ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงสัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์ ความรู้สึกของทารกจะพัฒนามากขึ้น และตอนนี้ลูกน้อยของคุณ สามารถตอบสนองต่อเสียงที่ดังขึ้น ความแปรผันของแสง และความเจ็บปวดได้ ลูกในท้องตอนนี้มีความยาวประมาณ 45 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 2,300 กรัม แล้วลูกน้อยของคุณขณะที่ ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ จะต้องมีลักษณะ และพัฒนาการอย่างไรบ้าง ถึงจะเรียกว่าสมบูรณ์กันนะ

 

ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ เด็กมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง

เมื่อเวลาผ่านไป เข้าสู่ในสัปดาห์ที่ 35 ปริมาณน้ำคร่ำของคุณจะลดลง และตอนนี้ลูกน้อยของคุณก็เติมเต็มพื้นที่ว่างในครรภ์เกือบทั้งหมด ระบบย่อยอาหารของทารกจะเริ่มเติบโตเต็มที่ และลำไส้เล็กของเขาเต็มไปด้วยมีโคเนียม ซึ่งเป็นสารสีเขียวเข้ม ซึ่งนั่นเราถือว่าเป็นอุจจาระแรกของทารกแรกเกิดนั่นเองค่ะ

อวัยวะเพศจะมีการพัฒนาเต็มที่ หากลูกของคุณเป็นเพศชาย ลูกอัณฑะของเด็กจะอยู่ในตำแหน่งล่างสุด และจะเริ่มเห็นชัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ และหากคุณมีผู้หญิง หน้าอก และอวัยวะเพศของเด็กอาจจะบวม เนื่องจากปริมาณฮอร์โมน แต่จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ตอนนี้ผิวของลูกน้อยของคุณเป็นสีชมพู และจะมีเล็บงอกออกมา ในสัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์ ร่างกายของทารกแข็งแรงขึ้น และดูอิ่มเอิบกว่าเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการทารกในครรภ์ 35 สัปดาห์ ที่ชัดเจน

  • ลูกในท้องน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 15% ของร่างกายลูกน้อยจะเป็นไขมัน
  • ลูกจะดิ้น และเตะแรงขึ้น
  • ตับและไตของลูกน้อยพัฒนามากขึ้น จนพร้อมที่จะจัดการกับของเสียในร่างกายแล้ว
  • สมองของลูกน้องยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 9 วิตามินบำรุงหลังคลอด สุดยอดอาหารเสริมของคุณแม่มือใหม่ ปี 2023

 

อาการคนท้อง 35 สัปดาห์ แล้วเท่ากับกี่เดือน

  • มดลูกขยายตัวมากขึ้นไปจนถึงบริเวณซี่โครงของคุณแม่แล้ว
  • จุกเสียดแน่นอก เพราะระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง
  • เข้าห้องน้ำบ่อยมากกว่าเดิม
  • ปัสสาวะเล็ดเวลาไอ หรือจามแรง ๆ บางคนก็เป็นตอนที่หัวเราะ
  • รู้สึกปวดหัวเป็นครั้งคราว
  • เกิดปัญหาผื่นผิวหนัง
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • รู้สึกว่าตัวเองซุ่มซ่าม
  • เกิดอาการหดตัวของมดลูกเล็กน้อย ที่เรียกว่า เจ็บท้องหลอก
  • สำหรับครรภ์ 35 สัปดาห์ จัดอยู่ในไตรมาสที่ 3 อายุครรภ์เท่ากับ 8 เดือนนั่นเอง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กในครรภ์ 35 สัปดาห์ กำลังทำอะไรอยู่นะ ?

คุณแม่หลายคนเริ่มคิด และจินตนาการไปต่าง ๆ นานา ว่าลูกน้อยของคุณในครรภ์ กำลังทำอะไรอยู่นะ เขากำลังอึดอัด เมื่อย หรืออยากคุยกับคุณแม่คุณพ่อ หรืออยากเล่นสนุก นั่นเป็นสิ่งที่เราแทบอยากจะไปส่องให้เห็นกันเลยทีเดียวจริงมั้ยคะ

ในช่วงอายุครรภ์นี้ ระบบภูมิคุ้มกันของทารกเริ่มโตเต็มที่ และต่อมหมวกไตผลิตคอร์ติซอลมากขึ้น เพื่อรักษาการทำงานของปอดของทารกอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ลูกน้อยของคุณ เตรียมพร้อมในการสะสมไขมันให้กับตัวเอง ดังนั้น ช่วงเวลานี้ เขาอาจจะกำลังคิดถึงอาหารมื้อแรก อยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นหากอัลตราซาวนด์ คุณจะเห็นว่า ลูกของคุณจะเริ่มดูดนิ้วของเขาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่อยู่ในมดลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดูแลเพื่อลูกน้อยในครรภ์ ได้อย่างไร ?

ในระยะนี้ ตัวคุณแม่เอง จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีสารอาหารที่ไม่พึงประสงค์กับตัวเด็ก แม้กระทั่ง หัวหอม หรือถั่วชนิดต่าง ๆ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีค่าความเป็นกรดสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดก๊าซเป็นพิเศษ

นั่นเป็นเพราะระบบย่อยอาหารของทารก มีความอ่อนไหวมากกว่าระบบย่อยของคุณ มันจึงยากสำหรับเขาที่จะย่อยอะไรก็ได้ ดังนั้นน้ำนมในสัปดาห์แรกหลังคลอด จะเป็นผลจากสิ่งที่คุณทานไป ยิ่งคุณเริ่มดูแลอาหารการกินได้เร็วเท่าไร ผลลัพธ์ก็จะยิ่งดีขึ้นสำหรับคุณ และลูกน้อยของคุณมากเท่านั้น

 

 

การดูแลตัวเองตอน ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

  • คุณหมอจะทำการตรวจปากมดลูก และทวารหนัก เพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Group B streptococcus (GBS) เชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ปอดบวม การติดเชื้อในกระแสเลือด และทำให้เกิดความพิการ หรือเสียชีวิตในทารกแรกเกิด
  • ออกกำลังกายโดยเน้นบริเวณอุ้งเชิงกราน เพื่อให้คุณแม่เตรียมตัวคลอด
  • ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • พยายามทานอาหารสุขภาพเพื่อลูกน้อยมาก ๆ
  • อย่าเครียด ควรหากิจกรรมทำเวลาว่าง

 

เรื่องที่ควรทำตอน ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์

  • จัดการซักล้างเสื้อผ้า และของใช้ลูกที่เตรียมไว้
  • บันทึกตารางบันทึกความถี่อาการเจ็บท้องของคุณให้ดี ดูว่าเจ็บท้องถี่แค่ไหน เจ็บจริงหรือเจ็บหลอก
  • เตรียมวางแผนการคลอด ดูว่าจะใช้วิธีบล็อกหลังไหม ให้คุณพ่อเข้าห้องคลอดด้วยหรือเปล่า

 

ดังนั้นในช่วงสัปดาห์นี้ ครรภ์ของคุณจะมีขนาดที่ใหญ่มาก และสร้างภาระให้กับคุณแม่ แต่ในขณะที่ต้องแบกท้องอันหนักอึ้ง การเตรียมพร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ก็ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ตัวคุณแม่ก็ต้องคอยดูแลสภาพจิตใจของตนเองด้วย เพราะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในระยะนี้ จะส่งผลต่ออารมณ์ของตัวคุณแม่อย่างมาก และยังส่งความรู้สึกถึงเจ้าตัวน้อยในครรภ์อีกด้วย การพูดคุย และเตรียมพร้อมของทุกคนในครอบครัว จะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจ และไม่กดดัน ดังนั้นช่วงนี้ พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ และเตรียมพร้อมตัวเองไปพร้อม ๆ กับทุกคนในครอบครัวด้วยนะคะ

 

บทความโดย

Khunsiri