X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 ความเชื่อเดิมๆ ที่ไม่ปลอดภัยกับทารก

27 Apr, 2016
5 ความเชื่อเดิมๆ ที่ไม่ปลอดภัยกับทารก

5 ความเชื่อเดิมๆ ที่ไม่ปลอดภัยกับทารก

สารพัดความเชื่อแบบเดิม ๆ ที่เคยได้เรียนรู้จากประสบการณ์และคำแนะนำบางอย่างของผู้ใหญ่นั้น ในปัจจุบันอาจใช้ไม่ได้ เพราะความเชื่อบางอย่างอาจส่งกระทบกับความไม่ปลอดภัยของลูกน้อย ซึ่งอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำของกุมารแพทย์ ในกรณีนี้พ่อแม่บางคนอาจประสบปัญหาที่ต้องขัดใจผู้ใหญ่ แต่หากมีเหตุผลที่ถูกต้องเพื่ออธิบาย เชื่อว่าผู้ใหญ่ยุคนี้ย่อมเข้าใจพ่อแม่ในการเลี้ยงลูกยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
การให้น้ำทารกแรกเกิด

การให้น้ำทารกแรกเกิด

เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวทารกเสียชีวิตในอเมริกาเพราะอาการน้ำเป็นพิษ อันเนื่องมาจากมารดาของเด็กไม่มีน้ำนมเพียงพอและทางครอบครัวก็ไม่มีกำลังที่จะซื้อนมผงสำหรับเด็ก ดังนั้นจึงได้เจือนมแม่ด้วยน้ำและป้อนให้กับทารกได้กิน มันเป็นกรณีร้ายแรงที่ทำให้เห็นว่าน้ำสามารถส่งผลร้ายให้เด็กทารกได้แค่ไหน ซึ่งในนมแม่ก็มีน้ำในปริมาณที่ลูกจำเป็นต้องได้รับอยู่แล้ว

เด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนจึงยังไม่ต้องจำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่มเติมจากนมแม่ หลังจากนั้นคุณแม่ก็สามารถให้ลูกดื่มน้ำเปล่าได้ ในปริมาณที่ไม่เกิน 60-120 มิลลิลิตรต่อวัน และหลังจากหนึ่งขวบก็ให้ลูกได้ดื่มนมควบไปกับมื้ออาหารและดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร ยกเว้นในกรณีที่ทารกน้อยมีการสูญเสียน้ำจากอาการท้องเสีย หรืออาเจียน โดยต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของกุมารแพทย์
การทาแป้งเด็ก

การทาแป้งเด็ก

เรามักจะใช้แป้งเด็กมาทาตัวปะแป้งให้ลูกน้อยหลังอาบน้ำ เพราะเข้าใจว่าแป้งเด็กจะช่วยปกป้องจากผดผื่นคัน ช่วยให้ผมของทารกแห้งหลังอาบน้ำหรือช่วยให้บริเวณก้นและขาหนีบแห้งในตอนเปลี่ยนผ้าอ้อม ซึ่งจริง ๆ แล้วการทาแป้งไม่จำเป็นสำหรับลูกน้อยเลย สิ่งที่ควรทำคือการใช้ผ้าเช็ดตัวลูกให้แห้ง

แป้งเด็กไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับทารกเท่านั้น แต่มันยังไปไม่ปลอดภัยอีกด้วย เพราะแป้งเด็กที่มีส่วนผสมของทัลคัม เมื่อทารกสูดหายใจเข้าไป อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจได้
อาบน้ำลูกโดยใช้น้ำร้อนจัด

อาบน้ำลูกโดยใช้น้ำร้อนจัด

ความเชื่อของคนเฒ่าคนแก่ที่ว่าให้อาบน้ำทารกน้อยด้วยน้ำที่ร้อนจัด ๆ เพราะเชื่อว่ามันจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ของร่างกายที่สะสมมา และช่วยให้นอนหลับดีขึ้น แต่จริง ๆ แล้วการใช้วิธีนี้อาจทำให้ผิวของทารกเป็นแผลพุพองจากการอาบน้ำที่ร้อนจัดและมันยังอาจลวกผิวลูกอีกด้วย

การอาบน้ำให้ลูกน้อยควรจะใช้น้ำอุ่นในอุณหภูมิที่เหมาะสมคือระหว่าง 37-38 องศาเซลเซียส หากไม่รู้ว่าอุณหภูมิน้ำอุ่นแค่ไหน ก่อนอาบน้ำลูกให้ลองใช้ข้อศอกจุ่มทดสอบอุณหภูมิน้ำดูว่าอุ่นสบายพอเหมาะหรือไม่ การอาบน้ำอุ่นจะช่วยให้ทารกรู้สึกกระชุ่มกระชวย และช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ผิวหนังทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายอบอุ่นและมีภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ หริอโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ และป้องกันการเป็นหวัดด้วย
การให้เสริมอาหารด้วยนมวัว

การให้เสริมอาหารด้วยนมวัว

กุมารแพทย์ได้ให้คำแนะนำว่า ในช่วง 6 เดือนแรก ทารกควรจะได้รับนมแม่อย่างเต็มที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนากรที่ครบถ้วน โดยไม่ต้องเสริมนมอย่างอื่น ยกเว้นเสียแต่ในกรณีที่นมแม่ไม่เพียงพอ ทำให้น้ำหนักของทารกไม่อยู่ในเกณฑ์ หรือมีความจำเป็นที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ก็ควรใช้นมสูตรสำหรับทารกเท่านั้น
ให้ทารกนอนในเปลญวน

ให้ทารกนอนในเปลญวน

เปลผ้าขาวม้าหรือเปลญวนที่ผู้ใหญ่สมัยก่อนมักใช้นอนแกว่งไกวกันมานาน และนำมาใช้เพื่อทำเปลนอนให้เด็ก ข้อดีคือ เมื่อทารกนอนในเปลที่โอบรัดตัวทารกน้อยไว้อย่างแนบแน่น จะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่ในท้องแม่ และการเคลื่อนไหวของเปลในขณะที่ไกวอยู่จะช่วยกล่อมให้ลูกนอนหลับง่าย อย่างไรก็ตาม ในเด็กเล็ก ๆ มักมีอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ หากในขณะนอนในเปลแล้วไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะจมูกของลูกอาจถูกปิดโดยผ้าเปล ซึ่งอาจส่งผลเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจได้

การให้ทารกนอนเปล ควรใช้เปลที่เป็นผ้าฝ้ายเพื่อที่สามารถหายใจผ่านได้สบาย ๆ และไกวเปลอย่างแผ่วเบา นุ่มนวลเพื่อให้แน่ใจได้ว่าจะไม่ทำให้ศีรษะของลูกน้อยต้องไปชนกับอะไร และควรดูแลอยู่ใกล้ ๆ เสมอในขณะที่ลูกนอนเปล ส่วนในตอนกลางคืนเพื่อความปลอดภัยหลังลูกหลับแล้วควรอุ้มมานอนบนเตียงทุกครั้ง
ถัดไป
img

บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 5 ความเชื่อเดิมๆ ที่ไม่ปลอดภัยกับทารก
แชร์ :
  • 4 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเบบี๋ตัวน้อย

    4 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเบบี๋ตัวน้อย

  • 6 ความเชื่อที่โบราณว่าไว้เกี่ยวกับทารกแรกเกิด

    6 ความเชื่อที่โบราณว่าไว้เกี่ยวกับทารกแรกเกิด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 4 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเบบี๋ตัวน้อย

    4 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับเบบี๋ตัวน้อย

  • 6 ความเชื่อที่โบราณว่าไว้เกี่ยวกับทารกแรกเกิด

    6 ความเชื่อที่โบราณว่าไว้เกี่ยวกับทารกแรกเกิด

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ