5 สาเหตุ ทำให้เด็กเจ้าอารมณ์ เพราะอะไรกัน ที่นี่มีคำตอบ

จากเด็กน้อยที่แสนน่ารัก ว่านอนสอนง่าย จู่ ๆ ทำไมลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ไปได้ เอาละสิ งานเข้าละทีนี้ อยากรู้ไหมคะว่า อะไรคือสาเหตุที่คุณทำให้ลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ ที่นี่มีคำตอบค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 สาเหตุ ทำให้เด็กเจ้าอารมณ์ เพราะอะไรกัน ?

ทราบหรือไม่คะว่า การที่ลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์นั้นสาเหตุหนึ่งก็มาจากคุณพ่อคุณแม่นี่แหละค่ะที่เป็นต้นเหตุ อยากรู้แล้วใช่ไหมละคะว่า พ่อแม่จะไปเป็นต้นเหตุได้อย่างไร ถ้าอยากรู้แล้ว เรามาเข้าสู่บทความกันเลยค่ะกับ 5 สาเหตุ ทำให้เด็กเจ้าอารมณ์

สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ ได้แก่

1. เอะอะอะไรก็ให้ของ คุณพ่อคุณแม่คะ ทราบหรือไม่คะว่า การให้ของลูกเราบ่อยเกินไป นอกจากจะทำให้ของสิ่งนั้นไม่มีค่าแล้ว ยังทำให้ลูกรู้ว่า เพียงแค่เขาร้องไห้งอแงหรือโวยวายนิดเพียงนิดเดียว คุณพ่อคุณแม่ก็หาซื้อของที่เขาอยากได้แล้ว และไม่ว่าเขาจะต้องการอะไร หรือไม่อยากที่จะทำอะไร แค่แสดงอาการร้องโวยวายออกมา คุณพ่อคุณแม่ก็ใจอ่อน ตามใจเขาทุกที นี่แหละค่ะ ที่เป็นการปลูกฝังให้ลูก ๆ เป็นเด็กเจ้าอารมณ์โดยที่เราไม่รู้ตัว

2. ปล่อยลูกให้มีชีวิตอิสระมากเกินไป คำว่าอิสระในที่นี้หมายถึง ตื่นมาแล้วอยากจะแปรงกันก็แปรง อยากจะทานข้าวตอนไหนก็ทาน อยากที่จะนอนตอนไหนก็นอนเป็นต้น สำหรับเด็กเล็กวัยเตาะแตะแล้ว การปลูกฝังลูก ๆ ให้รู้จักการจัดสรรเวลาตั้งแต่พวกเขายังเด็ก ๆ นั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้ลูก ๆ กลายเป็นเด็กที่มีระเบียบวินัยแล้ว ยังช่วยทำให้พวกเขารู้ว่า ควรที่จะทำอะไรตอนไหน และเวลาไหนที่ควรจะทานข้าว มิเช่นนั้น หากจู่ ๆ เราไปบังคับลูก ทั้ง ๆ ที่ลูกเราไม่เคยทำมาก่อน แน่นอนว่า สิ่งที่ตามมาก็คือ ลูกของเราจะเริ่มแสดงอาการร้องไห้งอแง หรือโวยวายโดยทันที

3. ไม่ค่อยใช้เวลาอยู่กับลูก จริงอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะยุ่งมากจนแทบจะไม่มีเล่นกับลูกเลย ลูกถึงต้องแสดงอาการอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่า เรียกร้องความสนใจ กับคุณพ่อคุณแม่เขาเอง เพราะพวกเขารู้ว่า การที่พวกเขางอแงหรือโวยวายนั้น สามารถเรียกความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี ลองดูสิคะ เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่หาเวลาไปเล่นและพูดคุยกับลูกได้สักหนึ่งชั่วโมง ถามพวกเขาบ้างว่า วันนี้ลูกเล่นอะไร ทานอะไรเป็นอาหารกลางวัน หรือวันนี้หนูทำอะไรบ้างเป็นต้น เพียงเท่านี้ ลูกก็จะรู้สึกได้ว่า คุณพ่อคุณแม่ยังสนใจพวกเขาอยู่ ทำแบบนี้ทุกวันอาการขี้แยของลูกก็จะเบาลงจนหายไปได้เอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. กดดันเรื่องเวลา เข้าใจว่า ยุคสมัยนี้ เป็นยุคแห่งการเร่งรีบ รถก็ติดแสนติด ไม่ว่าจะทำอะไรทีก็ต้องคำนวณเวลาเผื่อเอาไว้ให้มาก ๆ ดังนั้น พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงมักกดดันเวลาลูกมากจนเกินไปค่ะ ยกตัวอย่างเช่น เร่งให้ลูกทานข้าว เร่งให้ลูกอาบน้ำแต่งตัว หรือเร่งให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จไว ๆ เป็นต้น ทราบหรือไม่คะว่า พฤติกรรมเหล่านี้ จะเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับเด็กโดยที่เราไม่รู้ตัว และเมื่อเด็ก ๆ เกิดความเครียด พวกเขาก็ไม่รู้ว่าจะจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้อย่างไร จึงส่งผลให้ลูก ๆ แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมา

5. ไม่เคร่งครัดในกฎระเบียบเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ลูกเจ้าอารมณ์หรืออาละวาดแล้วทำลายข้าวของ คุณไม่เคยลงโทษ พูดคุย ตักเตือนหรือสอนลูก ๆ เลย หรือทำบ้างไม่ทำบ้าง เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะสอน และลงโทษลูกทุกครั้งที่พวกเขาทำผิดเสียด้วยซ้ำ

คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคะ “เพราะเด็ก ๆ คือผ้าขาว ช่วงเวลานี้แหละ คือช่วงเวลาที่ดีที่สุด ที่เราจะแต่งแต้มสีสันบนผ้าผืนนั้น ให้สวยงาม แต่ถ้าหากเราปล่อยให้ผ้านั้นสกปรกตั้งแต่แรก วันเวลาผ่านไป ก็จะทำให้ผ้าเริ่มหม่นจนกลายเป็นสีดำ กว่าที่จะซักผ้าผืนนั้นให้ขาวได้ก็ยากเสียแล้ว” เราคงไม่อยากให้เช่นนั้น จริงไหมคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากลูกขี้หงุดหงิด แล้วพ่อแม่ควรรับมืออย่างไร อ่านได้จากบทความถัดไปค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกขี้หงุดหงิด พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกขี้หงุดหงิด ขี้โมโห อารมณ์ร้าย กรีดร้อง ควบคุมตัวเองไม่ได้ มักจะเกิดขึ้นกับเด็กอายุราวๆ ประมาณ 2 ขวบ 4 ขวบ และช่วงวัยรุ่น การกระทำแบบนี้อาจจะเกิดจากพ่อแม่ที่ขี้โมโห เจ้าอารมณ์ เวลาไม่พอใจก็จะทำอะไรโครมคราม ทำลายข้าวของ เมื่อลูกเห็นก็จะแสดงอารมณ์เดียวกัน บางครั้งอาจเกิดจากพ่อแม่ที่ปล่อยให้ลูกได้แสดงอารมณ์อย่างเต็มที่ โดยไม่มีการตักเตือน จนท้ายที่สุดลูกก็จะกลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิดค่ะ ดังนั้น พ่อแม่ควรที่จะจัดการกับพฤติกรรมลูกตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยวิธีการเหล่านี้ คือ

1. เริ่มที่พ่อแม่

สาเหตุหนึ่งที่ลูกกลายเป็นเด็กขี้หงุดหงิดก็มาจากพ่อแม่นั่นแหละ เพราะไม่ว่าใครเวลาที่อารมณ์ไม่ดีก็มักจะเผลอปล่อยตัวไปตามอารมณ์ ทำให้ไม่รู้เลยว่าการแสดงพฤติกรรมแบบนั้นอยู่ในสายตาลูกอยู่เสมอ เมื่อลูกเห็นว่าพ่อแม่ทำแบบนี้เพื่อระบายอารมณ์ ลูกก็จะทำตามบ้าง ดังนั้น หากเป็นไปได้ พ่อแม่ควรต้องพยายามระงับอารมณื อย่าทะเลาะกันต่อหน้าลูก มีอะไรก็ให้ไปเคลียร์กันสองคนจะดีที่สุดค่ะ

2. งดให้ลูกดูสื่อที่มีความรุนแรง

เด็กส่วนใหญ่มักะมีพฤติกรรมเลียนแบบพฤติกรรมมาจากพ่อแม่บ้าง สื่อที่ดูบ้าง หรือคนรอบข้างบ้าง และถ้าพ่อแม่ปล่อยให้ลูกดูยูทูปที่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้ลูกน้อยกล่ยเป็นเด็กก้าวร้าว วีนเหวี่ยง จากสื่อที่พบเห็น เพราะน้องจะยังแยกไม่ออกว่าอันนี้ควรทำตามหรือไม่ เป็นสิ่งที่ดีหรือเปล่าค่ะ ดังนั้น ก่อนที่จะยื่นอะไรให้ลูกดูควรคัดกรองสื่อสักหน่อย หรือให้นั่งดูข้างๆ ลูกจะดีกว่าค่ะ

3. หยุดตามใจลูกจนเสียนิสัย

บ่อยครั้งที่พ่อแม่ยอมตามใจลูก เพราะเห็นว่าลูกยังเล็ก สมัยก่อนตอนที่พ่อแม่เด็กๆ ของแบบนี้ไม่มี จึงอยากให้ลูกได้รับสิ่งดีๆ บ้าง หรือเห็นว่าเวลาลูกร้องหน้าเขียว ก็กลัวลูกจะหายใจไม่ออก สงสารลูก ก็เลยตามใจ สิ่งนี้พอพ่อแม่ทำเขาปล่อยๆ ลูกน้อยก็จะยิ่งอาละวาดเอาแต่ใจยิ่งขึ้น เพราะเขารู้แล้วว่าทำอย่างไรถึงจะได้สิ่งที่ตนเองต้องการ ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุด คือ ต้องทำเป็นไม่รับรู้หรือนิ่งเฉยเสีย  เวลาเขาแสดงอาการโมโหโทโสออกมา ก็ควรเดินเลี่ยงไปเสียที่อื่น แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ชุมชน คนเยอะๆ อาจจะพาลูกเลี่ยงไปที่อ่นก่อนค่ะ

4. ฝึกให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง

ถึงแม้ว่าอารมณ์โมโห เป็นเรื่องปกติของคนทุกคน แต่พ่อแม่ต้องเข้าใจว่า หากเราฝึกให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ได้ตั้งแต่เล็กๆ จะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเด็ก เพราะจะทำให้ลุกไม่ต้องเป็นเด็กขี้โมโห ขี้หงุดหงิด หรือเป็นเด็กชอบอาละวาด เอาแต่ใจค่ะ วิธีการฝึกควบคุมอารมณ์ของลูกมี ดังนี้

  • เมื่อลูกโมโห ให้ลูกสูดลมหายใจลึกๆ 10 ครั้งในใจ
  • ให้กำลังใจลูกในการจัดการอารมณ์ตนเอง โดยอาจจะกล่าวคำชมเชยลูกเมื่อพบว่าลูกสามารถจัดการตัวเองได้ เพื่อให้ลูกรู้สึกภูมิใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการกับอารมณ์โกรธ
  • หากลูกโมโหคนอื่น ลองสอนให้ลูกมองคนที่กำลังทำให้ลูกโกรธว่าเขามีข้อดีอะไร แล้วบอกว่าทุกคนล้วนมีทั้งข้อดีและเสียด้วยกันทั้งนั้น สิ่งไหนที่อภัยได้ก็ให้อภัยต่อกัน เพราะคนที่ไม่มีความสุขคือลูกเองที่ต้องมานั่งโกรธอยู่

5. หยุดอารมณ์เมื่อลูกกรีดร้อง

พ่อแม่ต้องพยายามระงับอารมณ์ลูก เมื่อพบเห็นว่าลูกกรีดร้อง แสดงอาการไม่พอใจ โดยการจับที่ตัวลูกน้อย จับไว้จนกว่าที่เด็กจะได้สติ แล้วพูดกับลูกน้อยด้วยความใจเย็น  บอกเขาว่าคุณรู้และเข้าใจในสิ่งที่ลูกโกรธอยู่ พร้อมบอกว่าเวลาที่คนเราโกรธ หรือหงุดหงิดเป็นเรื่องธรรมดา แต่การที่แสดงอารมณ์และพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่การกระทำที่เหมาะสม ลูกควรรู้จักระงับอารมณ์ หลังจากนั้นก็พูดกับลูกว่า การกระทำแบบนี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร อับอาย หรือโกรธบ้างหรือเปล่า แต่อย่างไรก็ตามจงให้ความมั่นใจลูกอีกครั้งว่า คุณยังรักเขาเหมือนเดิม และมั่นใจว่าเขาจะแก้ไขปรับปรุงตัวของเขาให้ดีขึ้นได้แน่ๆ

ที่มา: Pintsizedtreasures


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

5 วิธีสอนลูกให้มีจิตใจดีงาม

8 ขั้นตอน สอนลูกให้รู้จักค่าของเงิน

ลูกหงุดหงิดง่าย 8 สัญญาณที่บอกว่าเด็กอาจต้องการนักบำบัด อันตรายมั้ย?

ลูกร้องไห้ไม่หยุดรับมืออย่างไร ? ร้องไห้แบบไหนเข้าข่าย โคลิค

พ่อแม่ไม่ดูแลเอาใจใส่ลูก เลวร้ายกว่าพ่อแม่ชอบตามใจ

ลูกขี้หงุดหงิด โมโหร้าย เจ้าอารมณ์ พ่อแม่ควรจัดการอย่างไร ไม่ให้ลูกเป็นเด็กขี้วีน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth