แจ้งเกิดลูก แจ้งย้ายที่ที่อยู่ลูก พ่อแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แจ้งเกิดลูก สำหรับคุณแม่เพิ่งคลอด คือหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติสำหรับเด็กแรกเกิด โดยสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ บัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา พร้อมแฟ้มเอกสารเพื่อที่ทางโรงพยาบาลมอบหนังสือรับรองการเกิด ก็สามารถเห็บใส่แฟ้มเตรียมไปสำนักงานเขตได้เลย ทั้งนี้ โรงพยาบาลแทบทุกแห่ง เปิดบริการแจ้งเกิดลูกอย่างสะดวกสบาย แต่หากจะต้องดำเนิดการเอง คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวล เพียงแต่ต้องยื่นเรื่องให้ทันภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้นเอง

 

 

แจ้งเกิดลูก ผู้ปกครองควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

 

หากเด็กเกิดในบ้าน

การ แจ้งเกิดลูก ในกรณีที่พ่อแม่มีอาคาร ที่มีบ้านเลขที่ รวมถึงสถานพยาบาล ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิด หรือสำนักทะเบียนที่บิดามารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด มิฉะนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจ้งเกิดลูกโดยไม่มีพ่อ มีปัญหาในอนาคตมั้ย?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งและของบิดามารดา
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด
  • หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (กรณีเด็กในสถานพยาบาล)

 

หากเด็กเกิดนอกบ้าน

การ แจ้งเกิดลูก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่ได้รับหมอบหมายจาก บิดาหรือมารดา แจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิดหรือสำนักทะเบียนที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด มิฉะนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง และของบิดา มารดา
  • สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด

ขั้นตอนการติดต่อการ แจ้งเกิดลูก

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียน
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนและลงรายการในสูติบัตรทั้ง 3 ตอน แล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจึงมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับผู้แจ้ง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากคุณพ่อคุณแม่แจ้งการเกิดลูก เกินกำหนด

ให้บิดา มารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่เกิดหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นอื่นที่บิดา มารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เกิด มิฉะนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : แจ้งเกิดอย่างไร หากท้องไม่มีพ่อ ต้องระบุชื่อผู้ชายในใบเกิดไหม

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งและของบิดา มารดา
  • สำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีชื่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็ก (ถ้ามี
  • รูปถ่ายเด็กขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  • หนังสือรับรองการเกิดที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด

 

ขั้นตอนการติดต่อการแจ้งเกิดเกินกำหนด

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียน
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดี ความผิด และสอบสวนผู้แจ้ง บิดา มารดา ให้ทราบสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิดภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่บิดามารดาไม่อาจมาให้ถอยคำในการสอบสวนได้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลหรือกรณีใด นายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กรณีการแจ้งย้ายที่อยู่

การย้ายเข้า ผู้ปกครองจำเป็นต้องแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันแจ้งย้ายออก

 

กรณีเจ้าบ้านมาเอง

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับ ไม่เกิน 1,000บาท

 

กรณีมอบหมายและผู้รับมอบหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
  • ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
  • ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”

 

กรณีเจ้าบ้านมอบหมายและผู้ได้รับมอบหมายไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่2
  • ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”
  • หนังสือมอบหมายให้มาดำเนินการแจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้าน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขั้นตอนการติดต่อการแจ้งย้ายเข้า

  1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักต่อนายทะเบียนท้องที่ ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน และมอบสำเนาทะเบียนบ้าน และ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องต้องรู้ รวมเทคนิคคนคลอดลูกง่าย แม่ท้องอยากคลอดลูกง่ายทำไงดี?

กรณีการแจ้งย้ายออก

หากบุคคลใด ย้ายออกจากบ้านหรืออาคารที่มีบ้านเลขที่ ให้เจ้าบ้านนั้นแจ้งย้ายผู้นั้นออกภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

กรณีเจ้าบ้านมาเอง

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

 

กรณีเจ้าบ้านมอบหมายให้กระทำ

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะที่ได้รับมอบหมาย
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน

 

กรณีเจ้าบ้านมอบหมายและผู้รับมอบหมายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะได้รับมอบหมาย
  • หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน

 

การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

หากผู้ประสงค์จะย้ายที่อยู่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการแจ้งย้ายออกจากสำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่อาจติดต่อแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนที่จะย้ายเข้าไปโดยให้ผู้ประสงค์แจ้งด้วยตนเอง

 

หลักฐานที่ใช้

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน (กรณีเจ้าบ้านไม่ได้มาด้วยตนเอง)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้ายและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
  • การย้ายที่อยู่ของคนต่างด้าวต้องมีการแจ้งย้ายที่อยู่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ (สน.) ด้วย ทั้งกรณีย้ายเข้าและย้ายออก

 

การแจ้งย้ายบุคคลเข้าทะเบียนกลางของสำนักทะเบียน

บุคคลใดออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินกว่า 180 วัน ถ้าไม่ทราบว่าบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่ใดหรือเป็นใคร ให้เจ้าบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้าน โดยนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน แจ้งย้ายชื่อบุคคลไปเข้าทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

 

การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง

ให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายออกด้วยตนเอง กรณีที่ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้แจ้งย้ายออกแทน

หลักฐานที่ใช้

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานแสดงตัวของผู้แจ้ง สูติบัตร
  • คำสั่งศาล หรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีแจ้งย้ายให้ผู้เยาว์)
  • พยานหรือบุคคลที่เชื่อถือได้

 

 

บทความที่น่าสนใจ :

เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไร? ฝากครรภ์ที่ไหนดี?

ฤกษ์คลอด 2564 ฤกษ์ดีผ่าคลอด ฤกษ์คลอดบุตร ปีนี้คลอดวันไหนถึงจะดี? มาดูกัน!

500 ไอเดีย ตั้งชื่อเล่นลูกสาว สองพยางค์ สุดฮิต 2564 ชื่อเล่นเพราะๆ ไม่ซ้ำใคร

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเกิดลูก ได้ที่นี่!

แจ้งเกิดลูก ต้องไปที่ไหน และใช้เอกสารอะไรบ้างคะ

ที่มา : 1 , 2

 

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow