X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน

8 Dec, 2016

หมอแพม เพจ Dr.Pam book club อธิบาย 7 ข้อต้องรู้ เรื่องอาเจียนและถ่ายเหลวในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน

7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน

เรื่องถ่ายเหลว อาเจียน ก็เป็นความเจ็บป่วย top hit ในเด็กนะคะ ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารนั่นเอง

ลำไส้ของคนเรา รวมกันทั้งลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก มีความยาวเป็น 3-4 เท่าของความสูงของเจ้าของลำไส้ ขดรวมกันอยู่ในท้อง ลำไส้คนเราเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่เราไม่เจ็บปวด เวลาลำไส้ติดเชื้อ จะมีการเคลื่อนไหวที่รุนแรงผิดปกติ เคลื่อนไหวเร็ว ทิศทางจากเดิมบนลงล่างก็จะไม่ปกติ บีบไปมา เราจึงเกิดอาหารมวนท้อง ปวดท้องตอนที่ลำไส้บีบตัว ดีขึ้นเมื่อคลาย แล้วก็ปวดอีก เพราะลำไส้ส่วนนั้นคลาย อีกส่วนก็บีบ รู้สึกจะอาเจียน เพราะน้ำและอาหารไม่ได้ถูกลำเลียงลงไปข้างล่าง อย่างที่ควรจะเป็น

เวลาเด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้มีภาวะติดเชื้อทางเดินอาหารจะน่าสงสารมาก เค้าไม่สามารถสื่อสารกับพ่อแม่ได้ว่า เค้าคลื่นไส้ เค้ามวนท้อง พ่อแม่ป้อนอาหาร เค้าก็บอกอะไรไม่ได้ว่าไม่พร้อมกิน ทำได้อย่างเดียวคือหันหน้าหนี ปัดอาหาร ร้องไห้ เพื่อสื่อให้พ่อแม่รู้ว่ายังไม่พร้อมจะรับอาหารตอนนี้

เวลาลำไส้บีบตัว เค้าจะร้องกรี๊ด ไม่ต้องแปลกใจว่าเล่นอยู่ดีๆ ร้องไห้กรี๊ดๆ แม่ปลอบอย่างไรก็ไม่ดี จะดีเมื่อลำไส้คลายตัวเท่านั้นถ่ายเหลว และอาเจียน มีไข้ต่ำ อาการเหล่านี้ ล้วนน่ากังวลใจอย่างมากสำหรับพ่อแม่ แต่เราจะสามารถช่วยเหลือลูกเบื้องต้นได้นะคะ ขอเพียงเรามีสติ และมีความรู้ เราก็จะสามารถช่วยให้ลูกดีขึ้นได้ มาเรียนรู้กันนะคะ
สาเหตุหลักๆของการเกิดอุจจาระร่วง หรือการอาเจียนในเด็ก ก็คือการติดเชื้อ

สาเหตุหลักๆของการเกิดอุจจาระร่วง หรือการอาเจียนในเด็ก ก็คือการติดเชื้อ

เชื้ออันดับ 1 คือ ไวรัส ซึ่งมีหลายชนิดมาก ผู้ร้ายที่ผู้คนรู้จักชื่อกันกว้างขวาง คือ ไวรัสโรต้า และที่เพิ่งจะมีชื่อเสียงเมื่อเร็วๆนี้ แต่จริงๆก็รู้จักกันมานานแล้ว แต่เพิ่งจะดัง เพราะยุคโซเชียลมีเดีย ก็คือ โนโรไวรัส (Norovirus ชื่อเดิม Norwalk) ซึ่งการถ่ายเหลวจากการติดเชื้อไวรัสนั้น เด่นๆ คือ ถ่ายเป็นน้ำ พรวดๆ ถ่ายทีชุ่มผ้าอ้อม เด็กทารก (อายุน้อยกว่า 1 ปี) จะเพลียอย่างรวดเร็วมาก เพราะจะอย่างไร ก็จะไม่สามารถกินน้ำเกลือแร่ทดแทนได้ทันกับที่เสียไป

อันดับ 2 คือ แบคทีเรีย ซึ่งหากเกิดจากตัวเชื้อเอง เชื้อจะเจาะทำลายผนังลำไส้ ก็จะทำให้ถ่ายเป็นมูก อาจมีเลือดปน แต่หากเป็นการถ่ายเหลวที่เกิดจากสารพิษที่แบคทีเรียปล่อยเข้าไปในกระแสเลือด ก็อาจถ่ายเหลวเป็นน้ำได้เหมือนไวรัส หรือบางทีจะมีอาเจียนเด่นมาก หรือที่เรียกว่า อาหารเป็นพิษ

ที่เหลือสาเหตุอื่นๆ เจอได้น้อยในเด็กแข็งแรงปกติ เช่น เกิดจากพยาธิ เกิดจากการกินยาปฏิชีวนะติดต่อกันนานๆ เป็นต้น

ดังที่กล่าวไปเกิน 95% ก็เกิดจากไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งเด็กก่อนวัยเรียนนั้น ไวรัสก็เป็นผู้ร้ายอันดับ 1 เวลามีข่าวไวรัส ตัวนั้นตัวนี้ระบาด พ่อแม่ที่ลูกมีอาการ ก็จะกังวลว่าลูกตัวเองติดเชื้อนั้นด้วยหรือไม่ เหมือน 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีคำถามเกี่ยวกับ Norovirus มาเป็นระยะ ซึ่งจริงๆ แล้ว การตรวจเชื้อ ให้ผลดี ในแง่การบอกภาวะการระบาด เพื่อให้คนที่ยังไม่เป็น ได้ป้องกันตัวเอง แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นแล้ว การรู้เชื้อ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการรักษา

ให้พ่อกับแม่มั่นใจว่า กุมารแพทย์สามารถให้การรักษาภาวะถ่ายเหลว อาเจียนในเด็กได้ แม้ว่าโรงพยาบาล หรือแพทย์ในโรงพยาบาล จะไม่ได้ส่งตรวจเพื่อหาเชื้อไวรัสก็ตาม ส่วนเชื้อแบคทีเรียนั้น การส่งเพาะเชื้อ กว่าจะได้ผล ต้องรออย่างน้อย 72 ขั่วโมงหลังจากส่งอุจจาระเพื่อตรวจ ถ้าแพทย์นึกถึงภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะไปก่อนโดยไม่รอผลอยู่ดีนะคะ

สรุป ไม่ว่าจะเป็นไวรัส หรือแบคทีเรีย เพียงแค่การซักประวัติ และตรวจร่างกาย แพทย์ก็สามารถให้การรักษาได้ โดยไม่ต้องรอผลว่าติดไวรัสตัวไหน แบคทีเรียตัวไหน...และเด็กก็สามารถหายได้ เพราะจริงๆแล้วภูมิคุ้มกันในตัวเค้านั่นแหละค่ะคือพระเอกตัวจริง
สิ่งที่อันตรายที่สุด หากเด็กมีภาวะถ่ายเหลว หรืออาเจียน

สิ่งที่อันตรายที่สุด หากเด็กมีภาวะถ่ายเหลว หรืออาเจียน

คือภาวะช็อค จากการขาดน้ำและเกลือแร่ เพราะฉะนั้น การรักษาที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่การจับเชื้อ มาฆ่า แต่เป็นการทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป

สิ่งที่ออกมากับอุจจาระและอาเจียนของคนเรานั้น ไม่ได้มีแต่น้ำ แต่มีเกลือแร่ด้วย คิดง่ายๆ น้ำมูก น้ำตา เรายังเค็ม ดังนั้นเวลาถ่ายเหลวออกมา มีเกลือแร่อยู่ในนั้นปริมาณมาก ซึ่งเกลือแร่เหล่านั้น สำคัญต่อการทำงาน และสมดุลของเซลล์มาก

หมอจะเปรียบเทียบง่ายๆ ถ้าน้ำทั้งหมดของร่างกาย มาใส่แก้วแล้วเต็มพอดี แบ่งน้ำในแก้วออกเป็น 100 ส่วน ร่างกายเด็ก จะเริ่มมีอาการของการขาดน้ำ เมื่อน้ำพร่องแก้วไปสักประมาณ 5 ส่วน เค้าจะเริ่มกินน้ำบ่อย จะปัสสาวะน้อยลง แต่ถ้าน้ำพร่องไปเกิน 5 ส่วน เด็กจะไม่เล่นแล้ว หลับมาก เพลีย ซึ่งถ้าเป็นระยะนี้ คงต้องพาไปพบแพทย์เพื่อประเมิน ความเร่งด่วนในการช่วยเหลือนะคะ

ดังนั้น เราต้องเริ่มให้สารน้ำเกลือแร่ทดแทน ตั้งแต่ระยะแรก อย่ารอให้ลูกซึมก่อน แล้วค่อยให้กิน เพราะถ้าซึมแล้ว แปลว่าการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ เกินระดับที่เค้าจะสามารถปรับตัวได้แล้ว

สารน้ำเกลือแร่ที่ใช้ทดแทน เรียกว่า ORSซึ่งจะเป็นสารน้ำที่ผ่านการทดลองมาแล้ว ว่าจะช่วยทดแทนเกลือแร่ได้เร็วที่สุด ดีที่สุด มีน้ำตาล และเกลือในสัดส่วนที่ลำไส้จะดูดซึมได้ดี พอดี

*** ซึ่งไม่ใช่เกลือแร่ทดแทนสำหรับผู้เสียเหงื่อและไม่ใช่น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลมใส่เกลือ นะคะ*** เราไม่ได้อยู่ในยุคที่ยาหายากขนาดนั้น แค่เดินไปร้านสะดวกซื้อ เราก็ซื้อ ORS ให้ลูกได้แล้วค่ะ

เด็กที่อาเจียนเด่นกว่าถ่ายเหลวจะรักษาที่บ้านได้ยากมาก เพราะยากินต้องการเวลาในการดูดซึม ถ้าลูกอาเจียนตลอดเวลา แนะนำว่าพาไปพบแพทย์ดีกว่าค่ะ
คนส่วนใหญ่รู้ว่าเวลาท้องเสีย อาเจียน กิน ORS

คนส่วนใหญ่รู้ว่าเวลาท้องเสีย อาเจียน กิน ORS

แต่ตกม้าตาย ตรงที่ดื่มพรวดเข้าไป แบบนั้น จะยิ่งทำให้ถ่ายเหลวนะคะ

การกินที่ถูกต้องคือจิบช้าๆ เพราะ ORS มีความเข้มข้นมาก ดื่มเข้าไปปริมาณมาก ก็จะดูดน้ำจากผนังลำไส้เข้ามาในโพรงลำไส้ แล้วก็ถ่ายออกมาเป็น ORS+น้ำที่ถูกดูดออกมา เสียน้ำและเกลือแร่หนักกว่าเดิม

ในเด็กก็เช่นกัน ดีที่สุดคือใช้ช้อน หรือ syringe ป้อน แต่ถ้าจะให้ดูดเอง แบ่งให้กินครั้งละ 1 ออนซ์ แล้วค่อยๆ เติมให้เรื่อยๆ เว้นระยะ ไม่เช่นนั้น นอกจากจะไม่ได้ช่วยเรื่องทดแทนแล้ว ยังไปดูดเอาน้ำและเกลือแร่มาทิ้งเพิ่มอีกด้วย การกิน ORS ที่บ้าน ถ้าหมอเห็นแล้วว่าลูกเรา มีภาวะขาดน้ำไม่มาก และไม่ได้อาเจียนหนักจนถึงขั้นกิน ORS และยาไม่ได้คือ คำนวณง่ายๆ ว่า 10 ซีซี ต่อ 1 กิโลกรัม ต่อการถ่ายเหลว 1 ครั้ง

ยกตัวอย่าง เด็กหนัก 5 กิโลกรัม ถ่ายเหลว 1 ครั้ง ก็ต้องกินทดแทน 50 ซีซี แต่ไม่ต้องเป๊ะๆ ดูอาการเป็นหลัก ถ้ากินแล้ว ยังถ่ายมาก อาเจียนมาก ลูกซึมลง แม้ว่าจะให้ ORS แล้ว ต้องพาไปรพ.เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดค่ะ
เวลาเด็กถ่ายเหลว สิ่งที่หมอกับพยาบาลถูกถามบ่อยมากก็คือ ความกังวลของพ่อแม่

เวลาเด็กถ่ายเหลว สิ่งที่หมอกับพยาบาลถูกถามบ่อยมากก็คือ ความกังวลของพ่อแม่

ที่แม้ลูกจะเข้ารับการรักษาแล้ว แต่ลูกยังไม่หยุดถ่าย “เนี่ย ยังถ่ายเหลวออกมาตั้ง 2-3 ครั้ง”

ซึ่งหมอต้องขอบอกความจริงว่า อาเจียนยังพอให้ยาฉีด ยากินลดได้ แต่ “ไม่มีการรักษาใด ไปหยุดการถ่ายเหลวได้” เพราะลำไส้ที่ติดเชื้อ มีผิวหน้าลำไส้บาดเจ็บ ก็ต้องคัดหลั่งสารน้ำออกมามากผิดปกติ และจะดูดซึมน้ำใหม่ ก็ทำได้ช้า ผลรวมคือ มีน้ำค้างในลำไส้มาก ก็ถ่ายออกมา

*** การใช้ยาหยุดถ่าย เป็นข้อห้ามของการรักษาถ่ายเหลวในเด็ก อันตรายมากนะคะ การที่บังคับให้ลำไส้หยุดบีบตัว เชื้อก็ค้าง มีแบคทีเรียโตในลำไส้ อาจแทรกเข้าสู่กระแสเลือดได้ ดังนั้น ไม่มียาหยุดถ่ายนะคะ แต่อาจมียาบางกลุ่มทำ ให้ความถี่ในการถ่ายลดลงได้อย่างปลอดภัย

เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับลักษณะอุจจาระของเด็กนี่เอง ทำให้มีการคิดค้นยา คล้ายๆ ผงถ่าน ที่กินเข้าไปแล้ว ผงนี้ พองน้ำ ออกมาเป็นเนื้ออุจจาระให้พ่อแม่สบายใจ แต่ก็ไม่ได้ช่วยลดการถ่ายแต่อย่างใจ หมอจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดยา ซึ่งก็มีหลายกลุ่ม แต่จะบอกว่า ลักษณะอุจจาระของเด็ก แม้จะมาหาหมอแล้ว แม้จะ admit แล้ว ก็ยังจะเป็นถ่ายเหลวเหมือนเดิม แต่ปริมาณ และจำนวนจะค่อยๆ ลดลง เพราะลำไส้ค่อยๆสมานดีขึ้น

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปเครียดกับอุจจาระมาก ไม่ต้องนับ ชั่ง ตวง ถ่ายรูปให้หมอดูอย่างใกล้ชิด ตราบใดที่อาการของลูกดีขึ้น เล่นได้ ปากไม่แห้ง กินนม กินอาหารได้ ร้องไห้น้ำตานองหน้า ก็ไม่ต้องกังวลมากนักนะคะ (คงตัดเลยไม่ได้ แต่หวังว่าจะกังวลลดลง)

ให้ติดตามอาการทั่วไปใกล้ชิด ให้เกลือแร่ ORS ทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่เสียไปให้ทัน แล้วก็จะหายได้ค่ะ
เด็กช่วงวัยที่กินนมอย่างเดียวถ้ามีการติดเชื้อ ทำให้เกิดการถ่ายเหลว

เด็กช่วงวัยที่กินนมอย่างเดียวถ้ามีการติดเชื้อ ทำให้เกิดการถ่ายเหลว

ถ้ากินนมแม่อย่างเดียว ให้กินต่อไปค่ะ กินได้ปกติ ไปต้องไปรับข้อมูลอื่น แล้วไปซื้อนมสูตรท้องเสียให้ลูกกิน นมแม่นี่แหละ เจ๋งที่สุด มีภูมิคุ้มกันมาช่วยรบกับเชื้อด้วย และเพิ่มคือให้กินเกลือแร่ ORS ป้อนกับช้อนเพิ่มเข้าไป ให้กินบ่อยๆ ทดไว้ว่า 10 ซีซี ต่อ 1 กิโลกรัม ต่อการถ่ายเหลว 1 ครั้ง

ยกตัวอย่าง เด็กหนัก 5 กิโลกรัม ถ่ายเหลว 1 ครั้ง ก็ต้องกินทดแทน 50 ซีซี ให้กินช้าๆเรื่อยๆ ไม่ต้องเป๊ะมาก ดูว่าลูกยังร่าเริง เล่นได้ก็ Ok เลยค่ะ แต่ถ้ากังวล ก็พาไปพบแพทย์

ถ้าเด็กกินนมผสม ให้ชงตามเดิม ไม่ต้องเจือจางนะคะ แล้วให้กิน ORS ทดแทนเหมือนกับข้างบน แต่ถ้าเด็กมีถ่ายเหลว เป็นฟอง เหม็นเปรี้ยว ก้นเป็นแผลถลอกเหมือนถูกกรดกัด ต้องพาไปพบกุมารแพทย์ เพื่อตรวจอาการ เพราะขณะที่ติดเชื้อ การย่อยน้ำตาลในนม อาจทำได้ลดลง ทำให้นมกลายเป็นกรด กรณีนี้อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนนมเป็นสูตรไม่มีน้ำตาลแลคโตส แต่ถ้าไม่มีอาการอย่างที่หมอว่า ก็ให้กินนมได้ปกติค่ะ

เด็กที่เปลี่ยนเป็นนมไม่มีน้ำตาลแลคโตส ก็ให้กินจนหมดกระป๋องได้นะคะ เพราะสารอาหารอื่นๆ นอกจากน้ำตาลก็ไม่ต่างกัน ไม่ต้องทิ้ง...เสียดาย
ถ้าเด็กๆ ต้อง admit พระเอกในการรักษาภาวะถ่ายเหลว หรืออาเจียน คงจะหนีไม่พ้น น้ำเกลือ

ถ้าเด็กๆ ต้อง admit พระเอกในการรักษาภาวะถ่ายเหลว หรืออาเจียน คงจะหนีไม่พ้น น้ำเกลือ

ซึ่งชื่อว่าน้ำเกลือนี่ มันสื่อจริงๆ เลยค่ะ เพราะในน้ำ 1 ลิตร มีเกลือแกงเล็กน้อย กับน้ำตาล ที่เทียบกับลูกอมสัก 2-3 เม็ดอยู่ในนั้น ไม่มีอะไรมากกว่านั้น เพราะฉะนั้น ทดแทนภาวะขาดน้ำ แต่ไม่ได้ทดแทนอาหารนะคะ ยังต้องพยายามป้อนอาหารลูกต่อไป แม้เค้าจะปฏิเสธ ได้กินมื้อละ 2-3 คำก็ยังดี

และมีการศึกษาว่า การที่ให้ลำไส้ของผู้ป่วยว่างเปล่า ไม่มีอาหาร ทำให้การหายของลำไส้ หายช้ากว่าการได้รับอาหาร
หมอชอบรักษาเด็กถ่ายเหลว และอาเจียน แล้วมา admit นะคะ

หมอชอบรักษาเด็กถ่ายเหลว และอาเจียน แล้วมา admit นะคะ

หมอชอบเวลาเห็นเด็กๆ “ฟู”ขึ้นมา เป็นศัพท์ของหมอเด็ก เด็กๆ นี่บริสุทธิ์ จริงๆนะคะ เวลาเค้าเจ็บป่วย เค้าจะซม ซึม ทำให้ทั้งครอบครัวห่อเหี่ยว แต่พอดีขึ้น ตื่นมา แววตา ท่าทาง จะเป็นคนละคน ฟูขึ้นมาได้ ชั่วข้ามคืน

แต่ดีขึ้น ก็ไม่ได้แปลว่าหายเป็นปกติเลยนะคะ ลำไส้ต้องใช้เวลานานกว่าจะหาย กว่าจะมีอุจจาระที่เหมือนปกติ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เช่นเดียวกับการอยากอาหาร ช่วงแรกๆ จะยังไม่เป็นปกติ แต่พอเค้าหาย เค้าก็จะขอกินโน่น กินนี่ สบายใจได้ค่ะ เด็กเก่งกว่าที่เราคิด และร่างกายของเด็ก มีการซ่อมแซมตัวเองสูงมากนะคะ ดีกว่าผู้ใหญ่ซะอีก ดังนั้น เชื่อใจลูกนะคะ ไม่ต้องไปบังคับ ให้กินโน่นกินนี่ เดี๋ยวดีขึ้น เค้าจะขอเรากินเองค่ะ

ช่วงที่ไม่หายดี ให้กินอาหารอ่อนๆ หมายถึงอาหารย่อยง่ายนะคะ ไม่ใช่อาหารเหลว หลีกเลี่ยงอาหารที่มี fat เยอะนะคะ ย่อยยาก กินพวกข้าวต้ม ใส่เนื้อสัตว์ไม่ติดมันมาก หรือไม่ต้องใส่กระเทียมเจียว ข้าวสวยกับแกงจืดที่ไม่มัน จะช่วยให้ลำไส้ไม่ทำงานหนักเกินไป
ถัดไป
img

บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 7 ข้อแม่ต้องรู้ เมื่อหนูถ่ายเหลวและอาเจียน
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว