ทารกสำลักนมจนเสียชีวิต เกิดขึ้นได้อย่างไร

วิธีป้องกันลูกสำลักนมทำอย่างไร ทำไมทารกสำลักนมถึงเสียชีวิตได้ การดูแลทารก ไม่ให้เกิดเหตุอันตราย จากการสำลักนม สำรอกนม หรือแหวะนม ต้องดูแลลูกอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกสำลักนมจนเสียชีวิต เกิดขึ้นได้อย่างไร มาดู วิธีป้องกัน ดูแลทารก ไม่ให้เกิดเหตุอันตราย

ทารกสำลักนมจนเสียชีวิต หรือการที่ทารกสำลักนมจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็พบได้เรื่อย ๆ กับทารกทุกคน ดังที่เราจะได้ยินตามข่าวในสื่อต่าง ๆ คุณแม่คุณพ่ออาจสงสัย และ ไม่ทันระวัง ว่าการสำลักนมของทารก นั้นทำให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้อย่างไร วันนี้ เรามาคุยกันเพื่อการป้องกัน และ ดูแลลูกน้อยวัยทารกไม่ให้สำลักนมกันดีกว่านะคะ

ทารกสำลักนม จนเสียชีวิต เกิดขึ้นได้อย่างไร

ทารกสำลักนม เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  • เด็กทารกปกติ ที่ดูดนมแม่ด้วยการเข้าเต้า จะมีโอกาสสำลักนมได้น้อย เพราะน้ำนมจะไหลเมื่อลูกดูดเท่านั้น ยกเว้น น้ำนมแม่ไหลพุ่งแรงมาก จนลูกดูดได้ไม่ทัน
  • แต่หากทารกมีความผิดปกติของอวัยวะ ที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืน เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ หรือ มีภาวะความผิดปกติของการกลืน เช่น pharyngeal incoordination ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการสำลักนมได้ง่ายกว่าทารกปกติ
  • หากทารกดูดนมด้วยการใช้ขวด ไม่ว่าจะเป็นนมแม่ หรือ นมผงก็อาจมีโอกาสเกิดการสำลักนมได้ง่ายกว่าการดูดนม ด้วยการเข้าเต้ามารดาโดยตรง
  • หากใช้จุกขวดนมที่ผิดขนาด มีรูที่ใหญ่เกินไป ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย ทำให้ปริมาณนมไหลออกมา มากกว่าปกติ ทารกจึงสำลักนมได้ โดยน้ำนมปริมาณมาก อาจจะผ่านเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ คือ ผ่านกล่องเสียงลงไปในสายเสียง ถ้าปริมาณน้ำนม มากเกินไปก็จะทำให้หายใจไม่ออก เพราะ ลมเข้าไปไม่ทัน จึงเกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือ น้ำนมปริมานมาก ผ่านเข้าไปกระตุ้นให้เกิดกล่องเสียงหดตัวเฉียบพลัน จึงเกิดอาการทางเดินหายใจอุดกั้นฉับพลัน อันนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้

ทารก สำลักนม จนเสียชีวิต

อาการสำลักนมของทารก เป็นอย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสังเกตอาการทารกเมื่อมีการสำลักเพื่อการรับมือได้อย่างทันท่วงที และป้องกันอันตราย คือ หากทารกสำลักนม จะมีอาการไอ และ เหมือนพยายามที่จะขย้อนนมออกมา หากสำลักนมปริมาณไม่มาก อาจจะไอเพียงเล็กน้อยแล้วก็จะหายเอง แต่หากมีอาการสำลักนมรุนแรง จะมีอาการไอมาก ติดต่อกันหลายครั้ง จนมีอาการหน้าเขียว มีเสียงหายใจที่ผิดปกติ จนเกิดอาการทางเดินหายใจอุดกั้นเฉียบพลัน และหยุดหายใจได้

 

หากพบว่าทารกสำลักนม ควรทำอย่างไร?

เมื่อพบว่าทารกมีอาการของการสำลักนม ควรรีบจับให้นอนตะแคง โดยให้ลูกศีรษะต่ำลง เพื่อให้น้ำนมไหลออกมา โดย ไม่ควรอุ้มทารกขึ้นมาทันทีที่เกิดการสำลักนม เพราะ อาจยิ่งทำให้น้ำนมไหลลงไปเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจมากขึ้นได้ค่ะ หากไม่รีบช่วย อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ป้องกัน ทารก สำลักนมจนเสียชีวิต อย่างไร

วิธีป้องกัน ทารกสำลักนม จนเสียชีวิต

เราจะป้องกันและลดโอกาสที่ ทารกจะสำลักนม จนเสียชีวิต ได้อย่างไร?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ควรให้ทารก โดยเฉพาะ ในช่วงวัยแรกเกิด ซึ่งยังดูดกลืนน้ำนมได้ไม่เก่ง ดูดนมแม่ด้วยวิธีเข้าเต้าเป็นหลัก ใช้ขวดให้น้อยที่สุด ก็จะช่วยลดโอกาสในการสำลักนมได้
  2. หากคุณแม่มีน้ำนมปริมาณมาก และ พุ่งแรงก็สามารถลดการสำลักของลูกได้ โดยบีบ หรือ ปั๊มนมออกก่อนลูกดูดเล็กน้อย เพื่อลดแรงดันในเต้านม หรือ ในขณะที่ให้ลูกดูดนมอาจใช้นิ้วชี้ และ นิ้วหัวแม่มือบีบบริเวณลานหัวนมไว้ ให้น้ำนมไหลช้าลง จนลูกดูดได้ ไม่สำลักจึงคลายนิ้วออก
  3. จับให้ทารกเรอทุกครั้งหลังดูดนมเสร็จ ด้วยท่าอุ้มนั่งตัก หรือ อุ้มพาดบ่า แล้วลูบหลัง ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ ควรศึกษาวิธีการอุ้มลูกให้เรออย่างถูกต้อง และ ทำทุกครั้งหลังกินนมนะคะ
  4. ไม่ควรป้อนนม ในเวลาที่ทารกร้องไห้ โยเยทุกครั้ง เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการสำลักนมได้ หากให้ทารกดูดนม ในขณะที่ร้องอยู่ อีกทั้งหากป้อนนมเมื่อทารกร้องกวนหลังจากที่เพิ่งทานนมไปในปริมาณมากแล้ว อาจทำให้ปริมาณนมในกระเพาะอาหาร ล้นเกินความต้องการ จึงส่งผลให้ ทารกสำลักนมออกมาได้ง่ายขึ้นได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ตายแล้วหนึ่ง เด็กทารกเสียชีวิต จากโควิด เคสแรกของสหรัฐ อายุน้อยสุดในโลก

ลูกแหวะนม สำรอกนม ทารกแหวะนม สำรอกนม เกิดจากอะไร อันตรายไหม และควรดูแล อย่างไร?

ทำความรู้จัก 5 โรคพบบ่อยในเด็กวัยเรียน พร้อมประเมินค่าใช้จ่าย ในการรักษา และเทคนิครับมือ ฉบับคุณแม่มืออาชีพ