X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 สิ่งที่คิดว่าใช่ อาจไม่ใช่เสมอไป เรื่องจริงของลูกที่พ่อแม่ต้องเจอ

บทความ 5 นาที
10 สิ่งที่คิดว่าใช่ อาจไม่ใช่เสมอไป เรื่องจริงของลูกที่พ่อแม่ต้องเจอ

อะไร คือสิ่งที่คิดว่าใช่ และอาจไม่ใช่เสมอไปนะ ถ้าอยากรู้ ต้องอ่าน!

"สิ่งที่คิดว่าใช่ อาจะไม่ใช่เสมอไป" ที่พูดถึงและเกี่ยวกับลูกนั้นก็คือ เรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ใหญ่ที่เราคิดว่าลูกน่าจะทำได้ แต่พอท้ายที่สุดแล้ว ลูกกลับทำไม่ได้ อีกนัยหนึ่ง สิ่งที่เราคิดว่าลูกไม่น่าจะทำได้ กลับทำได้ง่าย ๆ เสียอย่างนั้น และนี่คือตัวอย่างบางส่วน ที่พ่อแม่ทุกคนจะต้องเจอ

สิ่งที่คิดว่าใช่ อาจไม่ใช่เสมอไป

 

5 สิ่งที่คุณคิดว่าลูกน่าจะทำได้ แต่พวกเขากลับทำไม่ได้

1. เรื่องการควบคุมอารมณ์ บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่า ลูกน่าจะรู้จักควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่านี้นะ ทำไมเรื่องเล็กแค่นี้ ต้องร้องไห้โวยวายทำเป็นเรื่องใหญ่ไปได้ อย่าลืมนะคะว่าลูกยังเด็ก พวกเขายังไม่รู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง การที่พวกเขาร้อง อาจเป็นเพราะพวกเขาก็รู้สึกตกใจกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองในตอนนั้น แต่ไม่สามารถที่จะสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ ใช่ค่ะ... นั่นไม่ใช่เพราะพวกเขาดื้อ แต่เป็นเพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะหยุดมันได้อย่างไร

2. เรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน ทำไมนะ โตป่านนี้แล้ว ยังไม่รู้จักอีกเหรอลูกว่าควรทำอะไร ตอนไหน อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ตื่นเช้ามาก็ต้องแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว แล้วก็ทานข้าว สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ มากเลยใช่ไหมคะ แต่กับเด็ก ที่คาดว่าพวกเขาน่าจะต้องรู้แล้วก็เข้าใจ กลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด กว่าจะจับมาแปรงฟัน อาบน้ำ ทานข้าวหรือพาเข้านอนได้ เล่นเอาพวกเราแทบหมดแรง

3. ตัดสินใจไม่ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด แปลกไหมคะ ที่ลูกรู้ว่าตัวเองชอบอะไร อยากทำอะไร แต่กลับไม่รู้เลยว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา ... ไม่แปลกหรอกค่ะ นั่นเป็นเพราะว่าลูก ยังไม่สามารถเข้าใจเกี่ยวกับผลของการกระทำที่อาจมีผลต่อเนื่องไปถึงพวกเขาในอนาคตได้ ผิดกับพ่อแม่ ที่รู้ว่า การทานบราวนี่สามชิ้นต่อวัน จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง เป็นต้น

4. นักอ่านใจ อย่าไปคาดหวังเลยนะคะ ว่าลูกจะเข้าใจว่า ทำไมการออกไปวิ่งเล่นกลางสายฝนนั้นเป็นสิ่งไม่ดี พวกเขารู้แต่ว่ามันสนุกแล้วก็เย็น ดังนั้นการที่คุณแม่จะคอยบอกเขาว่า อย่าไปออกไปวิ่งเล่นกลางฝนแบบนั้น โดยที่ไม่ให้เหตุผลเขา คงไม่ใช่ความคิดที่ดี ค่อย ๆ อธิบายลูกให้เข้าใจค่ะว่า ทำไมพวกเขาถึงไม่ควรทำเช่นนั้น และถ้าหากพวกเขาทำเช่นนั้น จะเกิดอะไรขึ้น

5. ชั่วโมงเร่งด่วน ใช่ค่ะ ผู้ใหญ่อย่างเราพอได้ยินคำนี้ ก็รู้แล้วว่า นาทีต่อจากนี้ ฉันจะไม่สามารถทำอะไรอืดอาดได้เลย ทุกอย่างจะต้องรีบและรวดเร็วที่สุดที่เท่าที่จะทำได้ แต่เอ้ะ ทำไมนะ พอมาบอกลูกว่า "ลูกจ๋า ... สายแล้วนะ เราต้องรีบไปแล้ว ไม่งั้นอาจสายได้" ค่ะ! ผ่านไปห้านาที เรายังอยู่กันที่เดิม เหมือนลูกไม่รู้ว่า เรารีบ หรือว่าลูกไม่เข้าความหมายของคำนี้กันแน่นะ พวกเขายังทำตัวเหมือนเดิม หรือเผลอ ๆ อาจจะช้ากว่าเดิมอีกเสียด้วย

คลิกเพื่ออ่าน 5 สิ่งที่คุณคิดว่าลูกทำไม่ได้ แต่พวกเขากลับทำได้ ๆ ที่หน้าถัดไปค่ะ

 

สิ่งที่คิดว่าใช่ อาจไม่ใช่เสมอไป

5 สิ่งที่คุณคิดว่าลูกทำไม่ได้ แต่พวกเขากลับทำได้

1. เล่นคนเดียว เคยกังวลว่า ลูกจะสามารถเล่นคนเดียวได้หรือไม่ พอให้เวลาเขาได้ปรับตัวและใช้เวลาอยู่กับตัวเองสักพัก ผลที่ออกมา กลับเหลือเชื่อ!  พวกเขาสามารถหากิจกรรม เล่นเกมส์หรืออ่านหนังสือคนเดียว ได้นานเกือบชั่วโมงเลยเสียด้วย...ดีใจใช่ไหมละคะ ที่ผลลัพธ์ออกมาดีเช่นนี้ แต่อย่างไรก็อย่าประมาทโดยเด็ดขาด อันตรายอยู่แค่เอื้อม ถึงแม้ลูกจะสามารถเล่นคนเดียวได้ ก็อย่าให้เขาอยู่นอกสายตาของเราเป็นอันขาด

2. การนอนหลับ เด็ก ๆ นี่ก็แปลก พอให้นอนก็ไม่อยากนอน แต่พอให้ตื่นก็ไม่อยากตื่น นอนได้นอนดี นอนไปเถอะ ทำเสียงดังก็แล้ว ปลุกก็แล้ว คาดว่าเสียงเหล่านี้จะไปรบกวนเวลาหลับของพวกเขาได้ ผิดถนัด พวกเขายังคงนอนหลับสนิทเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน

3. ให้รู้จักการรอคอย เวลาลูกอยากได้อะไร หรืออยากทำอะไร ตอนที่เรายุ่ง ๆ อยู่ เคยคิดเหมือนกันนะว่า การที่เราบอกให้ลูกรู้จักคอยนั้น พวกเขาจะทำได้หรือเปล่า เพราะขนาดเวลาปกติ ยังไม่อยู่นิ่งเลย แล้วถ้าจู่ ๆ มาบอกให้นั่งคอยหรือนั่งนิ่ง ๆ พวกเขาจะทำได้เหรอ แต่หลังจากทดสอบและฝึกฝนทุกวัน พวกเขากลับทำได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเวลาสั้น ๆ แค่หนึ่งนาทีก็เถอะ หากฝึกฝนทุกวัน พวกเขาจะต้องสามารถอดทนรอคอยได้นานกว่านี้แน่ ๆ

4. การเก็บข้าวของเครื่องใช้ มีพ่อแม่ท่านไหนกำลังประสบปัญหาลูกเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บกันบ้างไหมคะ ถ้าใช่  คุณอาจจะคิดว่าลูกชอบรื้อ เล่นอย่างเดียวแล้วไม่ยอมเก็บ แล้วคนที่เก็บก็ต้องเป็นคนทุกครั้ง ลองปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ดูค่ะ จากที่เคยเก็บคนเดียว ค่อย ๆ ชวนลูกมามีส่วนร่วมในการทำด้วย แต่อย่าชวนแค่ครั้งเดียวนะคะ ชวนทุกครั้งที่พวกเขาเล่นเสร็จ ลองหาวิธีโน้มน้าวแบบน่ารัก ๆ ดู แล้วคุณจะได้เห็นสิ่งที่คุณไม่คิดว่าจะได้เห็นก็เป็นได้

5. ทำในสิ่งที่ยาก เพราะลูกเรายังเด็ก เราก็มักจะคิดว่า ลูกคงจะไม่สามารถช่วยเราทำอะไรได้มากนัก ... ว่าแต่คุณลองแล้วหรือยังคะ ยกตัวอย่างเด็กสามขวบ จริง ๆ แล้วเด็กในวัยนี้ เริ่มทำอะไรที่ยากสำหรับเขาได้แล้วละค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยทำงานบ้าน การยกจานชาม ช่วยยกกับข้าว หรือหยิบขวดน้ำเป็นต้น ลองให้เขาทำดูสักครั้งสองครั้ง แล้วคุณจะเห็นภาพน่ารัก ๆ จากลูก ที่คุณเองก็ไม่คิดว่าพวกเขาจะทำได้ก็ได้นะคะ

ที่มา: A Mother far from home

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

งานบ้านง่าย ๆ สำหรับลูกอายุ 2-8 ขวบ

5 เทคนิคโละของให้เรียบ จัดระเบียบบ้านให้เลิศ!

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 10 สิ่งที่คิดว่าใช่ อาจไม่ใช่เสมอไป เรื่องจริงของลูกที่พ่อแม่ต้องเจอ
แชร์ :
  • 5 สิ่งที่พ่อแม่คิดว่าลูกทำได้ อาจไม่ใช่เสมอไป!

    5 สิ่งที่พ่อแม่คิดว่าลูกทำได้ อาจไม่ใช่เสมอไป!

  • 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

    4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 5 สิ่งที่พ่อแม่คิดว่าลูกทำได้ อาจไม่ใช่เสมอไป!

    5 สิ่งที่พ่อแม่คิดว่าลูกทำได้ อาจไม่ใช่เสมอไป!

  • 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

    4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ