X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 ข้อ ที่แม่ควรรู้เกี่ยวกับ นมวัว

บทความ 5 นาที
7 ข้อ ที่แม่ควรรู้เกี่ยวกับ นมวัว

แม่ๆ ทุกคนต่างรู้ดีว่า นมแม่ คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก เพราะอุดมด้วยสารอาหารจำเป็นที่ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ ทำให้ร่างกายน้อยๆ สามารถต้านทานโรคภัยทั้งหลายได้ด้วยตัวเอง แต่เมื่อเด็กๆ เติบโตถึงวัยหม่ำอาหารชนิดอื่นได้ นมวัว กลายเป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ที่แม่จำนวนมากหยิบยื่นให้ลูกดื่ม ด้วยความเชื่อที่ถูกปลูกฝังผ่านค่านิยมแบบตะวันตกที่ว่า จะช่วยให้มีร่างกายสูงใหญ่ มีกระดูกและฟันแข็งแรง

จากการสำรวจพบว่า ชาวอเมริกันซึ่งเป็นชนชาติที่ดื่ม นมวัว มากที่สุด กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักเกินอย่างหนัก โดยพบผู้ชายเป็นโรคอ้วนถึง 27% และมีผู้หญิงอ้วนมากถึง 46% นอกจากนี้คนอเมริกันจำนวนมาก ล้วนถูกรุมเร้าด้วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าคนเอเชียถึง 9 เท่า!!

นมวัว ยิ่งดื่มยิ่งดี หรือมีแต่เพิ่มความเสี่ยง?

การประชุมกองทุนวิจัยมะเร็งโรค (WCRF) และ สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (AICR) สรุปว่า นมวัวไม่ใช่แหล่งอาหารที่ดีที่สุด และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม มากขึ้น แต่หลายประเทศ กลับมีนโยบายส่งเสริมให้เด็กวัยกำลังโต ดื่ม นมวัว อย่างน้อยวันละ 2 แก้วทุกวัน ทั้งที่ชาวเอเชียและคนไทยกว่าร้อยละ 80 มักมีอาการท้องอืด แน่นท้อง และท้องเสียหลังจากดื่มนมเข้าไป เพราะร่างกายไม่มีเอ็นไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแลกโตสในนมได้ เด็กๆ บางคนมีอาการแพ้เคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก เมื่อร่างกายดูดซึมได้ไม่หมด ก็จะตกค้างอยู่ภายในลำไส้ เมื่อท้องผูกหนักๆ อุจจาระที่แข็งจะครูดทำลายเยื่อบุลำไส้ ทำให้สารประกอบโปรตีนเหล่านั้นหลุดเข้าสู่กระแสเลือดไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต่อต้านขึ้นมา เป็นเหตุให้เกิด โรคภูมิแพ้

นมวัว

 

7 เหตุผล ที่แม่ควรรู้ก่อนให้ลูกดื่มนมวัว

  • นมวัวมีไขมันสูง นมวัวมีคอเรสเตอรอลสูง และอุดมด้วยกรดไขมันอิ่มตัวจำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ การดื่มนมวันละ 2 แก้ว เท่ากับต้องรับคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกายเทียบเท่ากับการรับประทานเบคอนมากถึง 34 ชิ้น ด้วยกัน!!
  • นมวัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ และโรคหอบหืด ไม่ได้มีเพียงแค่ชาวเอเชียที่มีปัญหาในการย่อยน้ำตาลแล็กโตส และดูดซึมโปรตีนในนมวัวไม่ได้ ปัจจุบัน ชาวอเมริกันจำนวนมากก็มีอาการภูมิแพ้ หอบหืด และไซนัสอักเสบ จากการดื่มนมวัวเช่นกัน
  • นมวัวทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน นมวัวไม่ได้มีส่วนช่วยลดอัตราการแตกหักของกระดูก แถมยังมีส่วนทำให้กระดูกผุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 เนื่องจากร่างกายต้องปรับปริมาณแคลเซียมให้มีความสมดุลต่อฟอสฟอรัส ทำให้ประเทศที่ดื่มนมวัวมาก ๆ อย่าง สหรัฐอเมริกา สวีเดน ฟินแลนด์ ประชากรมีแนวโน้มเป็นโรคกระดูผุมากกว่าประเทศในแถบแอฟริกาที่ไม่นิยมดื่มนมวัว

นมวัว

  • นมวัวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง มีงานวิจัยพบการเชื่อมโยงว่า ผู้ชายที่ดื่มนมวัวต่อเนื่องมีความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นถึง 50% เช่นเดียวกับผู้หญิงก็เป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นจนน่าตกใจ
  • นมวัวกระตุ้นให้เด็กๆ โตเกินวัย Growth Hormone ในนมวัว จะกระตุ้นให้เด็กวัยประถมที่ดื่มนมวัวเป็นประจำ เป็นหนุ่มเป็นสาวไวกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน การโตเร็วผิดธรรมชาติ จะบั่นทอนอายุลูกให้สั้นลง เพราะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ
  • นมวัวกระตุ้นให้เกิดโรคเบาหวาน นมวัวเป็นอาหารที่ปราศจากเส้นใย เต็มไปด้วยไขมันและโปรตีนต่างๆ ให้พลังงานสูง หากร่างกายนำไปใช้ไม่หมด อาจนำไปสู่ โรคอ้วน และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 ได้
  • นมวัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ระบุว่า นับตั้งแต่คนไทยรับวัฒนธรรมการดื่มนมวัวตามแบบตะวันตกมาในปี พ.ศ. 2500 คนไทยมีอัตราการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีสูงขึ้น เพราะนมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไขมันในเลือดสูง

 

น้ำนมพืช ประโยชน์ที่คู่ควรกับร่างกายลูกรัก

นมวัว

 

เรารู้แล้วว่า นมวัว เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ มากมาย และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้นมวัวในเด็กเล็ก ในขณะที่ นมพืช เปี่ยมด้วยกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพ อย่าง กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega 3) และ กรดอัลฟาไลโนเลอิก (Alpha-Linolenic Acid - ALA) มีส่วนในการพัฒนาสมอง และจอประสาทตา ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ นมพืช โดยเฉพาะ นมถั่วเหลือง ยังมีโปรตีนสูง เป็นแหล่งของ กรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid) ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องอาศัยการรับประทานอาหารเท่านั้น มีบทบาทสำคัญในการสร้างเอนไซม์ ฮอร์โมน และสารสื่อประสาทต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการย่อยอาหาร สร้างเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เป็นแหล่งพลังงาน และช่วยให้ระบบต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ

เพื่อคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน คุณแม่ควรดูแลให้สมาชิกในครอบครัว ทานอาหารพืช (Plant Based Whole Food - PBWF) ได้แก่ ผักต่างๆ ผลไม้สด และธัญพืช ไม่ผ่านกระบวนการสกัด ขัดสี แปรรูป หรือปรุงแต่งใดๆ โดยเลือกทานสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปไม่ซ้ำในแต่ละสัปดาห์ ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะ อาหารที่ดี คือหัวใจของการมีสุขภาพดีทั้งครอบครัว

 

สนใจรับคู่มือโภชนาการดีๆ สำหรับเจ้าตัวเล็ก คลิกเลย startright.info

*ข้อมูลอ้างอิง

www. health.harvard.edu/digestive-health/lactose-intolerance

www. breastfeedingthai.com/dr-sutheera/ข้อมูลด้านอื่นๆของนมวัว

www. thaicam.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=316:-7-&catid=81:2010-08-06-03-43-56&Itemid=147

https:// mgronline.com/daily/detail/9550000134270

https:// mgronline.com/daily/detail/9570000128503

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • โภชนาการ
  • /
  • 7 ข้อ ที่แม่ควรรู้เกี่ยวกับ นมวัว
แชร์ :
  • อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

    อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

    อาการแพ้นมวัว เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแพ้นมวัว

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ