10 วิธี พาลูกไปฉีดยา แบบให้ลูกแฮปปี้ ไม่มีร้องไห้ สบายใจทั้งผู้ปกครองและเด็ก
เนื่องจากในสังคมปัจจุบันมีโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคมากที่ผู้ปกครองอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันจึงเป็นทางออกที่ดีอีกทางหนึ่งให้กับเจ้าตัวน้อย แต่ปัญหาก็คือเด็กเล็กจะมีความกลัวความเจ็บมากกว่าคนโตอยู่แล้ว เมื่อเขาหรือเธอได้สัมผัสความรู้สึกนั้น เขาอาจจะจำฝังใจไปเป็นเวลานานก็ได้ เราเลยจะมาแนะนำวิธี พาลูกไปฉีดยา ให้ลูกแฮปปี้ ยิ้มแย้มแจ่มใส ยอมไปฉีดแต่โดยดี
พาลูกไปฉีดยา
นวด นวด นวด
ลองนวดที่บริเวณขาของเจ้าตัวน้อยหลังจากที่ฉีดวัคซีนเสร็จดู มันจะทำให้ความเจ็บบรรเทาความเจ็บจากการที่เข็มโดนผิว ให้ลดลงได้
ทำเป็นตีเนียน
มีงานวิจัยเผยว่า เด็กจะรู้สึกตกใจเมื่อผู้ปกครองแสดงท่าทีตกใจ เพราะฉะนั้นให้คุณพ่อ คุณแม่อยู่นิ่งๆ ตีเนียนดู แต่อย่าทำแบบไม่สนใจลูกเลยคอยปลอบลูกด้วยความรู้สึกรัก แทนที่จะเป็นความรู้สึกผิดต่อลูกจะช่วยให้ผลลัพธ์ออกมาดีกว่า
เบี่ยงเบนความสนใจ
วิธีนี้เรียกได้ว่าเป็นการวัดฝีมือและกึ๋นการหลอกล่อลูกของคุณพ่อคุณแม่เลยก็ว่าได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงทริคเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็สามารถช่วยลดความเจ็บปวดที่ลูกต้องเจอได้ การหลอกล่อที่ได้ผล ก็อย่างเช่น ของเล่นชิ้นใหม่ที่ลูกไม่เคยเห็นไม่เคยมี การชี้ชวนให้ดูรูปภาพบนผนังห้อง ร้องเพลงหรือท่อง ABC หรือ กขค ทำอะไรตลกๆ ให้ลูกดู หรือแม้แต่การเป่าลูกโป่งก็จะช่วยให้ลูกเบี่ยงเบนความสนใจและลืมสิ่งที่กำลังทำไปชั่วขณะได้
พา ลูกไปฉีดยา
ปัดเป่าความเจ็บปวดออกไป
เทคนิคที่จะใช้กับเด็กโต 4-5 ขวบ ไปจนถึง 11-12 ปี ตามงานวิจัยในปี 2010 บอกว่าการไอหรือเป่าก่อนและระหว่างการฉีดวัคซีนจะทำให้ช่วยลดการเจ็บปวดได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่มักจะได้ผลดีเสียด้วย ลองให้ลูกนึกภาพว่ากำลังจะเป่าเทียนหรือเป่าเค้กวันเกิดดูก็ได้ หรือถ้าลูกกลัวมากๆ ลองเป็นการเป่าประทัดที่ดับยากๆ หรือการเป่าเทียนพรรษา ก็น่าลองดูไม่น้อยเหมือนกัน
หลอกล่อด้วยของหวาน
การให้เด็กวัย 1-12 เดือน กินของหวานอย่างเช่น ซูโครสหรือกลูโคสสักเล็กน้อยก่อนการฉีดวัคซีน มีหลักฐานงานวิจัยว่าสามารถช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ มากกว่าเด็กที่ดื่มแต่น้ำหรือไม่ได้กินอะไรเลย
มาทั้งภาพและเสียง
ให้ลูกดูการ์ตูนหรือเล่นเกมส์ก่อนและระหว่างการฉีดวัคซีน เมื่อเด็กๆ กำลังเพลิดเพลินกับตัวการ์ตูน เรื่องราว หรือกำลังลุ้นกับเกมส์ในจอมือถือหรือแทปเล็ต เวลาฉีดยาเพียงแค่ชั่วครู่อาจจะไม่ได้ดึงความสนใจลูกเลยก็ได้ รู้ตัวอีกทีการฉีดวัคซีนก็เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว
พาลูก ไปฉีดยา
ใช้ยาชาแบบทาช่วย
การทายาชาเฉพาะที่จะมีหลักการทำงานคือ ยาจะดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังเพื่อไปยับยั้งการทำงานของระบบประสาท ทำให้บริเวณนั้นรู้สึกชา ไม่เจ็บ แต่ควรทาก่อนฉีดวัคซีนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ตัวยาได้ทำงานก่อน นอกจากนี้ยังมีสเปรย์ผิว ให้รู้สึกเย็นๆ ทำให้ผิวบริเวณนั้นชาเพียงชั่วขณะ ก็สามารถใช้แทนได้เช่นเดียวกัน
เข้มแข็งเข้าไว้นะคุณพ่อ คุณแม่
แม้ว่าลูกจะงอแงเพียงใด ร้องไห้ หรือออกฤทธิ์หนักหนาแค่ไหน คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องยืนยันและหนักแน่น เพราะเด็กๆ ไม่สนใจหรอกว่าการฉีดวัคซีนจะมีข้อดีอย่างใด วัคซีนไม่ใช่ทางเลือกแต่คือสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำคือเข้ามาควบคุมสถานการณ์ให้ได้ก่อนที่สถานการณ์จะบานปลาย
พาลูกไป ฉีดยา
ดูด และดูด เท่านั้น
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนพบว่า จุกหลอกสามารถลดอาการเจ็บปวดของเด็กทารกทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการฉีดวัคซีนได้ ใช้จุกดูดจุ่มน้ำนมคุณแม่หรือน้ำผสมน้ำตาลเจือจาง ให้ลูกดูดก่อน ระหว่าง และหลังการฉีดวัคซีนได้เลยค่ะ หลังจากฉีดวัคซีนเสร็จแล้ว ให้ลูกเข้าเต้าดูดนมคุณแม่ ก็เป็นการช่วยปลอบประโลมลูกได้เหมือนกัน
เรียงลำดับการฉีด
งานวิจัยในปี 2009 พบว่าเด็กทารกจะร้องไห้และเจ็บปวดน้อยลงถ้าฉีดวัคซีน DPTaP-Hib ซึ่งเป็นวัคซีนรวม (คอตีบ โปลิโอ บาดทะยัก ไอกรน และโรคฮิบ) แล้วตามด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม หรือ PCV เมื่อเทียบกับการฉีด PVC ก่อน แล้วตามด้วย DPTaP-Hib
พาลูกไปฉีด ยา
ที่มา health.com , parents.com
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
แม่ท้องฉีดวัคซีน หรือยัง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะปอดอักเสบ
วัคซีนสำหรับทารก ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทย 2562 ลูกต้องฉีดวัคซีนตัวไหนบ้าง วิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน
แพ็คเกจวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ราคาฉีดวัคซีนโรงพยาบาลชั้นนำ กรุงเทพฯ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!