คุณแม่หลายท่านคงมีปัญหา น้ำนมพุ่งแรง จนลูกสำลัก ทำให้ลูกไม่สามารถกินนมต่อได้ เรามาดูวิธีแก้ปัญหา น้ำนมพุ่งแรง กันดีกว่าค่ะ เพื่อให้แม่ ๆ ป้อนนมได้อย่างสะดวก
กลไกน้ำนมพุ่ง
กลไกน้ำนมพุ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อลูกดูดนมแม่ ทำให้มีการกระตุ้นการบีบรัดของท่อน้ำนม เพื่อให้มีน้ำนมไหลออกมา คุณแม่บางคนที่น้ำนมพุ่ง จะรู้สึกเจ็บเต้านมก่อนที่น้ำนมจะไหลออกมา และทำให้ลูกเกิดอาการสำลักได้
ทำไมน้ำนมถึงพุ่งออกมา
เกิดจากน้ำนมที่เต็มเต้า ถูกกระตุ้นจากการสัมผัสที่เต้านม โดยเฉพาะที่หัวนม เป็นฮอร์โมนของการบีบตัวของท่อน้ำนม จะทำให้เกิดอาการน้ำนมพุ่งได้ และหากคุณแม่ที่มีความรู้สึกไว ท่อน้ำนมจะเกิดการบีบตัวค่อนข้างมาก อาจจะทำให้เจ็บเต้านมได้ เมื่อน้ำนมถูกระบายออกมา หากคุณแม่รู้สึกเจ็บ สามารถประคบเต้าด้วยน้ำอุ่น อาการเจ็บก็จะบรรเทาลงค่ะ
จะรู้ได้อย่างไร ว่าน้ำนมพุ่งทำงานได้ดี
เวลาที่ลูกกินนมเสร็จ จะรู้สึกได้ว่าเต้านมจะเบา ไม่คัดตึง การที่ให้นมลูกในท่าที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ลูกรีดน้ำนมออกได้หมด ในขณะที่ลูกกินนม ลูกจะมีจังหวะดูดนมและกลืนอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ก็จะเป็นตัวบ่งบอกว่า น้ำนมพุ่งทำงานดีแล้วค่ะ
ฝึกลูกให้ดูดนมเก่งขึ้น
- จัดตำแหน่งลูกให้อยู่สูงกว่าเต้านมแม่ คือ ส่วนหัวและคออยู่สูงกว่าตำแหน่งหัวนม
- ท่าเข้าเต้าปกติ Cradlehold แต่คุณแม่จะนอนเอนหลังลง
- ท่ารักบี้ Football hold แต่คุณแม่จะเอนหลังลง
- ให้ลูกนั่งตัวตรง หันหน้าเข้าหาแม่ แทนที่จะให้เค้านอน
- นอนตะแคงให้นมลูก Side lying ลูกจะปล่อยให้น้ำนมไหลออกจากปากเองได้
- นอนหงายให้นม Laid back ลูกอยู่บนตัว คว่ำหน้าลงหาเต้า ท้องชนกับของคุณแม่
- คุณแม่จับลูกเรอบ่อย ๆ ถ้าเห็นว่าลูกดูดเอาอากาศเข้าไปเยอะด้วย
- ให้นมบ่อย ๆ จะทำให้ปริมาณน้ำนมสะสมในเต้าไม่เยอะเกินไปในแต่ละมื้อ น้ำนมจะไม่พุ่งแรงมาก
- ให้นมตอนลูกง่วง ๆ อารมณ์ดี ลูกจะดูดเบา ๆ ถ้าให้ลูกดูดกินตอนที่หิวจัดจะทำให้ลูกสำลักได้
- ให้ลูกดูดจนรู้สึกว่านมจี๊ด เอาลูกออกตอนจี๊ด และคุณแม่บีบเก็บนมไว้หรือเอาผ้าซับไว้ พอนมหยุดจี๊ดค่อยให้ลูกดูดต่อ
- บีบนมออกก่อนจนกระทั่งนมไหลช้าลงแล้วค่อยให้ลูกเข้าเต้า วิธีนี้จะทำให้นมยิ่งเพิ่มขึ้น จึงอาจไม่ช่วยแก้ปัญหานมพุ่งเท่าไร ถ้าจะใช้วิธีนี้ต้องพยายามบีบออกให้น้อยลงๆ เรื่อยๆ (คืออย่าบีบออกเยอะ) จนกระทั่งไม่ต้องบีบออกเลย
ปรับระดับน้ำนมให้พอดีกับความต้องการลูก
กินนมแม่
- หลีกเลี่ยงวิธีการนี้ในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะช่วงนี้น้ำนมควรจะเพิ่มขึ้น เป็นธรรมดาที่ลูกจะมีอาการหงุดหงิดเพราะนมเยอะได้บ้าง ดังนั้น ถ้าอยู่ในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก ให้ลองฝึกลูกให้ดูดนมให้เก่ง (ตามข้างบน) ก่อนค่ะ
- วิธี Block feeding เมื่อลูกดูดข้างหนึ่งเสร็จแล้ว และยังแสดงอาการอยากดูดต่อ ให้เอาลูกดูดข้างเดิมต่อ ถ้าข้างที่ไม่ได้ให้นมมีอาการคัดตึงมาก ให้บีบนมออกจนรู้สึกสบายขึ้น แล้วประคบเย็น ครั้งต่อๆ ไปให้บีบออกให้น้อยลงเรื่อยๆ (แต่ให้รู้สึกสบาย) แล้วในที่สุดคือไม่ต้องบีบออกอีกระหว่างมื้อนม ลองประคบเย็นประมาณ 30 นาที เว้นช่วงสัก 1 ชั่วโมงหลังประคบ ทำให้ปริมาณเลือดไหลเวียนไปที่เต้าลดลงและน้ำนมผลิตลดลง
- วิธีที่ได้ผลกับบางคน คือ ระหว่างให้นม ให้สลับข้างบ่อยๆ
- Full drainage and block feeding คือ เอาน้ำนมออกให้ได้มากที่สุด (มักต้องใช้ปั๊มคู่ช่วย) แล้วต่อด้วย Block feeding ตามข้างบน ตั้งเวลาประมาณข้างละ 3 ชั่วโมง
- ระวังอาการท่อน้ำนมตันและเต้านมอักเสบ
- ระวังอย่ากระตุ้นน้ำนมให้ผลิตโดยไม่ตั้งใจ เช่น ปั๊มเกินเวลา ปั๊มบ่อยๆ อาบน้ำอุ่นนานๆ เป็นต้น
- อาจมีวิธีอื่นอีก เช่น ใช้สมุนไพรลดน้ำนม
วิธีการป้องกันเมื่อลูกชอบสำลักเวลาเข้าเต้า
- ปรับท่าให้นมลูกในลักษณะที่ถูกต้อง คือให้ลูกนอนเอียง 45 องศาเวลาดูดนม ให้ศีรษะอยู่สูงกว่ากระเพาะ เพื่อให้น้ำนมไหลลงกระเพาะได้ดีและสะดวก
- หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ค้ำขวดนมเวลาให้นม เพราะอาจทำให้น้ำนมไหลเร็วและแรงเกินไป อีกทั้งการที่ไม่มีผู้ใหญ่อยู่ใกล้ เวลาลูกสำลักนมจะช่วยเหลือได้ไม่ทัน
- หลังการให้นม จับลูกอุ้มพาดบ่าเพื่อจับเรอทุกครั้ง หรือเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยให้จับนั่งมือหนึ่งประคองใต้คางลูกเบา ๆ อีกมือตบ และลูบหลังขึ้นเบาๆ เป็นการไล่ลม แก๊สในกระเพาะ และเป็นช่วงเวลาให้น้ำนมไหลลงกระเพาะนั่นเอง
- เลือกจุกนมให้เหมาะสมกับวัยเด็ก จุกนมมีหลายขนาดและตัวรูที่จุกนมก็มีหลายแบบ แต่ละแบบมีปริมาณการไหลของน้ำนมที่ต่างกัน คุณแม่ควรเลือกให้เหมาะสมและถูกต้องตามวัยลูกค่ะ
- ถ้าลูกดูดนมจากขวดให้สังเกตดูฟองอากาศเล็ก ๆ ในขวดสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตร หมายความว่าการดูดของลูกมีจังหวะที่พอดี
- คุณแม่ที่น้ำนมไหลเร็วหรือน้ำนมพุ่ง ให้ปรับท่าให้นมเป็นการนอนหรือกึ่งนั่งกึ่งนอน โดยวางลูกน้อยให้ดูดนมบนอก เมื่อลูกอยู่สูงกว่าเต้านม ก็จะช่วยลดแรงพุ่งของน้ำนมแม่ลงได้ค่ะ
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!