แผลผ่าคลอด กี่วันหาย วิธีดูแลแผลผ่าคลอด แผลนูนคัน แผลปริ แผลอักเสบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แผลผ่าคลอด คือ ความกังวลใจของคุณแม่ที่ผ่านการผ่าคลอดเพื่อให้กำเนิดลูกน้อย ซึ่งรอยแผลนั้นจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะค่อยจางหรือหายไปในที่สุด ที่สำคัญต้องดูแลอย่างไรเพื่อไม่ให้แผลอักเสบ หรือเจ็บปวด ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่โรคต่าง ๆ การติดเชื้อ แถมความเจ็บแผลจะอาจกระทบต่อการเลี้ยงลูกน้อยได้

 

 

แผลผ่าคลอด แผลผ่าตัดกี่วันหาย?

แผลผ่าคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอด เกิดจากการผ่าตัดคลอดลูก (Cesarean Section) เกิดจากการที่แพทย์ทำการตัดคลอดลูกให้คุณแม่ทางหน้าท้อง เพื่อนำทารกออกมาทางแผลผ่าตัดบริเวณด้านหน้ามดลูก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หากคุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้การผ่าตัดคลอดลูก คือการเปิดเยื่อบุช่องท้องบริเวณมดลูก แล้วทำการคลอดโดยปกติอย่างปลอดภัย สำหรับแผลผ่าตัดหลังคลอด โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือ 2 – 12 สัปดาห์ เพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บของแต่ละท่าน ที่สำคัญคุณแม่ควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี ไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้แผลสมานเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แผลผ่าคลอด มีกี่แบบ?

การผ่าตัดเพื่อทำการคลอดบุตรนั้น เราจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้

  • แผลผ่าคลอดแนวตั้ง 

แผลผ่าคลอด สำหรับแผลผ่าตัดแนวตั้ง คือการลงแผลในแนวดิ่งที่ผนังหน้าท้องช่วงล่างตรงแนวกลางลำตัว ตั้งแต่ระดับต่ำกว่าสะดือยาวลงมาจนถึงระดับเหนือกระดูกหัวหน่าวเล็กน้อย ความยาว แผลผ่าคลอด แนวตั้ง ประมาณ 10 เซนติเมตร การลงแผลแนวนี้จะผ่านเนื้อเยื่อหลายชั้น จนสามารถเข้าช่องท้องได้ง่าย

 

  • แผลผ่าคลอดแนวนอน

แผลผ่าคลอด สำหรับแผลผ่าคลอดแนวนอน มักจะเป็นที่นิยมกว่า สวยงามกว่า กระทำโดยการลงแผลแนวขวางที่ผนังหน้าท้องด้านล่าง ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ตรงตำแหน่งรอยพับของหน้าท้องหรือระดับประมาณ 2 เซนติเมตรสูงจากขอบบนของกระดูกหัวหน่าว ขั้นตอนการผ่าจะซับซ้อนกว่าเล็กน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ปัญหาของแผลผ่าตัด ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

  • แน่นอนว่า ต้องเกิดแผลเป็นเกิดนูนแดงนั้น กลายเป็น แผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ หรือที่เรียกว่า คีลอยด์ แต่ทั้งนี้ ผิวของคุณแม่แต่ละท่านอาจจะมีความหนานูนไม่เท่ากัน
  • ปัญหาหลัก ๆ ที่สร้างความกังวลใจคือ หลังจาก 1 ปีหรือ 1 ปีครี่งไปแล้ว แผลนั้นยังแดงอยู่ แดงอยู่นาน และรอยแดงไม่ลดลง
  • แผลเป็นมักจะทำให้เกิดอาการเจ็บหรือคัน เพราะฉะนั้นห้ามเกาเด็ดขาด
  • เป็นแผลที่เกิดตรงบริเวณข้อต่อ ทำให้ขยับข้อต่อได้ไม่เต็มที่ มีอาการตึงหรือนิ้วงอ หรือมีการผิดรูปเกิดขึ้น
  • แผลที่ไม่มีปัญหา เพียงแต่ดูไม่ดี แต่เป็นสิ่งต้องการและความคาดหวังในการรักษาของคนไข้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี ให้แผลเป็นเนียนเร็ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แผลผ่าตัดควรมีลักษณะอย่างไร แบบไหนถึงมีความเสี่ยง

แผลผ่าตัดคือผิวที่ถูกมีดกรีดเพื่อเปิดแผล หรือการใส่ท่อระบายเลือดในระหว่างการผ่าตัด เป็นเหตุให้เกิดแผลจากการผ่าตัดเกิดขึ้น โดยปกติเมื่อมีการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อย แพทย์จะทำการเย็บปิดแผลเอาไว้ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดเพื่อการทำคลอดอีกด้วย ซึ่งเราจะสามารถสังเกตแผลผ่าตัด ออกเป็น 4 ลักษณะดังนี้

  • แผลสะอาด แผลชนิดนี้เป็นแผลดี ไม่เสี่ยงเกิดการติดเชื้อ หรืออักเสบ
  • แผลที่อาจมีการปนเปื้อน แผลลักษณะนี้ คุณแม่จำเป็นจะต้องดูแล ใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นอาการเบื้องต้นของการเป็นแผลติดเชื้อได้ ซึ่งหากคุณแม่สังเกตได้เร็ว และดูแลได้ดี สภาพแผลก็จะกลับมาอยู่ในภาวะของแผลสะอาดได้ตามปกติ
  • แผลมีการปนเปื้อน แผลนี้โดยมากจะเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากเสื้อผ้า สิ่งแวดล้อม ความอับชื้น ที่ทำให้แผลเสี่ยงเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้
  • แผลสกปรก เนื่องจากขาดการดูแล ไม่ใส่ใจในการทำความสะอาด หรือบาดแผลเกิดการสัมผัสกับเชื้อโรค หรือสิ่งสกปรก ก็จะเสี่ยงกับการที่แผลจะเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคสูงมาก

 

 

คุณแม่มือใหม่สามารถ ดูแลแผลผ่าคลอด ด้วยตนเองได้อย่างไร?

1. หมั่นดูแลแผลให้แห้งและสะอาด

สำคัญที่สุดหลังจากการผ่าคลอด คุณหมอจะปิดแผลด้วยสก๊อตเทปกันน้ำ จากนั้นเมื่อครบ 7 วัน คุณหมอถึงจะเปิดแผลผ่าตัด ช่วงนี้ต้องดูแลทำความสะอาดแผลให้ดี เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก และเชื้อโรคเข้าแผล ถ้าอยากให้แผลแห้ง หายไว สมานเนื้อได้ดี อย่าโดดน้ำเด็ดขาด

 

2. คุณแม่ต้องระวังการกระทบกระเทือน

แม้จะคลอดบุตรแล้ว แต่ช่วง 3 เดือนหลังคลอด ยังไม่ควรยกของหนัก อย่าขยับตัวมากเกินไป ทำได้เท่าที่ไหว ถ้ารู้สึกเจ็บ หรือแผลตึง นั่นคือแผลยืดมากเกินไป จะทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าแผลจะปริ จึงสร้างเส้นใยคอลลาเจนเพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น เมื่อเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาเป็นแผลคีลอยด์ในที่สุด ระวังไม่ให้เกิดการเสียดสีที่แผล ไม่ควรยกของหนัก เพราะอาจทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำได้

 

3. คุณแม่ต้องหมั่นดูแลแผลเป็น

อย่าเพิ่งกังวลใจมากไปหากพบว่า มีการเกิดรอยแผลเป็นที่เป็นรอยดำ หรือ นูนแข็ง  สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ครีมดูแลแผลเป็นที่มีวิตามินอี หรือ ใช้แผ่นซิลิโคนสำหรับดูแลแผลจะช่วยให้แผลเป็นเรียบเนียนนุ่ม ทำให้หน้าท้องเรียบเนียน แต่ต้องใช้ระยะเวลาสักหน่อย

 

4. ต้องขยับตัวฝืนการเคลื่อนไหว

อย่าเพิ่งคิดว่า หลังคลอดแล้วห้ามขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ทราบไหมคะว่า คุณแม่ที่ผ่าคลอด หลังการผ่าคลอด 1 วัน คุณแม่ต้องลุกขยับเดิน แม้เจ็บมากก็ต้องฝืน เพราะหากคุณแม่ไม่ยอมเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดพังผืด ทำให้เสี่ยงท่อนำไข่อุดตัน การผ่าตัดครั้งต่อไปทำได้ยาก หรือท้องผูกเรื้อรังได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. เวลานอนควรปรับหัวนอนให้สูง

คุณแม่ควรหาหมอนที่พอดีกัยศีรษะที่สูงขึ้นสักนิด อย่านอนราบกับไปที่นอน ซึ่งการปรับหัวนอนสูง จะช่วยให้แผลผ่าที่หน้าท้องไม่ตึงจนเกินไป ช่วยลดอาการเจ็บแผลได้ดีค่ะ

 

6. คุณแม่ควรออกำลังกายด้วยการเดินบ่อย ๆ

เนื่องจากการผ่าคลอด เป็นวิธีที่หายช้ากว่าแบบธรรมชาติ เสี่ยงภาวะเลือดอุดตันที่ขา จึงควรเดินบ่อยๆ หรือขยับขาบ้าง อย่าเดินเร็วมาก เช้าๆ ค่อยๆ เดินเล่น หรือนั่งดูซีรีส์ เลี้ยงลูกแล้ว ก็ลุกออกมาเดินเล่นขยับขาไปมาสักหน่อย ลองเปิดการออกกำลังกายแบบโยคะทางช่องยูทูปที่ชื่นชอบ ทำตามไประหว่างลูกหลับก็ได้ค่ะ

 

7. นวดบริเวณแผลเป็น

ที่สำคัญ อย่าปล่อยให้แผลตึง ควรนวดแผยบ่อยๆ หลังอาบน้ำ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้แผลนุ่มขึ้น แต่ควรจะใช้มอยเจอร์ไรเซอร์และโลชั่นมาช่วยนวดและทาด้วยเพื่อให้แผลเป็นชุ่มชื้น จะได้นุ่มได้ไวขึ้น แบนราบได้เร็วขึ้น และทำให้อาการปวดจากแผลเป็นเหล่านี้ลดลงไปได้ด้วย อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังในการนวดก็คือ นวดในแผลเปิด แผลอาจปริขึ้นมา หรือบวมขึ้นมา หรือแพ้โลชั่นก็ต้องหยุด

 

 

ระยะการฟื้นตัวของแผลผ่าตัด

โดยส่วนใหญ่ แผลผ่าตัด จะมีกระบวนการในการรักษาของตัวมันเอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแผลบวม

ระยะนี้บริเวณที่มีการเย็บแผล จะเกิดอาการบวม ซึ่งเกิดจากกระบวนการสมานแผลของผิวหนัง เส้นเลือดบริเวณที่เกิดบาดแผล จะสร้างลิ่มเลือด เพื่อช่วยหยุดการสูญเสียเลอด ในช่วงนี้ เม็ดเลือดขาวจะเข้ามามีบทบาทในการต่อสู้กับเชื้อโรค และป้องกันการติดเชื้อ ทำให้แผลผ่าตัดจะมีลักษณะบวมแดง และมีความรู้สึกอุ่น ๆ บริเวณบาดแผล ซึ่งจะมีอาการดังกล่าวประมาณ 6 วัน หลังจากการผ่าตัด แต่ถ้าอาการบวมแดง กลับมีหนองไหล หรือมีอาการเจ็บรุนแรง ประกอบด้วย สันนิษฐานได้ว่า เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดนั่นเอง

 

  • ระยะสร้างเซลล์ใหม่

ในระยะนี้ ขอบของแผลผ่านตัดจะทำการสมานตัวเข้าด้วยกัน ซึ่งบางรายอาจเกิดแผลเป็นขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับการดูแล อาหารที่รับประทาน และความแข็งแรงขอเซลล์ผิว ระยะนี้จะเริ่มกระบวนการตั้งแต่ 4 วันแรก จนถึง 1 เดือนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งแผลผ่าตัดในช่วงนี้ จะมีลักษณะที่หนาขึ้น บวมแดง แต่หากมีอาการคัน สีคล้ำ มีหนองไหล หรือเกิดอาการแสบ คัน เจ็บ ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

 

  • ระยะปรับตัว

แผลที่บวม หรือนูนหนา หรือเป็นแผลเป็น หรือคีลอยล์ จะสังเกตได้ตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ปี เนื่องจากช่วงระยะเวลาดังกล่าว แผลผ่าตัดจะเกิดการสมานตัวจนสนิท และเราจะสามารถรับรู้ได้ว่า แผลผ่าคลอดของเรานั้น จะกลายเป็นแผลเป็นในลักษณะไหนบ้าง

 

 

ข้อควรระวัง แผลผ่าตัดคลอดอักเสบ

  • ซับแผลให้แห้ง เมื่อแผลโดนน้ำต้องซับให้แห้ง หมั่นทายาตามที่หมอสั่ง จนกว่าแผลจะปิดสนิท
  • ระวังการขยับ ลุก นั่ง และ เดิน และงดการขึ้นลงบันได การยกของหนัก และอย่าขับรถเองเด็ดขาด
  • มีไข้ หากผ่าคลอดแล้วคุณแม่ครั่นเนื้อครั่นตัว ควรไปพบแพทย์ทันที
  • เจ็บแผลผ่าตัดมากขึ้น แผลมีรอยแดง บวม แถมมีเลือดซึมจากแผลมากขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
  • น้ำคาวปลาเหม็น หรือมีปริมาณเพิ่มขึ้น สีแดงเข้มกว่าเดิมหลังจากที่จางไปแล้ว หากพบว่าเป็นเช่นนี้ละก็ รีบไปพบแพทย์กันเถอะค่ะ เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณแม่กำลังตกเลือดอยู่ก็เป็นได้
  • ขาบวม ขาของคุณแม่บวมมากขึ้น อาจจะเป็นการบ่งบอกว่าแผลผ่าคลอดของคุณแม่ อาจจะได้รับการติดเชื้อ จนส่งผลให้เท้าบวม และอักเสบได้
  • ปัสสาวะติดขัด อาการที่มักพบได้คือ ปัสสาวะแสบขัด ไข้หนาวสั่น ปวดบริเวณบั้นเอว หากมีอาการดังกล่าวคุณแม่ควรรีบบอกหมอแต่เนิ่น ๆ นะคะ เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 เรื่อง หลังผ่าคลอด ที่คุณแม่ควรรู้ หลังผ่าคลอดต้องรู้อะไรบ้าง

 

 

ลักษณะแผลผ่าตัด แผลนูน คันแผล แผลอักเสบ คีลอยด์ เป็นอย่างไร?

แผลผ่าคลอดมักจะมีลักษณะนูน บวม ในช่วงแรก จากนั้นตัวแผลจะเริ่มยุบตัวลง หากแผลผ่าตัดจะเกิดอาการคัน หรือเจ็บแปล๊บบ้างบางครั้งบางคราว ถือเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ และอาการเหล่านั้นจะเริ่มหายเอง โดยใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ จนถึง 1 เดือน หลังจากการผ่าตัด ในขณะที่แผลเป็น แผลคีลอยด์ แผลเป็น อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่มากกว่าปกติ

 

 

แผลคีลอยด์ (keloid) ดูแลอย่างไร ?

เป็นแผลเป็นที่มีลักษณะนูนแดง และอาจมีอาการคันและเจ็บร่วมด้วย ขอบเขตของแผลอาจขยายกว้างกว่ารอยเดิมของแผล แผลเป็นคีลอยด์จะเกิดขึ้นหลังแผลหายแล้วตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไป และเมื่อทิ้งไว้จะคงอยู่และไม่สามารถยุบลงได้เอง ในบางรายอาจมีขนาดโตขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย คีลอยด์มักพบในคนผิวสีคล้ำ อีกทั้งยังถ่ายทอดทางพันธุกรรม และยังเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอีกด้วย

 

  • วิธีการการรักษาแผลเป็น แผลคีลอยด์

ในทางการแพทย์ มีหลากหลายวิธีในการรักษาแผลเป็น อาจรักษาโดยการใช้แผ่นซิลิโคนปิด ให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น ลดการอักเสบได้ , การผ่าตัด , การฉีดยาสเตียรอยด์ , การใช้ยาทารักษา , การฉายรังสี หรืออาจทำการรักษาด้วยเลเซอร์ เป็นต้น

 

 

ข้อห้ามหลังจากผ่าคลอด

  • ห้ามใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์  ยาบางตัวมีผลทำให้น้ำนมหยุดไหล เช่น สเตียรอยด์ ยาลดน้ำหนัก ยาลดความอ้วน ยารักษาสิว ยาปฏิชีวะอื่นๆ รวมถึงยากลุ่มสารเสพติด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ชนิดต่างๆ ก่อนใช้ยาคุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เพราะจะทำให้คุณแม่ตกเลือดหลังคลอดได้
  • ห้ามยกของหนัก  เพราะการยกของหนักจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อมดลูก และแผลผ่าคลอดได้
  • ห้ามกินของใช้ไม่มีประโยชน์เป็นประจำ เช่น ของหมักดอง ฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีรสหวานจัดๆ เพราะอาหารเหล่านี้จะมีน้ำตาลในปริมาณสูง ไม่มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์กับทารกที่กินนมแม่ ซึ่งอาจทำให้ลูกขาดสารอาหารและเป็นโรคอ้วนในเด็กได้

 

อย่างไรก็ตาม โดยมากธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ จะเกิดกระบวนการการซ่อมแซมร่างกาย เมื่อเกิดบาดแผล แต่การรักษา หรือป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็น แผลอักเสบเรื้อรัง หรือแผลติดเชื้อ จำเป็นจะต้องขึ้นอยู่กับการดูแลร่างกายของคุณแม่ ที่จะต้องระมัดระวัง ใส่ใจ และป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกไปโดนบริเวณบาดแผล หรือแผลผ่าตัด และควรหมั่นทำความสะอาด และไม่แผลเกิดความอับชื้น จนเกิดการติดเชื้อได้

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง แม่หลังคลอดควรกินอะไรให้แผลหายเร็ว

เซ็กซ์หลังผ่าคลอด 9 ท่าเเนะนำ ไม่กดทับเเผล

เด็กผ่าคลอด กับ คลอดธรรมชาติ พัฒนาการต่างกันอย่างไร

ที่มา : 1, 2, 3

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow