  • ขอให้คิดอัตราดอกเบี้ยแบบปกติที่ไม่ผิดนัด ข้อนี้เป็นข้อที่ขอความช่วยจริงๆ ใช้ในกรณีที่คุณจำเป็นจริงๆ เท่านั้น และคุณต้องชำระเงินต่องวดให้ได้ตามสัญญาด้วย
  • หยุดดอกเบี้ยชั่วคราว เพื่อผ่อนชำระตัดเงินต้นให้มากในช่วงหนึ่ง เร่งปิดหนี้ ลดดอกเบี้ย
  • เจรจาขอลดหนี้ที่ค้างชำระบางส่วน วิธีนี้โดยมาก หากเราค้างชำระมานาน ทางสถาบันการเงินจะเป็นผู้ยืนข้อเสนอนี้มาเอง เพราะประเมินแล้วว่าอย่างไรๆ ก็ไม่มีทางชำระคืนได้

ทั้งนี้ อย่าลืมว่า วิธีนี้คือวิธีสุดท้ายที่คุณจะใช้เพื่อปลดหนี้บัตรเครดิต เพราะโอกาสในการใช้วิธีนี้ได้สำเร็จก็น้อยกว่าวิธีการอื่นๆ อีกทั้ง คุณอาจต้องเสียเงินมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ยอดรวมดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาผ่อนชำระที่สูงขึ้น ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าทวงถาม ฯลฯ และถ้าถึงวิธีนี้แล้วจริงๆ คุณก็ต้องพยายามปลดหนี้ให้สำเร็จ มิเช่นนั้น อาจต้องขึ้นศาล ถูกฟ้องร้องถึงขั้นถูกยึดทรัพย์ได้

 

7. สร้างนิสัยทางการเงินที่ดี จ่ายบัตรเครดิตเต็มจำนวน

ไม่มีวิธีปลดหนี้วิธีใดจะมีประสิทธิภาพ สามารถปลดตรวนหนี้สินทั้งหลายลงได้เท่ากับการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี เพราะวินัยจะช่วยกันปัญหาการเงินต่างๆ รวมถึงดึงเราไกลห่างจากหนี้สินทั้งหลายอีกด้วย

วินัยทางการเงินที่ดีนั้น อาจฟังดูทำได้ยาก ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร แต่หากเรามีแผนที่ชัดเจนก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป สิ่งที่จะช่วยสร้างวินัยทางการเงินได้จริง เช่น

  • การติดตามรายรับ-รายจ่าย

วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้จักพฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณ รู้ว่ารายได้ต่อเดือนมีเท่าไร แล้วรายจ่ายอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือไม่ และยังช่วยให้คุณมองเห็น “รูรั่ว” หรือรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและมากเกินไปนั้นมีมากขนาดไหน ถึงเวลาที่ควรลดรายจ่ายบางรายการนั้นหรือยัง

  • ทำงบประมาณรายจ่าย

การทำงบประมาณราย่ายส่วนบุคคลคล้ายกับการทำงบประมาณของหน่วยงาน คือ เราจะตั้งงบประมาณที่จะใช้จ่ายไปกับสิ่งต่างๆ อย่างจำกัด ซึ่งคุณจะรู้จักรายจ่ายประจำของคุณจากการทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายอยู่แล้ว เพียงแต่แปลงมาเป็นงบประมาณตั้งแต่ต้นเดือนเพื่อคุ้มการใช้จ่ายตลอดทั้งเดือนไม่ให้เกินงบ

  • ฝากเงินบัญชีเงินฝากประจำ

เงินฝากประจำ คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างวินัยทางการเงินที่ดีที่สุด เพราะคุณจะไม่สามารถกดเงินมาใช้ได้ก่อนถึงเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ คุณอาจผูกบัญชีเงินเดือนเข้ากับบัญชีเงินฝากประจำแล้วตั้งระบบตัดเงินฝากประจำอัตโนมัติในทุกๆ เดือน เพื่อที่อย่างไรเงินออมของคุณก็จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นการสร้างวินัยทางการเงินโดยอ้อมอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ การออมเงินในระบบเป็นประจำจะช่วยสร้างเครดิตที่ดีในการขอกู้สินเชื่อต่างๆ ให้ผ่านง่ายได้อีกด้วย

นอกจากนี้ เพื่อป้องกันการเกิดหนี้บัตรเครดิต คุณควรใช้บัตรเครดิตอย่างจำกัด อาจลดจำนวนบัตรลงเหลือเพียง 1 – 2 บัตรเท่านั้น และควรสร้างนิสัยในการชำระหนี้ที่ดี ป้องกันการเติบโตของดอกเบี้ย ด้วยการใช้บัตรเครดิตตามงบที่วางแผนไว้และชำระบัตรเครดิตเต็มจำนวน เช่น ตั้งงบประมาณใช้บัตรเครดิตไม่เกิน 10,000 บาท ต่อเดือ และต้องชำระเต็มจำนวน 10,000 บาท เมื่อถึงวันชำระ เพื่อไม่ให้เกิดหนี้

บทความนี้ ได้รวบรวมวิธีปลดหนี้บัตรเครดิตที่ใช้ได้ผลจริงมาทั้ง 7 ข้อนี้แล้วกระนั้นก็ตาม ต่อให้มีวิธีเป็นสิบเป็นร้อย หากแต่คุณไม่เริ่มลงมือจัดการปัญหาอย่างจริงจัง ปัญหาหนี้ก็คงไม่หมดไป

ที่มา : blog.ghbank.co.th

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีปลดหนี้บัตรเครดิต ปลดพันธะชีวิตครอบครัว

เซย์ No บัตรเครดิต! วิธีสร้างอนาคตครอบครัว

แม่ขายลูกชายฝาแฝด เพียงอยากได้เงินไปซื้อ มือถือใหม่ และใช้หนี้บัตรเครดิต

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

@GIM

  • หน้าแรก
  • /
  • การวางแผนการเงิน
  • /
  • 7 วิธี ปลดหนี้บัตรเครดิต ที่ใช้แล้วได้ผลจริง
แชร์ :
  • เทคนิค การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต

    เทคนิค การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต

  • ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีอะไรบ้าง ต้องทำยังไงบ้าง ?

    ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีอะไรบ้าง ต้องทำยังไงบ้าง ?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • เทคนิค การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต

    เทคนิค การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต

  • ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีอะไรบ้าง ต้องทำยังไงบ้าง ?

    ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีอะไรบ้าง ต้องทำยังไงบ้าง ?

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว