12 ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส ข้อดีของทะเบียนสมรสที่เมียถูกกฎหมาย กฎหมายการจดทะเบียนสมรส ต้องรู้ ตอบคำถาม จดทะเบียนสมรสดีไหม ด้วยข้อดีของการเป็นเมียถูกกฎหมาย
ข้อดี ของ การ จดทะเบียน สมรส
12 ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส เป็นเมียตามกฏหมายต้องฉลาดรู้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
- การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือไม่ใช้ก็ได้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ในกรณีที่อยากถือสัญชาติไทย)
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส) นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนหากมีทรัพย์สินใดงอกขึ้นมา จะกลายเป็นสินสมรสทั้งหมด
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
- การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณี ที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายจากชู้ได้ด้วย
- การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)
- การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือสามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้
ข้อดี ของ การ จดทะเบียน สมรส
อย่างไรก็ดี การเป็นเมียตามกฏหมาย เป็นเรื่องที่ฝ่ายหญิงพึงเป็นแล้ว แต่ก่อนการตัดสินใจจดทะเบียนสมรส ก็ควรเป็นเรื่องที่ต้องใช้การพิจารณาตัดสินใจอย่างรอบคอบด้วยเช่นกันนะคะ เพราะในอนาคตที่เรามองไม่เห็น แม้แต่เส้นบาง ๆ ก็อาจจะทำให้มีเรื่องที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้
ข้อเสียทะเบียนสมรส
– ภรรยาที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนในหลาย ๆ บริษัท การทำธุรกรรมต่าง ๆ จะยุ่งยากมากขึ้น
– ภรรยาต้องเปลี่ยนข้อมูลทางนิติกรรม ทั้งเปลี่ยน Passport เปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวต่างๆ
– ต้องแยกสินส่วนตัวกับสินสมรส โดยจะต้องตกลงกันเป็นสัญญาก่อนการสมรสไว้ในทะเบียนสมรส
– ดอกผลจากสินส่วนตัว ต้องกลายเป็นสินสมรส เช่น การได้รับเงินเดือนโบนัสก็ถือเป็นสินสมรสได้เหมือนกัน
– การทำนิติกรรมตาม **มาตรา 1476 **ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะทำได้
– ถ้าสามีหรือภรรยาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรสให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน
– ถ้าสามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย
– ไม่มีสินสมรส เงินใครเงินมัน
หมายเหตุ ***ความหมายของมาตรา1476 สามีภริยาที่จดทะเบียนร่วมกันต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนี้
- ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า จำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ ยกเว้นการจำนำที่ทำฝ่ายเดียวได้
- ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
- ให้กู้ยืมเงิน
- ให้โดยเสน่หาเว้นแต่การให้พอสมควรแก่ฐานะ
- นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน
- ประนีประนอมยอมความ
การจัดการทรัพย์สินสมรสนอกจากที่ระบุ สามีภริยาจัดการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสหรือไม่ ในแง่การจัดการทรัพย์สิน
มีเรื่องที่เจอประจำคือ ไม่อยากจดทะเบียนสมรส หรือมีปัญหาจากการไม่จดทะเบียนสมรส เราจำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ในแง่ของการจัดการทรัพย์สิน
ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของการจดทะเบียนสมรสจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน ฝ่ายที่มีเงิน ทรัพย์สิน หรือความมั่นคงทางการเงินมากกว่าจะได้เปรียบหากไม่มีการจดทะเบียนสมรส แต่ฝ่ายที่ไม่มีรายได้ ไม่ได้ทำงาน เป็นแม่บ้าน ไม่มีทรัพย์สินจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
เพราะตามกฎหมายลักษณะครอบครัวกำหนดสิทธิและหน้าที่ ระหว่างสามารภรรยา ต้องอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะและความสามารถของตน ดังนั้นหากสามีภรรยาจดทะเบียนจดทะเบียนสมรสกัน ฝ่ายทมี่มีเงินต้องอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายที่ไม่มีความมั่นคง หากไม่จดทะเบียนสมรส ก็ไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
และทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส จะเป็นสินสมรส แต่ทั้งนี้ต้องเป็นกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสกันไว้ ซึ่งหากสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน อีกฝ่ายไม่สามารถแบ่งได้
ดังนั้นการจดทะเบีนสมรส ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ของลูกความ จึงควรปรึกษาทนายความคดีครอบครัวก่อน เพื่อให้การจดทะเบียนสมรส สมประโยชน์กับทุกฝ่าย
ทั้งนี้สามารถศึกษา ข้อดีข้อเสีย ความจำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ในแง่การจัดการทรัพย์สิน
การจดทะเบียนสมรส
คือการเซ็นเอกสารเพื่อยืนยันสถานะสมรสกันตามกฎหมาย จริงอยู่ที่การแต่งงาน คือการประกาศให้ผู้คนรับรู้ และมาเป็นสักขีพยานความรักของคนสองคน แต่การแต่งงานไม่ได้หมายความว่าเมื่อเกิดอะไรขึ้นแล้ว คู่ชีวิตเราจะมีสิทธิต่างๆตามกฎหมาย เพราะสิทธิต่างๆที่จะทำได้ในฐานะคู่สามี-ภรรยาตามกฎหมาย จะต้องเป็นคู่ที่จดทะเบียนสมรสกันแล้วเท่านั้น
ทะเบียนสมรส จดยังไง จดที่ไหน แล้วทำไมต้องจด
การจดทะเบียนสมรส ไม่ยากเลยแค่เตรียมเอกสารนิดหน่อย ก็สามารถจดได้แล้ว เริ่มจาก 1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางข้าราชการออกให้ 2.ทะเบียนบ้านตัวจริง และสำเนา 3.พยาน 2 คน พร้อมกับบัตรประชาขนของพยาน 3.แบบฟอร์มคำร้องขอจดทะเบียนและบันทึกทะเบียนครอบครัว (ขอรับได้ที่สำนักงานเขต) แค่เตรียมสามอย่างนี้ เดินทางไปสำนักงานเขตแล้วก็จดทะเบียนได้เลย แต่ถ้าใครไม่อยากจดที่สำนักงานเขต ก็สามารถจดนอกสถานที่ได้เช่นเดียวกัน
แล้วสรุปว่าจดทะเบียนสมรส ถ้าไม่อยากจดที่สำนักงานเขต ยังต้องไปเขตอยู่ไหม อยากจดทะเบียนสมรสนอกสถานที่ต้องทำยังไง
โดยในการจดทะเบียนสมรส เราสามารถเลือกได้ว่าจะจดที่ไหน จะเข้าไปจดในสำนักทะเบียน หรือจะเลือกจดนอกสถานที่ก็ทำได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากเลือกจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องติดต่อที่สำนักงานเขต ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ซี่งการจดทะเบียนสมรสนอกสถานที่ นอกเหนือจากที่ต้องไปสำนักงานเขตแล้ว ก็ยังต้องมีค่าธรรมเนียม และต้องมีพาหนะไปรับ-ส่ง นายทะเบียนด้วย
สำหรับใครที่อยากจดทะเบียนนอกสถานที่ แต่ยังคิดไม่ออกว่า ต้องจดที่ไหนดี จดวันไหน เราขอแนะนำให้จดทะเบียนสมรส ในวันงานแต่งงาน จะได้จดตามฤกษ์ดีที่เราเลือกแต่งงาน แถมยังประหยัดเวลา ไม่ต้องเดินทางไปสำนักทะเบียนทีหลัง จดในงานแต่งทีเดียว พยานในการจดทะเบียนมีมากกว่า 2 คน ตามที่กฎหมายกำหนดแน่นอน
และถ้าใครกำลังจะแต่งงาน วางแผนแต่งงาน แต่ไม่รู้จะแต่งวันไหน หรือฤกษ์วันไหนที่ดีเป็นสิริมงคล เราได้จัดทำบทความรวมฤกษ์แต่งงานมาให้แล้ว คลิกอ่านได้เลย ในนั้นจะมีทั้งข้อมูลเกี่ยวกับฤกษ์ต่างๆ ให้เราเลือกได้เลยว่า อยากแต่งงานฤกษ์ไหน อยากให้ชีวิตรักครอบครัวรุ่งเรืองแบบไหน ก็ลองเลือกดูนะ
ข้อดี ของ การ จดทะเบียน สมรส
Credit : www.smartsme.tv
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ตอบทุกคำถามกับกระแสที่ทุกคนสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส
18 รายการลดหย่อนภาษีปี 2558 ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!