X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

20 วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องระยะแรกเป็นอย่างไร

บทความ 8 นาที
20 วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องระยะแรกเป็นอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลต่อร่างกาย ทำให้สงสัยว่าท้องไหม เราจึงรวม 20 วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องเริ่มแรกเป็นยังไง มาเช็กกัน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง มักส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย รวมไปถึงส่งผลต่ออารมณ์ด้วย ทำให้บางทีผู้หญิงแบบเราก็สงสัย ว่าตกลงอันนี้แค่ฮอร์โมนแปรปรวน หรือว่าเรากำลังจะมีเบบี๋นะ เราจึงได้รวบรวม วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ แบบไหนถึงเรียกว่าท้อง อาการคนท้องเริ่มแรกเป็นยังไง มาเช็กไปพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องระยะแรก

▲▼สารบัญ

  • วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่
  • 1. ประจำเดือนขาด
  • 2. คลื่นไส้ อาเจียน
  • 3. อ่อนเพลีย
  • 4. พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
  • 5. จมูกไวต่อกลิ่น
  • 6. คัดเต้านม
  • 7. ผิวรอบหัวนมคล้ำขึ้น
  • 8. ปัสสาวะบ่อย
  • 9. อารมณ์แปรปรวน
  • 10. ปวดหลัง
  • 11. ปวดศีรษะ
  • 12. อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
  • 13. ท้องผูก
  • 14. ท้องอืด แน่นท้อง
  • 15. มีตกขาวมากกว่าปกติ
  • 16. มีเลือดออกจากช่องคลอด
  • 17. เป็นตะคริวที่ท้องน้อย
  • 18. หายใจถี่ขึ้น
  • 19. แสบร้อนกลางอก
  • 20. สิวขึ้นหลัง

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่

Advertisement

อาการของคนท้องแต่ละคน มักจะแตกต่างกันออกไป ทั้งสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ รวมไปถึงอาการแพ้ท้อง การแพ้ท้องมาก หรือแพ้ท้องน้อย ก็ไม่เหมือนกันอีก ซึ่งบางคนอาจจะแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเลยก็ได้ โดยอาการเหล่านี้ จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการปฏิสนธิ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลาย ที่พอสังเกตอาการได้คร่าว ๆ ดังนี้

1. ประจำเดือนขาด

ประจำเดือนขาด ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ของการตั้งครรภ์ เมื่อการปฏิสนธิสำเร็จ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) ที่ช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโต ทำให้ร่างกายหยุดการตกไข่ แล้วก็ไม่มีประจำเดือน แต่อย่างไรก็ตาม อาการขาดประจำเดือน อาจเกิดได้จากปัจจัยอื่น ๆ ได้อีก เช่น ความเครียด ฮอร์โมน พฤติกรรมการทานอาหาร ดังนั้นหากประจำเดือนขาดไป หรือมาช้ากว่าปกติมาก ๆ จนสงสัยว่าตั้งครรภ์ไหม ควรรีบไปตรวจ เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์

2. คลื่นไส้ อาเจียน

อาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการแพ้ท้อง ที่พบได้บ่อยที่สุด หลักจากเริ่มมีการตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า แต่ก็สามารถเป็นได้ตลอดทั้งวัน โดยปกติ คนท้องมักแพ้ท้องในช่วง 1-2 เดือนแรก แต่บางคนก็อาจจะไม่แพ้ท้องเลย หรือบางคนก็สามารถไปแพ้ท้องเอาในช่วง 3-4 เดือนแทนก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของว่าที่คุณแม่แต่ละคนค่ะ

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องระยะแรก

3. อ่อนเพลีย

คนท้องมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้ากว่าปกติ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกาย ที่ช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโต แต่ก็ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำงานหนักขึ้นด้วย

4. พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป

หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องของแม่ท้อง ที่พอแพ้ท้องแล้วอยากกินอะไรแปลก ๆ โดยไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้ อะไรที่เคยชอบ ก็เหม็น ไม่อยากทาน ส่วนอะไรที่ไม่เคยทาน หรือไม่ชอบทานมาก่อน ก็ดันอยากทานขึ้นมาเฉย ๆ บางคนอาจจะอยากทานอาหารรสเปรี้ยว หรือผลไม้รสเปรี้ยว หรือบางคนจะอยากอาหารที่ให้พลังงานสูงโดยอัตโนมัติ เช่น นม

5. จมูกไวต่อกลิ่น

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาจะทำให้คนที่กำลังตั้งครรภ์ มีอาการไวต่อกลิ่นมากกว่าปกติ ทั้ง ๆ ที่ก่อนการตั้งครรภ์ ไม่เคยจมูกไวต่อกลิ่นเท่านี้มาก่อน อาจจะรู้สึกเหม็นกลิ่นบางอย่าง ที่ไม่เคยเหม็นมาก่อน เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นน้ำหอม จนทำให้มีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ได้

6. คัดเต้านม

อาการคัดเต้านม เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (Progesterone) เพิ่มสูงขึ้น โดยอาการจะคล้าย ๆ กับช่วงก่อนมีประจำเดือน จะรู้สึกตึง ๆ เต้านม เสียวแปลบ เต้านมใหญ่ขึ้น และไวต่อการสัมผัส โดยทั่วไปแล้ว อาการคัดเต้านม จะเกิดขึ้นในช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงไปภายใน 3 เดือน

7. ผิวรอบหัวนมคล้ำขึ้น

บางคนอาจจะรู้สึกว่า ผิวรอบหัวนม หรือปานนม มีสีที่คล้ำขึ้น นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังมีน้องค่ะ เพราะเกิดจาก ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (Progesterone) เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับอาการคัดเต้านม แต่ทั้งนี้ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กในครรภ์แต่อย่างใด เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายเท่านั้น

8. ปัสสาวะบ่อย

คนท้องในช่วงแรก ๆ จะปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกขยายตัว และไปกดกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงร่างกายจะผลิตของเหลวมากขึ้น เพื่อไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น ในการกรองของเสียออกทางปัสสาวะ ก็เลยทำให้เหล่าแม่ ๆ ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้ค่ะ

9. อารมณ์แปรปรวน

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์เช่นเดียวกัน ทำให้คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดง่าย เอาใจยาก อ่อนไหวง่าย บางคนอาจะมีอาการหนัก ถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ได้ หากใครมีอาการที่รุนแรง หรือรู้สึกไม่สบาย อาจปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องระยะแรก

10. ปวดหลัง

อาการปวดหลัง ถือเป็นอาการยอดฮิตของแม่ท้อง เนื่องจากมีการขยายตัวของกล้ามเนื้อ ต้องแบกน้ำหนักของทารกในครรภ์ ที่โตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาการปวดหลังของแม่ท้องนั้น สามารถบรรเทาลงได้ ด้วยการไม่ใส่รองเท้าส้นสูง ไม่ยกของหนัก ปรับท่านอน หรืออาจใช้หมอนคนท้องช่วยในการนอน หากมีอาการปวดหลังหนักมาก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม ไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด

11. ปวดศีรษะ

คุณแม่ตั้งครรภ์ มักมีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ เนื่องจากการกดทับของหลอดเลือดใหญ่ ที่นำเลือดจากร่างกายไปสู่หัวใจได้ไม่ดี รวมไปถึง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยอาการเหล่านี้ สามารถพบได้บ่อย ในช่วง 1-3 เดือนของการตั้งครรภ์ หากปวดหัวมากอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีรักษาต่อไป

12. อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

บางคนอาจจะรู้สึกตัวร้อนรุม ๆ มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ โดยทั่วไปแล้ว ไม่ใช่อาการที่อันตราย เพราะเกิดจากการที่ร่างกายสร้าง ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพิ่มมากขึ้น แต่หากมีอาการไข้สูงมาก อาจต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการเพิ่มเติม

13. ท้องผูก

เมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สูงขึ้น จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ส่งผลให้มีอาการท้องผูก สามารถบรรเทาลงได้ ด้วยการดื่มน้ำเยอะ ๆ ทานอาหาร หรือผลไม้ที่มีกากใยสูง ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น โยคะ เดิน

14. ท้องอืด แน่นท้อง

อาการท้องอืด แน่นท้อง อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยมีสาเหตุมาจาก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สูงขึ้น เหมือนกับอาการท้องผูก ทั้งนี้ ไม่ควรซื้อยาระบายมาทานเอง ควรทานยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

15. มีตกขาวมากกว่าปกติ

การมีตกขาวมากกว่าปกติของคนท้อง เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย ออกมาทางช่องคลอดมากกว่าปกติ และหลุดออกมาเป็นตกขาว แต่โดยทั่วไปแล้ว ตกขาวจะมีลักษณะเป็นมูกใส หรือสีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น และไม่มีอาการคัน หากตกขาวมีกลิ่น หรือมีอาการคัน ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการเพิ่มเติม

16. มีเลือดออกจากช่องคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์ อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอย คล้ายกับเวลาประจำเดือนใกล้หมด มักพบได้ในช่วง 1-3 เดือนของการตั้งครรภ์ เกิดจากตัวอ่อนไปฝังตัวอยู่บนผนังมดลูก แต่ถ้าหากคุณแม่ท่านไหนเลือดไหลไม่หยุด และมีอาการปวดเกร็งร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจเกิดการแท้งลูกได้

17. เป็นตะคริวที่ท้องน้อย

การปวดหน่วง หรือเป็นตะคริวที่ท้องน้อย อาจเกิดขึ้นได้ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลมาจาก ร่างกายเร่งผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อนำมาหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ โดยปกติแล้วจะมีอาการเพียงไม่กี่วัน และไม่ได้รุนแรงมาก หากคุณแม่ท่านไหน มีอาการปวดหน่วงรุนแรง หรือเป็นตะคริวติดต่อกันนาน ๆ ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม

วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องระยะแรก

18. หายใจถี่ขึ้น

คุณแม่ตั้งครรภ์ อาจมีอาการหายใจถี่มากกว่าเดิม เนื่องจาก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ไปขยายขนาดปอด สำหรับหายใจเอาออกซิเจนเข้าปอดได้มากขึ้น เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ นอกจากนั้นยังเป็นการเร่งกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปด้วย และเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะกดเบียดกระบังลมของคุณแม่ ทำให้คุณแม่หายใจลำบากขึ้นได้

19. แสบร้อนกลางอก

อาการแสบร้อนกลางอก เป็นหนึ่งในอาการของคนท้อง เกิดจากการหลั่งของ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบย่อยอาหาร ทำให้น้ำย่อย ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนขึ้นมา หรือที่เราเรียกกันว่า อาการกรดไหลย้อน ส่งผลให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว ระคายเคืองลำคอได้

20. สิวขึ้นหลัง

หากอยู่ ๆ ไม่เคยเป็นสิวมาก่อน แล้วมีสิวขึ้นที่บริเวณหลัง หรือบริเวณต่อมไขมันต่าง ๆ ในร่างกาย อาจบอกได้ว่าคุณกำลังจะมีเบบี๋ เพราะอาจเกิดจาก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพิ่มสูงขึ้น จนไปกระตุ้นต่อมน้ำมันใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดการอุดตัน จนเกิดเป็นสิวที่บริเวณต่าง ๆ

อาการที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นเพียงอาการเบื้องต้นของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจคล้ายกับอาการก่อนมีประจำเดือน หรืออาการป่วยอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากไม่แน่ใจว่าท้องหรือไม่ ควรตรวจการตั้งครรภ์ เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ และชัดเจนที่สุด และถ้าหากพบว่ากำลังตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ควรไปฝากครรภ์กับแพทย์ เพื่อดูแลสุขภาพของทั้งแม่และเด็ก ให้สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ค่ะ

ที่มา: Sikarin Hospital , Vichaivej Hospital

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน จะท้องไหม เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง

ตรวจครรภ์ขึ้น 2 ขีด ท้องหรือไม่? ควรทำอย่างไรเมื่อตรวจเจอ 2 ขีด?

คนท้องแพ้ท้อง อ้วกเป็นเลือด อ้วกเป็นฟอง อ้วกแบบไหนอันตรายต้องพบแพทย์ ?!?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

PP.

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 20 วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ อาการคนท้องระยะแรกเป็นอย่างไร
แชร์ :
  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว