สอนลูกคนโตง่ายๆ
บทความจาก คุณแม่ที่เลี้ยงลูกน้อย 5 คน ในวัยไล่เลี่ยกัน Stephanie Jones เธอแชร์ประสบการณ์การฝึกลูก สอนลูกคนโตง่ายๆ ให้พร้อมรับกับการเป็นลูกคนโตว่า…
ฉันมีประสบการณ์ของการเป็นคุณแม่ที่ต้องสอนให้พี่คนโตรอต้อนรับน้องคนเล็กที่กำลังจะเกิดแบบนี้ถึง 4 ครั้ง ซึ่งทำให้ฉันได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง การเลี้ยงลูกคนโต ก็แตกต่างกับการเลี้ยงลูกคนเล็กอย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เพราะฉะนั้นเหนือกว่าเหตุผลทุกประการ บทเรียนที่ 1 ให้ทราบไว้เลยว่า เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นประสบการณ์การเลี้ยงลูกของแต่ละคน ก็ย่อมแตกต่างกัน ไม่มีกฎตายตัวเสมอไป
อย่างไรก็ตามมีคนกล่าวว่า การเตรียมพร้อมให้ลูกที่ต้องกลายมาเป็นลูกคนโต พร้อมๆกับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องกลับมาเลี้ยงลูกเล็กอีกครั้ง นั้นเป็นเรื่องง่ายมาก หากสามารถทำได้ดังนี้
7 ทักษะ สอนลูกคนโตง่ายๆ
1. สอนให้ลูกรู้จักชื่อสิ่งของและการใช้งาน
คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มสอนลูกคนโตให้รู้จักว่าสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีชื่อเรียกว่าอย่างไร และตั้งอยู่ตรงไหนในบ้านบ้าง อาจจะเป็นสิ่งของที่ใช้เป็นประจำทุกวันหรือสิ่งของที่ใช้กับน้องคนเล็กที่ยังแบเบาะอยู่ เช่น เมื่อคุณแม่ต้องการผ้าอ้อมผืนใหม่สำหรับลูกน้อย คุณแม่อาจจะขอให้พี่คนโตช่วยหยิบให้ เพื่อทำให้ลูกคนโตรู้สึกว่า เขามีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการเลี้ยงน้อง ช่วยเพิ่มความมั่นใจและเพิ่มคุณค่าในตัวของเขา คุณแม่ก็จะมีผู้ช่วยเพิ่มที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ
2. ฝึกฝนงานบ้านๆง่ายให้แก่ลูกคนโต
งานบ้านง่ายๆที่ลูกคนโตสามารถทำได้ คุณแม่ก็ควรปล่อยให้ลูกลงมือทำเอง คุณแม่อาจจะคอยช่วยอยู่ข้างๆ เช่น การซักเสื้อผ้า การเช็ดสิ่งของที่หกเปรอะเปื้อน และการเก็บของเล่น เมื่อลูกคนโตได้รับการฝึกฝน และสามารถลงมือทำเองได้ คุณแม่ก็จะพบกับงานง่ายและรู้สึกสบายมากขึ้น เมื่อคุณแม่เหนื่อยจากการเลี้ยงน้องคนเล็กแล้ว
3. ฝึกลูกคนโตให้ทานอาหารได้ด้วยตัวเอง
คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกคนโตทานอาหารได้ด้วยตัวเอง ให้มากเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงอายุและความคล่องแคล่วของลูกด้วย การทานอาหารเองนี้ อาจจะเป็นการฝึกหยิบจับเอาอาหารเข้าปากหรือ การทานอาหารด้วยช้อส้อมอย่างเรียบร้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นฝึกลูก ด้วยอาหารที่แห้งและมีความเหนียว เช่น ข้าว ซึ่งจะได้ผลมาก เมื่อลูกทานอาหารได้ด้วยตัวเองคุณพ่อคุณแม่จะมีความสุขสบายใจเพิ่มขึ้นแน่นอน!
4. ฝึกให้ลูกคนโตรู้จักการเล่นคนเดียว
ถึงแม้การเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกันกับลูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และคุณลูก การฝึกให้ลูกรู้จักการเล่นคนเดียวก็สำคัญเช่นกัน เมื่อคุณแม่ต้องคอยดูน้องคนเล็ก ซึ่งมักจะหิวตลอดเวลา หรือแม้แต่คุณแม่ที่ต้องการทานอาหารมื้อเย็น มันจะเป็นเรื่องง่ายมาก หากลูกคนโตสามารถเล่นคนเดียวได้ในระยะเวลาสั้นๆ การฝึกฝนลูกให้มีทักษะนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเตรียมกล่องของเล่นสำหรบเวลาที่ลูกต้องเล่นคนเดียวนี้ อาจมีการกำหนดเวลาในการเล่นแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับความสามารถของลูก
5. สอนให้ลูกคนโตรู้จักอยู่ในพื้นที่เฉพาะของเขา
การสอนให้ลูกรู้จักอยู่ในพื้นที่เฉพาะของเขา อาจจะดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ หากลูกสามารถอยู่ในบริเวณพื้นที่ของเขาได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ควรจับตามองลูกอย่างไม่ให้คลาดสายตา หรือไม่ควรแม้แต่ปล่อยให้ลูกอยู่โดยลำพัง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สอนให้ลูกรู้จักอาณาเขตหรือบริเวณที่ลูกควรอยู่ได้ จะนับว่าเป็นเรื่องที่ดีอีกเรื่องนึง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มสอนลูกด้วยเรื่องง่ายๆ เช่น เมื่อลูกเริ่มคลาน คุพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกอยู่ในบริเวณแผ่นรองคลานเท่านั้น การสอนแบบนี้สามมารถสอนได้ในเด็กทุกช่วงวัยให้ลูกรู้จักอาณาเขตของเขาแค่นั้น ถึงอย่างไรก็ตามเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน แต่ถ้าสอนได้คุณพ่อคุณแม่ก็จะวางใจได้ว่าลูกจะเล่นเพ่นพ่านทั่วบ้าน
6. สอนให้ลูกคนโตรู้จักปลอบโยนตัวเองเป็น
อาจจะดูเป็นเรื่องที่กระด้างไปต่อการดูแลเอาใจใส่ลูก แต่เป็นวิธีการฝึกสอนให้ลูกรู้จักการจัดการกับอารมณ์ตัวเองมากกว่าที่จะให้ลูกเล่นอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักการหาที่ๆอยู่แล้วรู้สึกปลอดภัย หรือรู้สึกอบอุ่น หรือเรียกได้ว่าให้ลูกรู้จักหาวิธีที่จะทำให้ตัวเองมีความสุข เมื่อลูกรู้สึกไม่เศร้าหรือไม่สบายใจ มีการแสดงโชว์ของเด็กเรื่องหนึ่งที่สอนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเด็กๆ ตัวอย่างเช่น หากกำลังรู้สึกโกรธไม่พอใจ และอยากจะกรีดร้อง ให้หายใจลึกๆและนับ 1 – 4 แทน การสอนให้ลูกรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตัวเองเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ลูกจะสามารถพัฒนาทักษะนี้ไปได้เรื่อยๆต่อๆไป
7. สอนให้ลูกคนโตรู้จักการใช้พละกำลังของตัวเอง
ข้อนี่อาจจะดูยาก ว่าะสอนให้ลูกใช้พละกำลังได้อย่างเหมาะสมได้อย่างไร การสอนอาจจะใช้วิธีเหมือนการสัมผัสไปยังผิวสัมผัสที่แข็งหรือนิ่ม หรือใช้วิธีการออกกำลังแบบแข็งแรงและแบบอ่อนโยน ให้ลูกได้รู้ถึงควมแตกต่างที่มี อาจจะเริ่มตัวอย่างจากการเล่นแป้งโดว์หรือการเล่นทราย คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกสัมผัสหรือเล่นสิ่งของเหล่านั้นด้วยวิธีที่นุ่มนวล หากลูกรู้จักแยกแยะระหว่างการสัมผัสแบบรุนแรงกับแบบที่นุ่มนวลแล้ว เมื่อลูกคนโตต้องเจอกับน้องคนเล็ก คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจได้ เพราะลูกเรียนรู้ว่าเขาต้องสัมผัสน้องแบบนุ่มนวลด้วยวิธีการอย่างไร และลูกก็จะเพิ่มความอ่อนโยนและความรักน้องได้ด้วยตัวเอง
คุณพ่อคุณแม่บ้านไหนที่มีลูกวัยไล่เลี่ยกันบ้างคะ เห็นด้วยกับวิธีการเหล่านี้ไหมคะ หรือมีข้อแนะนำอื่นๆอย่างไร ลองเล่าเรื่องราวหรือแชร์ประสบการณ์ได้นะคะ
บทความและภาพจาก www.jornie.com
บทควมอื่นๆที่น่าสนใจ
5 พฤติกรรมลูกคนโตที่ต้องสังเกต เมื่อมีน้องคนใหม่
ฝึกให้พี่รักน้องตั้งแต่อยู่ในท้อง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!