พูดและลงมือทำ พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนรู้ว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ที่เราใช้ในการสอนลูกได้ และ การสอนลูกเรื่องเงิน ซึ่งคือการสอนบทเรียนอันล้ำค่าเกี่ยวกับเงิน ก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน
บ่อยครั้งที่เราไปพึ่งพาสิ่งที่พ่อแม่สอนเราตอนเด็ก ๆ หรือไม่ก็พูดสิ่งที่นึกได้ โดยไม่ทันคิดก่อน แต่เรามองข้ามไปว่าสิ่งที่เราพูดนั้น สร้างค่านิยมให้ลูกอย่างไร โดยเฉพาะเวลาที่เราพูดเรื่องเงิน อย่าง การสอนลูกเรื่องเงิน มีหลายสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองพูดเหมือน ๆ กัน แต่บางสิ่งพ่อแม่ก็สามารถเปลี่ยนวิธีการพูดให้น่าฟังขึ้นได้ ดังนี้
1. เงินไม่ได้งอกมาจากต้นไม้
คำพูดนี้เป็นคำพูดติดหูที่เราคงจะเคยได้ยินพ่อแม่พูด ตอนที่ท่านให้เราใช้ของอย่างรู้ค่าไม่ทิ้งขว้าง จากการที่ถูกสอนมาแบบนี้ เราเองก็รู้ด้วยว่าคำพูดนี้มันไม่ได้ผล
สิ่งที่ลูกได้ยิน
คำพูดนี้ส่งผลกับลูกน้อยมาก เพราะมันแค่บอกสิ่งที่รู้อยู่แล้ว แน่นอนว่ามันเป็นคำพูดที่อาจจะตลก และก็จำได้ง่าย แต่พอเป็นเรื่องของ การสอนลูกเรื่องเงิน แล้ว แทบจะไม่ได้อะไรจากมันเลย
คุณควรพูดอะไรแทน
ถ้าอยากจะสอนให้รู้คุณค่าไม่ทิ้งขว้าง มีคำพูดโบราณอันหนึ่งที่ใช้ได้ คำว่า “ไม่ทิ้งขว้าง ไม่ฟุ่มเฟือย” (แน่นอนว่ามันล้าสมัยไปแล้ว คุณอาจจะต้องเปลี่ยนคำสักหน่อย) ลองพูดว่า “ต้องทำงานหนักเพื่อซื้อของชิ้นนี้ / เพื่อทำอาหารมื้อนี้ / เพื่อทำให้ลูก ดังนั้นก็คิดให้ดีๆ นะ” หรือไม่ก็พูดว่า “ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเพื่อสิ่งนี้นะ อย่าใช้แบบทิ้งขว้าง”
2. “เงินไม่พอซื้อ”
ลูกของคุณอยากได้ของเล่นราคาแพง และแน่นอนของเล่นชิ้นนี้มันไม่จำเป็น หรือมันเกินงบของคุณ ลูกๆ ก็ร้องไห้งอแงในร้านของเล่น คุณเลยพูดเพื่อให้ลูกหยุดว่า “เงินไม่พอซื้อ” จากนั้นลูกจะหยุดร้องไห้งอแงเอง (หวังว่านะ)
สิ่งที่ลูกได้ยิน
ถึงแม้ว่าคำนี้อาจจะดูเหมือนวิธีสอนลูกเรื่องเงินที่โหดแต่เปี่ยมไปด้วยความรัก พ่อแม่ผู้ปกครองควรคิดอยู่เสมอว่าลูกมีความรู้สึกที่อ่อนไหวมากๆ คำว่า “เงินไม่พอซื้อ” อาจจะทำให้ลูกสับสนกับคำว่า “เราไม่มีเงิน” ก็ได้ และนี่อาจจะทำให้ลูกกังวลและเครียดเรื่องสถานภาพทางการเงินของครอบครัว
คุณควรพูดอะไรแทน
คุณสามารถสอนลูกเรื่องราคาของสิ่งต่างๆ ด้วยการบอกว่า “มันไม่คุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายเลย มีอย่างอื่นที่ดีกว่า มีอย่างอื่นที่เราควรซื้อนะ”
3. “ไม่รู้จะผ่านเดือนนี้ไปได้ยังไง”
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองนำลูกเข้ามามีส่วนร่วม ในการตัดสินใจและการพูดคุยเรื่องเงิน ให้คุณบอกความจริงเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินของครอบครัว เพื่อเป็นการสอนลูกถึงความยากลำบากของชีวิต
สิ่งที่ลูกได้ยิน
สิ่งนี้ร้ายแรงกว่าการบอกว่า “เงินไม่พอซื้อ” การบอกให้ลูกรู้เกี่ยวกับปัญหาทางการเงิน อาจจะทำให้ลูกใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัวว่าจะไม่มีบ้านให้อยู่หรือไม่มีจะกิน ลูกต้องการความมั่นคงและปลอดภัย
คุณควรพูดอะไรแทน
การดึงลูกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องเงินเป็นเรื่องที่ดีและสามารถทำได้ แต่การคุยเรื่องความกังวลและปัญหาเรื่องเงินนั้นไม่ใช่ การให้ลูกเห็นว่าคุณดิ้นรนสู้ชีวิตยังคงเป็นเรื่องดี แต่ขอให้เป็นไปในทางบวกและสร้างกำลังใจ นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะสอนลูกให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ด้วยการบอกว่า “มาระดมสมองกัน และลองเสนอวิธีที่ช่วยเราเก็บเงิน”
4. “อยากได้อะไรเดี๋ยวซื้อให้หมดเลย”
พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนอยากมอบสิ่งที่ตัวเองขาดไปในวัยเด็กกับลูก คุณอาจจะได้ยินพวกเขาพูดว่า “อยากได้อะไรเดี๋ยวซื้อให้หมดเลย”
สิ่งที่ลูกได้ยิน
นี่เป็นวิธีการที่สอนให้ลูกมีสิทธิ์ใช้เงิน เมื่อลูกได้ยินแบบนี้ คุณกำลังบอกลูกว่าเงินไม่สำคัญ ลูกจะได้ทุกสิ่งอย่างแค่เพียงเอ่ยปากขอ
คุณควรพูดอะไรแทน
การให้รางวัลเด็กด้วยของขวัญอาจจะเป็นเรื่องดีในการสอนลูกเรื่องเงิน แต่ของขวัญพวกนี้ต้องลงแรงเพื่อให้ได้มา ลองตั้งระบบให้รางวัลขึ้นมา เช่น ให้รางวัลเมื่อเรียนดีหรือทำงานบ้าน บอกลูกของคุณว่า “ถ้าลูกทำแบบนี้ / ตั้งใจทำสิ่งนี้ ลูกก็จะได้สิ่งนี้ (ของรางวัลที่ตกลงกันไว้)”
5. “เปลืองเงิน”
คุณคิดในใจว่า “จะต้องมีหุ่นสไปเดอร์แมนสักกี่ตัวกัน” แล้วคำพูดที่หลุดออกจากปากคุณก็คือ “เปลืองเงิน”
สิ่งที่ลูกได้ยิน
ตอนที่คุณซื้อรองเท้าคู่ใหม่ คุณรู้สึกดีกับตัวเอง ดังนั้นตอนที่ลูกคุณซื้ออะไรสักอย่าง ลูกคุณก็รู้สึกดีเช่นกัน นั่นเป็นเพราะว่าการซื้อของพวกนี้ มันไปตอบสนองตัวตนของคุณ เป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์และเป็นไปโดยธรรมชาติ การที่คุณบอกว่าสิ่งที่ลูกต้องการเป็นสิ่งที่สิ้นเปลืองเงิน นั่นคือคุณกำลังบอกว่าลูกของคุณไร้ค่า
คุณควรพูดอะไรแทน
ใช้โอกาสนี้สอนลูกเกี่ยวกับความจำเป็นและความต้องการ ถามลูกว่า “ก็รู้ว่าลูกอยากได้ แต่มันจำเป็นจริงๆ เหรอ”
6. “ไม่คุยเรื่องเงินเลย”
พ่อแม่ผู้ปกครองบางคนเลือกที่จะไม่คุยเรื่องเงินกับลูกเลย
สิ่งที่ลูกได้ยิน
ถ้าคุณไม่พูดอะไรเลย ลูกคุณก็จะถูกปล่อยให้ตีความเอาเองว่ามันหมายความว่ายังไง ลูกอาจจะมีความคิดและค่านิยมผิดๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อมุมมองและวิธีจัดการเงินเมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่
คุณควรพูดอะไรแทน
เมื่อไม่พูดเรื่องเงินกับลูก ผลลัพธ์แบบที่เลวร้ายน้อยที่สุดก็คือ ถือว่าพลาดโอกาสสอนลูกในเรื่องที่สำคัญ ส่วนแบบที่เลวร้ายที่สุดคือ มันอาจจะทำให้มีค่านิยมผิดๆ เกี่ยวกับเงิน ดังนั้นให้คุณใช้เวลาสอนลูกเรื่องเงินโดยใช้คำพูดที่เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก การทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกมีค่านิยมที่ดีและเป็นบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริงตลอดชีวิต
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!