X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

17 เรื่องจริงของแม่หลังคลอด ที่ต้องเตรียมรับมือ

16 Mar, 2016

หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือใกล้คลอด บทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณมาก เพราะจะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมรับมือกับอาการหลังคลอด 1 สัปดาห์ได้อย่างสบายๆ

9. ผมจะร่วงแบบไม่บันยะบันยัง

9. ผมจะร่วงแบบไม่บันยะบันยัง

หลังคลอดไม่นาน คุณจะสังเกตว่ามีผมร่วงมากขึ้นในขณะที่คุณสระผมหรือหวีผม แต่ซักพักผมที่ร่วงมากผิดปกตินี้จะกลับคืนเข้าสู่สภาพปกติ และผมของคุณจะกลับมาหนาเหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์ภายในเวลาประมาณ 6-12 เดือนหลังคลอด แต่ก็มีผู้หญิงบางส่วนที่โชคดีไม่มีอาการผมร่วงหนักขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอด
17. คุณอาจมีภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก

17. คุณอาจมีภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก

ภาวะกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหรือที่รู้จักกันในนาม Diastasis Recti เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในหมู่หญิงตั้งครรภ์ แต่โชคร้ายที่อาการนี้อาจยังอยู่กับคุณในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด
16. หัวนมของคุณจะเจ็บชนิดต้องกัดฟัน!

16. หัวนมของคุณจะเจ็บชนิดต้องกัดฟัน!

หัวนมของคุณจะบาง แตก และเจ็บในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการให้นม ท่าให้นมที่ไม่ถูกต้องหรือทารกที่ดูดแรงอาจทำให้เกิดอาการหัวนมแตกหลังคลอดที่เจ็บปวดมาก ให้คุณพยายามให้ลูกดูดนมจากทั้งสองเต้าทุกครั้ง แม้ว่าจะไม่นานมากก็ตาม ถ้าหัวนมข้างหนึ่งเจ็บกว่าอีกข้างหนึ่ง ให้คุณให้นมลูกโดยเริ่มจากข้างที่เจ็บน้อยกว่าก่อน หากทารกของคุณหิวมาก เขาจะดูดแรงในช่วงแรกของการให้นม ในกรณีนี้ การหลีกเลี่ยงไม่ให้นมไม่ใช่ทางออกที่ดี ซ้ำจะทำให้สถานการณ์แย่ลงอีกด้วย เต้านมของคุณจะปวดทรมานมากอย่างไม่น่าเชื่อ ให้คุณไปหาครีมทาหัวนมเพื่อบรรเทาอาการแตก และใช้น้ำแข็งประคบร่วมด้วย
15. แผลผ่าคลอดอาจใช้เวลานานกว่าจะหาย

15. แผลผ่าคลอดอาจใช้เวลานานกว่าจะหาย

แผลผ่าคลอดของแต่ละคนใช้เวลาเยียวยาไม่เท่ากัน และบางคนอาจใช้เวลานานถึงปีครึ่งกว่าแผลจะดูเรียบเนียน หากคุณกังวลในเรื่องนี้ ก็สามารถหาครีมลดรอยแผลเป็นมาทาได้
14. คุณจะปวดหลังและสะโพกอย่างที่สุด

14. คุณจะปวดหลังและสะโพกอย่างที่สุด

เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะปวดหลังในช่วงหลังคลอดบ้าง ก็คุณเพิ่งจะเบ่งลูกออกมาทั้งคนนี่นา! แต่ถึงกระนั้น ถ้าอาการปวดของคุณไม่หายเสียทีและสร้างความลำบากให้กับคุณมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
13. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็น ‘เรื่องธรรมชาติ’ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน

13. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็น ‘เรื่องธรรมชาติ’ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน

สำหรับคุณแม่บางท่าน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ยากที่สุดในชีวิต และไม่ได้ทำให้รู้สึก “เป็นธรรมชาติ” จนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 3 เดือน คุณแม่มือใหม่บางท่านทำได้ทันทีและนั่นเป็นสิ่งที่ยอดมาก แต่อย่ารู้สึกว่าตนเองล้มเหลวหากคุณไม่ใช่หนึ่งในนั้น แนะนำให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญตามคลินิกนมแม่ที่พบได้ทั่วไปตามโรงพยาบาล
12. คุณอาจยังไม่ชอบลูกของคุณในทันที

12. คุณอาจยังไม่ชอบลูกของคุณในทันที

คุณแม่บางท่านอาจพบว่าตนเองไม่รู้สึกผูกพันกับทารกอย่างที่คาดไว้ ซึ่งอาจทำให้อึดอัดใจและรู้สึกไม่ดีกับลูกในช่วงแรก ขอให้จำไว้ว่า ความผูกพันที่จะคงอยู่ชั่วชีวิตนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่มักจะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป อย่าตกใจหากคุณรู้สึกแบบนี้ ไม่นานนัก พอคุณเริ่มเข้าที่เข้าทางกับการเป็นแม่มากขึ้นแล้ว ความรู้สึกเหล่านี้ก็จะหายไปและถูกแทนที่ด้วยความรักบริสุทธิ์เปี่ยมล้นเต็มหัวใจที่คุณมีให้แก่ลูก
11. ขาของคุณจะบวม

11. ขาของคุณจะบวม

ให้คุณนั่งยืดขาออกจากลำตัว อาการขาบวมอาจทำให้ผิวมีรอยแตก อักเสบ บวมเป่ง หรือดูเรียบมัน ในบางกรณี หากคุณลองกดผิวดู อาจพบว่าผิวจะบุ๋มค้างอยู่ 2-3 วินาทีก่อนที่จะเด้งกลับมาเหมือนเดิม นอกจากอาการบวมจะเกิดขึ้นบริเวณมือและเท้าซึ่งมักพบได้ทั่วไปแล้ว ยังอาจเกิดขึ้นในบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ขา ตาตุ่ม และหน้าท้องได้
10. แผลเย็บจะเจ็บที่สุดระหว่างวันที่ 2-4

10. แผลเย็บจะเจ็บที่สุดระหว่างวันที่ 2-4

เมื่อหมดฤทธิ์ยา คุณจะเริ่มรู้สึกเจ็บแผลมากขึ้น และอาจใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นกว่าแผลจะเยียวยาและหายเจ็บ
แม่หลังคลอด

แม่หลังคลอด

เราทุกคนทราบกันดีว่า การตั้งครรภ์และคลอดบุตรอาจเป็นประสบการณ์ที่น่าขยาดหรืออาจเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ก็ได้ ที่น่าสนใจก็คือ คุณแม่หลายๆ ท่านมักเล่าประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ 9 เดือนให้เราฟัง แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหลังคลอดใหม่ๆ ฉะนั้น นี่คือเรื่องสำคัญที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเจ้าตัวเล็กได้โผล่ออกมาดูโลก
8. คุณอาจไม่ได้หลับไม่ได้นอนมากกว่าที่คุณคาดคิดไว้

8. คุณอาจไม่ได้หลับไม่ได้นอนมากกว่าที่คุณคาดคิดไว้

ถ้าโชคดี ทารกแรกเกิดของคุณอาจจะนอน 2.5-3 ชั่วโมงติดๆ กัน แต่ทารกบางคนอาจนอนหลับแค่ 45 นาทีแล้วตื่นมาร้องกินนมอีก ฉะนั้น คุณอาจได้นอนแค่ครั้งละ 30 นาที และต้องหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน
7. แผลผ่าคลอดของคุณอาจยังดูน่ากลัวอยู่

7. แผลผ่าคลอดของคุณอาจยังดูน่ากลัวอยู่

คุณแม่ทั้งหลายไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องนี้ ในกรณีที่คุณผ่าคลอด แผลที่เพิ่งเย็บหลังคลอดอาจยังดูไม่สวย บางครั้งอาจมีรอยช้ำดำม่วงอยู่รอบๆ แผลด้วย คุณอาจกังวลว่ามันจะไม่หาย แต่ขอให้มั่นใจได้ว่าแผลจะดูดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และในที่สุดจะกลายเป็นเหมือนแค่เส้นขีดบางๆ เท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคลด้วย
6. อาการซึมเศร้าหลังคลอดมีจริง เบบี้บลูส์ก็เช่นกัน

6. อาการซึมเศร้าหลังคลอดมีจริง เบบี้บลูส์ก็เช่นกัน

อาการซึมเศร้าหลังคลอด (PND) มักจะใช้สับสนกับเบบี้บลูส์ โดยอย่างหลังคือการที่คุณอารมณ์เสีย เจ้าน้ำตา เหนื่อย หรือเครียดในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ความรู้สึกเหล่านี้มักจะหายไปภายในไม่กี่วัน แต่อาการซึมเศร้าหลังคลอดเป็นความเจ็บป่วยที่มักจะไม่หายไปอย่างรวดเร็วหากไม่ได้รับความช่วยเหลือ ยิ่งคุณรู้ตัวว่ามีอาการซึมเศร้าหลังคลอดและได้รับการช่วยเหลือเร็วขึ้นเท่าไหร่ อาการก็จะรุนแรงน้อยลงและรักษาได้เร็วขึ้นเท่านั้น
5. มดลูกจะยังบีบตัวต่อ

5. มดลูกจะยังบีบตัวต่อ

อาการปวดท้องหลังคลอดเนื่องจากมดลูกบีบตัวมักจะไม่รุนแรงมากหลังคลอดบุตรคนแรก (หรืออาจไม่รู้สึกเลย) และจะไม่ปวดนาน แต่หลังจากคลอดบุตรคนที่สอง มดลูกอาจบีบตัวจนรู้สึกเจ็บได้ และยิ่งเป็นการคลอดบุตรคนหลังๆ ก็จะยิ่งเจ็บมากขึ้น ซึ่งเป็นเพราะว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แรกจะมีกล้ามเนื้อมดลูกที่ยังประสานกันดีอยู่ ดังนั้น มดลูกจึงมีแนวโน้มจะบีบตัวและคงสภาพนั้นไปเรื่อยๆ มากกว่าที่จะคลายตัวเป็นพักๆ แล้วบีบตัวใหม่อีกครั้ง
4. ถ่ายครั้งแรกเจ็บเวอร์

4. ถ่ายครั้งแรกเจ็บเวอร์

ถ้าจำเป็น คุณสามารถทานยาที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวและยาระบายอ่อนๆ ที่จะช่วยกันทำให้การขับถ่ายครั้งแรกหลังคลอดของคุณสบายขึ้น แพทย์จะให้คำแนะนำแก่คุณในเรื่องนี้ได้
3. น้ำคร่ำจะยังไหลออกมาเรื่อยๆ จนถึง 6 สัปดาห์

3. น้ำคร่ำจะยังไหลออกมาเรื่อยๆ จนถึง 6 สัปดาห์

….และจะไหลมากขึ้นหลังได้รับการนวดหลังคลอด (ซึ่งสามารถเริ่มได้ในวันที่ 5)
2. มีโอกาสสูงที่ท่อน้ำนมจะอุดตันในช่วงประมาณวันที่ 3-5

2. มีโอกาสสูงที่ท่อน้ำนมจะอุดตันในช่วงประมาณวันที่ 3-5

ท่อน้ำนมอุดตันมักจะหมายถึงการที่น้ำนมไหลออกไม่สะดวกในส่วนใดส่วนหนึ่งของเต้านม น้ำนมจึงไหลย้อนกลับ ทำให้เกิดเป็นก้อนและรู้สึกไม่สบายตัว ถ้าคุณไม่ทำให้น้ำนมไหลออกมา อาจทำให้เกิดการอักเสบได้ การอักเสบจะเกิดขึ้นเมื่อน้ำนมไหลย้อนกลับและถูกเบียดให้ไหลออกจากท่อไปยังเนื้อเยื่อโดยรอบ น้ำนมบางส่วนอาจเข้าสู่กระแสเลือดและกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของคุณตอบสนอง ผลก็คือ คุณจะตัวร้อนเหมือนเป็นไข้

สิ่งที่คุณต้องทำคือ เช็ดก้อนน้ำนมสีขาวออกเบาๆ ด้วยผ้าสักหลาดชุบน้ำอุ่นหมาดๆ หรือใช้เข็มที่ฆ่าเชื้อแล้วสะกิดออกหลังอาบน้ำ ทารกน้อยของคุณอาจเป็นผู้ช่วยให้ก้อนน้ำนมหลุดออกมาในขณะที่กำลังดูดนมก็ได้ ตราบใดที่คุณหมั่นตรวจตราและจัดการกับก้อนน้ำนมเหล่านั้น ก็จะไม่มีปัญหาอะไรมากไปกว่าความรำคาญเล็กๆ น้อยๆ และถ้าเป็นไปได้ ให้คุณแม่ให้นมลูกด้วยเต้านมข้างที่มีปัญหาไปเรื่อยๆ แม้จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว สิ่งนี้จะช่วยให้อาการของคุณดีขึ้นได้รวดเร็วขึ้นเพราะทารกจะดูดนมออกไปหมด และจงให้นมบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเริ่มจากข้างที่มีปัญหาก่อน และต้องไม่ปล่อยให้ระยะห่างระหว่างการให้นมยาวนานเกินไป ซึ่งหมายความว่าคุณอาจจะต้องปลุกลูกขึ้นมาให้นมบ้าง ที่สำคัญ คุณต้องแน่ใจว่าทารกของคุณเข้าเต้าอย่างถูกต้อง ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมจะสามารถช่วยคุณได้ในเรื่องนี้ ลองขอคำแนะนำจากคลิกนิกนมแม่ตามโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณดูซิคะ

1. คุณจะยังดูเหมือนคนท้อง 6 เดือน

1. คุณจะยังดูเหมือนคนท้อง 6 เดือน

คุณอาจช็อคถ้าไม่มีใครเตือนคุณล่วงหน้าในเรื่องนี้! หลังคลอด มดลูกของคุณจะยังไม่หดตัวทันที แน่นอนว่ามันจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ แต่ในวันแรกนั้น คุณจะยังดูเหมือนคนท้อง 6 เดือนอยู่
ถัดไป
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img

บทความโดย

หทัยกาญจน์ วอร์ด

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 17 เรื่องจริงของแม่หลังคลอด ที่ต้องเตรียมรับมือ
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว