ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เดินทางมาถึงไตรมาสที่ 3 แล้ว เรียกได้ว่าเกินครึ่งทางแล้วนะคะสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เป็นอย่างไรกันบ้างคะ อีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะได้เจอหน้าของเจ้าตัวน้อยแล้ว แต่ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นก็ยิ่งทำให้คุณแม่เริ่มแสดงอาการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นไปด้วย วันนี้เราเลยได้รวบรวมพัฒนาการ อาการของคุณแม่ ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

 

ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน

สำหรับคุณแม่ที่กำลังสงสัยว่า ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน คำตอบก็คือ 8 เดือนค่ะ เพราะในบางครั้งคุณหมอก็อาจจะใช้คำที่แตกต่างกันออกไป ทำให้คุณแม่ไม่ทราบว่าตอนนี้ตนเองนั้นท้องได้กี่เดือนแล้ว โดยหนูน้อยวัย 33 สัปดาห์ จะมีขนาดเท่ากับผลของสับปะรด หรือมีความยาวประมาณ 43.6 เซนติเมตร และมีน้ำหนักโดยประมาณ 1.9 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารการกินของคุณแม่แต่ละท่านด้วยนะคะ

 

วิดีโอจาก : Mali คลับคุณแม่มือใหม่

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ 33 สัปดาห์

  • ลูกน้อยในท้องจะสามารถแยกกลางวันกลางคืนได้จากแสงที่ผ่านผนังโพรงมดลูก และสามารถกะพริบตาเวลาเจอแสงได้แล้ว โดยพวกเขาจะเริ่มลืมตาเวลาตื่นนอน และจะหลับตาเวลานอน
  • ร่างกายของลูกน้อยเริ่มพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง การหายใจได้ด้วยตัวเอง ปอดของพวกเขาจะอยู่ในช่วงเจริญเติบโตเต็มที่ โดยจะผลิตสารลดแรงตึงผิวออกมาจำนวนมาก เพื่อช่วยทำให้ทารกหายใจได้หลังคลอด
  • กระดูกของลูกน้อยเริ่มมีความแข็งแรงมากขึ้น และจะเริ่มเชื่อมต่อกันได้ดี แต่ในส่วนของกะโหลกของพวกเขานั้นจะยังคงไม่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ และสามารถเคลื่อนตัวและทับซ้อนกันได้ ทำให้เวลาคลอดนั้นศีรษะของทารกออกมาจากช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย
  • สมองของลูกน้อยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อวัยวะภายในเริ่มที่จะทำงานอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับระบบประสาท โดยในช่วงนี้ตับของทารกจะเริ่มกักเก็บธาตุเหล็กที่คุณแม่ได้รับประทานเข้าไปไม่ว่าจะเป็นจากอาหาร หรืออาหารเสริมก็ตาม เพื่อนำมาใช้หลังจากที่พวกเขาลืมตาดูโลกแล้วจน 4-6 เดือนหลังคลอด
  • ช่วงการตั้งครรภ์ในระยะนี้ถือว่าเป็นช่วงระยะปลอดภัยสำหรับทารกที่มีโอกาสรอดชีวิตสูง แต่สิ่งที่ต้องระวังคือการคลอดก่อนกำหนด
  • ผิวของลูกน้อยในครรภ์จะเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1-2 ผิวของพวกเขาจะเหี่ยวย่น แต่ในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ผิวของพวกเขาจะเริ่มเต่งตึงขึ้น มีความแดงและโปร่งใสน้อยลง รวมถึงจะมีความนุ่มและเรียบเนียนขึ้นเพื่อเตรียมตัวที่จะลืมตาดูโลกในไม่ช้า
  • คุณจะสามารถรู้สึกได้ว่าลูกน้อยของคุณมีการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น โดยพวกเขาจะเริ่มตีลังกา หรือเคลื่อนไหวตัวเองไปรอบ ๆ ท้องของคุณ เนื่องจากในช่วงสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่น้ำคร่ำภายในท้องจะมีปริมาณมากที่สุด ซึ่งอาจจะทำให้คุณสัมผัสถึงลูกน้อยได้มากขึ้น แต่ปริมาณจำนวนการเตะของพวกเขายังคงเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการคุณแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ มีอะไรบ้าง

เมื่อท้องเริ่มใหญ่ และลูกน้อยในครรภ์ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็ยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวมากยิ่งขึ้น มาดูไปพร้อมกันค่ะว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์นั้นจะพบกับอาการอย่างไรบ้าง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • นอนไม่หลับ

ด้วยความที่ฮอร์โมนของแม่ท้องนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขณะที่ตั้งครรภ์ อาจส่งผลทำให้คุณแม่รู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งในช่วงกลางดึก เป็นตะคริวที่ขา อึดอัดบริเวณหน้าท้อง หรือลูกน้อยในครรภ์ดิ้นไม่หยุด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ระยะนี้จะประสบปัญหาการนอนไม่หลับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เลยทีเดียว

 

  • หน้าท้องแตกลาย

ตอนนี้ลูกของคุณมีขนาดเท่ากับผลสับปะรด ทำให้หน้าท้องของคุณแม่นั้นเริ่มขยายตัวไปตามขนาดของลูกน้อยในครรภ์ด้วย จึงส่งผลทำให้หน้าท้องอาจมีการแตกลาย และเกิดลายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรอยดำหรือรอยแดง ซึ่งคุณแม่สามารถป้องกัน และลดรอยต่าง ๆ ได้ด้วยการหมั่นบำรุงผิวบริเวณหน้าท้องเป็นประจำ เพื่อบรรเทารอยที่เกิดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : แชร์ไอเทมลับ ป้องกันท้องแตกลายได้อยู่หมัดฉบับแม่ตั้งครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปวดหลัง

เหลือไม่กี่สัปดาห์แล้วที่ลูกน้อยของคุณจะลืมตาดูโลก ซึ่งนอกจากน้ำหนักของพวกเขาจะเพิ่มมากขึ้นแล้ว ลูกน้อยในครรภ์ของคุณก็กำลังเตรียมตัวที่จะลืมตาดูโลกเช่นกัน พวกเขาจะเริ่มเคลื่อนตัว หรือขยับทิศทางเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางที่พวกเขากำลังจะออกมา จึงส่งผลทำให้บริเวณอุ้งเชิงกรานอาจมีการปวดเป็นระยะ ๆ หรือเป็นตะคริวที่กระดูกอุ้งเชิงกรานด้านล่าง คล้ายกับการปวดประจำเดือน

 

  • ปวดข้อมือ

คุณแม่บางท่านอาจรู้สึกเจ็บและชาที่นิ้วมือ และอาจเป็นเช่นเดียวกันกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ ที่มีของเหลวเป็นส่วนประกอบ หรือบริเวณตามข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากความดันในร่างกายที่ส่งผลทำให้มีอาการปวดตามข้อนั่นเอง

 

  • หลงลืม

หากคุณแม่ที่อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 33 ของการตั้งครรภ์จะมีอาการหลงลืมนั้นถือเป็นเรื่องปกติ เพราะว่าคุณแม่ในช่วงนี้จะมีการพักผ่อนที่น้อยลงรวมถึงมีความคิดฟุ้งซ่าน มีความเครียด ความเหนื่อยล้า ที่จะส่งผลทำให้คุณแม่นั้นมีสมาธิที่สั้นลง และอาจก่อให้เกิดอาการหลงลืมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องแล้วขี้ลืม ทำไมแม่ท้องขี้ลืม คนท้องขี้ลืม แบบนี้ มีวิธีกระตุ้นความจำบ้างไหม

 

 

การดูแลตัวเองช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33

  • เนื่องจากคุณแม่จะนอนหลับมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้ ก่อนนอนคุณแม่ไม่ควรที่จะออกกำลังกาย หรือทานอาหารหนัก ๆ เพราะจะยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดร่างกายหรือไม่สบายตัว ซึ่งอาจทำให้นอนหลับยากมากยิ่งขึ้น
  • หากคุณแม่ต้องการที่จะออกกำลังกาย ควรเป็นการออกกำลังกายเป็นเบา ๆ หรือเดินออกกำลังกายแบบช้า ๆ ในสวนสาธารณะใกล้บ้าน แต่อย่างหักโหมในการออกกำลังกายมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้หน้ามืดและเป็นลมได้
  • พยายามเลือกกินอาหารที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก เพราะว่าในช่วงนี้ลูกน้อยของคุณจะเริ่มกักเก็บธาตุเหล็กจากคุณไปสะสมไว้ใช้หลังจากที่พวกเขาคลอดแล้ว ดังนั้นการทานอาหารที่เป็นประโยชน์จะช่วยทำให้ลูกน้อยของคุณแข็งแรงขึ้น และคุณเองก็จะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น อย่างน้อยวันละ 8-10 หรือให้เท่ากับจำนวนที่คุณเสียออกไป เนื่องด้วยลูกน้อยของคุณเริ่มที่จะเปลี่ยนทิศทาง เลื่อนตัวลงต่ำมายังอุ้งเชิงกรานล่างมากยิ่งขึ้น จะทำให้น้ำหนักกดทับกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่และทำให้คุณรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง ดังนั้นคุณแม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป และป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคำ สำหรับข้อมูลที่คุณแม่ได้รับ อีกไม่นานลูกน้อยของคุณกำลังจะลืมตาดูโลกแล้ว สิ่งที่คุณแม่ต้องทำนั้นควรเป็นสิ่งที่ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยมากที่สุด หมั่นเข้าพบคุณแม่ให้ตรงตามกำหนดเวลานัด และหมั่นดูแลสุขภาพตนเองตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะทำให้ลูกน้อยของคุณเกิดมาอย่างแข็งแรงสมบูรณ์นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri