คุณแม่กังวลหลังมีเพศสัมพันธ์ไม่รู้ว่าควรกิน ยาคุมกำเนิด แบบไหนถึงจะสามารถให้นมลูกได้ และ ยาคุมกำเนิด แบบไหนไม่ส่งผลอันตรายต่อลูก
คุณแม่ให้นมควรให้ลูกกินยาคุมแบบไหน
ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่เหมาะกับคุณแม่ให้นมบุตรควรเป็นยาคุมกำเนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมน Progestin ไม่ควรกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มี Estrogen รวมอยู่ เพราะจะมีผลค้างเคียงทำให้การผลิตน้ำนมลดลงได้ สำหรับคุณแม่ให้นมลูก มียาคุมสำหรับคุณแม่โดยเฉพาะ คือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
ยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยวคืออะไร ?
เป็นยาคุมที่มี โปรเจสโตเจนอย่างเดียว เป็นยาคุมที่ทำมาเพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้นมากขึ้น ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยาก เยื่อบุโพรงมดลูกบางลงและฝ่อไปจนไม่เหมาะกับการฝังตัว ช่วยลดการเคลื่อนที่ของไข่ตามท่อนำไข่ และยับยั้งไม่ให้ไข่ตกโดยการควบคุมแบบย้อนกลับ ยาคุมชนิดนี้มี 28 เม็ด กินได้ทุกวันไม่ต้องหยุด เมื่อกินหมดแล้วต่อแผงใหม่ได้เลย ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอบ้าง
ยาคุมกำเนิด Cerazette 28 เม็ด
Cerazette
วิธีรับประทานยา : วิธีใช้คือรับประทานตามลูกศรโดยเรียงลำดับตามวัน เช่น สมมติว่าเริ่มรับประทานวันจันทร์ ก็สามารถจะเริ่มที่ตำแหน่งที่วงไว้ตำแหน่งที่ 1, 2, 3 หรือ 4 ก็ได้ค่ะ จากนั้นก็รับประทานต่อตามที่ลูกศรชี้ได้เลย
หากพลาดรับประทานยาย้อนศร : สามารถรับประทานได้ค่ะ เนื่องจากยาทุกเม็ดมีตัวยาในปริมาณเท่ากันจะรับประทานย้อนศรต่อไปเรื่อย ๆ จนหมดแผงเลยก็ได้ค่ะ แต่อาจทำให้สับสนและตรวจสอบการรับประทานยาในแต่ละวันต่อไปได้ยากสักหน่อย
ยาคุมกำเนิด Exluton 28 เม็ด
Exluton
วิธีรัปประทานยา : วิธีใช้คือรับประทานตามลูกศรโดยเรียงลำดับตามวัน และควรแกะยาตามวันที่ที่ระบุ ตัวย่อของวันในสัปดาห์ เช่น เริ่มรับประทานวันพฤหัสบดี ก็แกะคำว่า พฤ โดยเลือกเม็ดใดก็ได้ที่อยู่ในแผง แต่เพื่อความสะดวกแกะแถวบนสุดมาจะสะดวกค่ะ
หากพลาดรับประทานยาย้อนศร : สามารถรับประทานได้ค่ะ เนื่องจากยาทุกเม็ดมีตัวยาในปริมาณเท่ากันจะรับประทานย้อนศรต่อไปเรื่อย ๆ จนหมดแผงเลยก็ได้ค่ะ แต่อาจทำให้สับสนและตรวจสอบการรับประทานยาในแต่ละวันต่อไปได้ยากสักหน่อย
ข้อดีข้อเสียของยาคุมแม่ให้นมบุตร
ข้อดี ของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
- ไม่ค่อยทำให้เป็นสิวเป็นฝ้า
- ช่วยลดการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน
- ลดการเสียเลือดจากการเป็นประจำเดือน
- ไม่ลดปริมาณน้ำนมของคุณแม่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะโปรเจสโตเจนจะไม่ยับยั้งการหลั่งน้ำนม และไม่ทำให้คุณภาพของน้ำนมเสื่อมลง
ข้อเสีย ของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
- ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวอาจทำให้มีเลือดออกกระปริบกระปอยได้
วิธีที่ไม่มีส่งผลต่อน้ำนม
- Condom (ถุงยางอนามัย) : เหมาะกับในรายที่ไม่ต้องการการใช้ฮอร์โมน มีเพศสัมพันธ์ ไม่บ่อย และต้องการคุมกำเนิดระยะสั้น
- Progestin-only pill (ยากินชนิด ฮอร์โมนเดี่ยว) : ยาคุมชนิดนี้สามารถรับประทานได้ในช่วงให้นมบุตรโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนมและสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้อีกด้วย วิธีการการรับประทานเหมือนกับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม แต่อาจมีผลข้างเคียงในเรื่องเลือดออกกระปริดกระปรอย ระหว่างการรับประทานได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการลืมกินหรือเปลี่ยนช่วงเวลากินบ่อยๆ ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ 1 แผงประกอบด้วยยา 28 เม็ด แนะนำในเริ่มกินในช่วงวันที่ 21-28 หลังคลอดบุตร แต่หากกินหลังจากนั้น สามารถกินได้แต่ช่วง 7 วันแรกที่กินยาคุมกำเนิดชนิดนี้ หากมีเพศสัมพันธ์แนะนำให้คุมกำเนิดโดยการใช้ถุงยางร่วมด้วย ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีโรคตับ โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และโรคลิ่มเลือดอุดตันแบบเฉียบพลัน
- ยาฉีดคุมกำเนิด (DMPA) : มี 2 ชนิดคือ แบบ1 เข็มคุมกำเนิดได้ 3 เดือน และแบบที่ 2 คือ 1 เข็มคุมกำเนิดได้ 1 เดือน ยาคุมชนิดนี้สามารถรับได้ในช่วงให้นมบุตรโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำนม สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ 6 สัปดาห์ภายหลังคลอดบุตร หรือ ภายใน 7 วันหลังมีรอบเดือนมา ข้อดีของการคุมกำเนิดแบบฉีดคือ ไม่มีปัญหาเรื่องการลืมกินยา คุมกำเนิดได้นานกว่ายาคุมชนิดกิน แต่อย่างไรก็ตามมีผลข้างเคียงคือ มีเลือดออกกระปริดกระปรอย หากใช้ไปนานๆจะทำให้ประจำเดือนไม่มา นอกจากมียังมีผลข้างเคียงทำให้มีน้ำหนักขึ้น มีฝ้า และหากใช้ในระยะยาวมีรายงานว่าทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในเลือดสูงขึ้นและมวลกระดูกบางลงได้ แต่อย่างไรก็ตามหากหยุดใช้มวลกระดูกที่บางลงสามารถกลับคืนมาได้
- Implant (ยาฝังคุมกำเนิด) : ยาคุมชนิดนี้ประกอบด้วยฮอร์โมน Progestin ชนิดเดียวดังนั้นจึงไม่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนม ยาฝังคุมกำเนิดมี 2 ประเภท คือ 1. ชนิด 1 หลอด (Nexplanon) คุมกำเนิดได้ 3 ปี และ 2. ชนิด 2 หลอด ( Jadelle) คุมกำเนิดได้ 5 ปี การฝังยาคุมจะฝังบริเวณท้องแขนด้านในเหนือข้อศอกเล็กน้อย ปกติแนะนำให้ฝังภายใน 5วันแรกของการมีประจำเดือน หรือภายใน 6 สัปดาห์หลังคลอด แต่ในกรณีที่เลย 6 สัปดาห์หลังคลอดแล้วแต่ประจำเดือน ยังไม่มา สามารถฝังยาคุมได้ แต่ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้งและภายหลังฝัง 7 วันควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่นใส่ถุงยางร่วมด้วย หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ การฝังยาคุมกำเนิด จะยังมีรอบเดือนมาตามปกติแต่อาจมาน้อยลงได้ และเมื่อครบกำหนดต้องมานำหลอดยาฝังออก
- IUD (ห่วงคุมกำเนิด) : ห่วงคุมกำเนิดในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ 1.ชนิดมีฮอร์โมน ( Levonogestrel IUD) : ห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2.ห่วงคุมกำเนิดชนิด Copper (Copper IUD) : ห่วงคุมกำเนิดชนิดนี้สามารถคุมกำเนิดได้ 10 ปี โดยช่วงเวลาที่ปลอดภัยในการใส่ห่วงคุมเกิดหลังคลอด คือ อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอดบุตร เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ให้เรียบร้อยก่อนและลดโอกาสการทะลุจากห่วงคุมกำเนิด ส่วนผลข้างเคียงจากการใส่ห่วงคุมกำเนิดที่พบบ่อยได้แก่ ตกขาวที่มากขึ้น มีเลือดออกกระปริดกระปรอย ระหว่างรอบเดือน ประจำเดือนจะมาลดลง แต่การคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนม
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา (1),(2)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
วิธีคุมกําเนิด แบบไหนดีที่สุด! กินยาคุม ใส่ถุงยาง ฝังเข็มยาคุม หรือทำหมันเลยดีไหม
เพศสัมพันธ์ระหว่างใช้ยาคุม กินยาคุมแล้วมีเซ็กส์ได้ไหม? ปลอดภัยรึเปล่า?
ลืมกินยาคุม ต้องทำอย่างไร ลืมกินยา 1 วัน 2 วัน จะเป็นอะไรไหม วิธีกินยาที่ถูกต้อง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!