มาดู 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกรักคุณ แม่จ๋าหนูรักแม่ที่สุด
มาดู 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกรักคุณ แม่จ๋าหนูรักแม่ที่สุด
บางครั้งคุณอาจจะสงสัยว่าทารกรักคุณหรือไม่ เพลงกล่อมเด็กหรือท่าทางตลก ๆ ที่คุณทำให้ลูกดู ลูกชอบหรือเปล่า? นี่เป็น 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเจ้าตัวเล็กรักคุณ
1. สบตา
สบตา
ลูกเคยมองตาคุณ เหมือนพยายามจะมองให้ทะลุลงไปถึงข้างในหรือเปล่า? นั่นเป็นหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเขารู้สึกดึงดูดเข้าหาคุณ และเขากำลังพยายามจะรู้จักคุณมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเด็กแรกเกิดจะมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่พวกเขาจะพยายามเบนเข้าหาใบหน้าของคุณ และเมื่อคุณอุ้มเขา เขาจะสามารถเห็นองค์ประกอบหลัก ๆ ของใบหน้า เช่น ตา จมูก ปาก ของคุณได้ เด็กทารกจะพยายามเลียนแบบสีหน้าของคุณ ถ้าคุณเห็นเด็กกำลังจ้องหน้าคุณอยู่ ลองแลบลิ้นดู เด็กจะพยายามเลียนแบบ การทำหน้าทำตาต่าง ๆ ให้เด็กเลียนแบบจะทำให้เด็กรู้สึกใกล้ชิดกับคุณ
2. หันหาคุณ
รู้หรือไม่ว่าทารกสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่อายุ 20 สัปดาห์ในครรภ์ และหัวใจของเด็กที่อยู่ในครรภ์จะเต้นช้าลงเมื่อได้ยินเสียงคุณแม่พูด? ถูกต้องแล้วค่ะ แม้ว่าเด็กจะยังอยู่ในท้อง แต่เสียงของคุณก็สามารถทำให้เขารู้สึกผ่อนคลาย นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเด็กจึงมักจะหันหาเสียงที่คุ้นเคย เช่น ถ้าคุณและคุณแม่ของคุณกำลังคุยกันขณะที่คุณแม่ของคุณกำลังอุ้มเขาอยู่ เขาก็จะหันหาคุณ แม้ว่าคุณยายจะกำลังอุ้มเขาอยู่ก็ตาม
3. เปิดปาก
รู้หรือไม่ว่าทารกมักคิดว่าคุณตัวหอม (แม้ว่าคุณจะยังไม่ได้อาบน้ำก็ตาม) งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าเด็กทารกสามารถจำมารดาของตัวเองได้เพียงแค่ได้กลิ่น ในงานวิจัยชิ้นหนึ่ง นักวิจัยได้ให้เด็กทารกดมกลิ่นแผ่นตัวอย่างที่แช่ไว้ในน้ำนมมนุษย์ และเด็กจะขยับปากมากเป็นพิเศษเมื่อได้กลิ่นแผ่นน้ำนมของมารดาของตัวเอง กลิ่นของคุณ ซึ่งต่างจากกลิ่นของผู้หญิงคนอื่น ๆ จะทำให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
4. ละลายในอ้อมแขน
ต่อให้คุณไม่รู้ว่าลูกชอบได้ยินเสียง ได้กลิ่น หรือมองคุณ คุณก็จะรู้ได้ทันทีว่าเขารักคุณจากท่าทางที่เขานอนสบายอยู่ในอ้อมกอดคุณ แต่เด็กบางคนก็อาจไม่ได้กล่อมง่ายเหมือนเด็กคนอื่น ๆ อย่าวิตกไป แม้ว่าลูกน้อยอาจจะไม่ได้ผ่อนคลายทันทีที่คุณอุ้มเขา นั่นไม่ได้แปลว่าเขาเกลียดคุณ แต่หมายความว่าคุณยังไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไรกันแน่ ให้เวลาตัวเองได้ลองผิดลองถูก เชื่อหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ทารกรู้สึกดีที่คุณพยายามเอาใจใส่เขาต่างหาก
5. ยิ้ม
เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 6-12 สัปดาห์ อาจจะมีบางจังหวะที่เขายิ้มให้คุณแบบเต็ม ๆ ซึ่งจะทำให้แม้แต่คุณแม่ที่เฮี้ยบที่สุดต้องละลาย แพทย์เรียกการยิ้มแบบนี้ว่า “ยิ้มเข้าสังคม” ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองหรือเป็นการยิ้มที่ต้องการให้ผู้อื่นเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง พูดอีกนัยหนึ่งคือ ทารกพยายามจะสื่อสารกับคุณ เมื่อคุณยิ้ม และเด็กยิ้มตอบ เด็กจะรู้สึกผูกพันกับคุณยิ่งขึ้น
6. พูดอ้อแอ้
พูดอ้อแอ้
ประมาณ 2 เดือนหลังจากที่ทารกยิ้มได้ เขาจะเริ่มคุยกับคุณ แม้จะไม่เป็นภาษา แต่ก็จะทำให้คุณรู้สึกมีความสุขเหมือนคุยกับเพื่อนสนิท ทารก “คุย” โดยการออกเสียงอ้อแอ้ คล้ายเสียงสระต่าง ๆ ที่ฟังไม่เป็นคำ แต่ถ้าคุณทำเสียงโต้ตอบกับเขา คุณก็เริ่มคุยกับเขารู้เรื่องแล้วล่ะ การพูดสื่อสารกับทารกจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูดและการฟังที่ดี เพราะเขาจะฟังและเลียนแบบคำที่คุณพูด เขาแค่อยากแสดงออกให้คุณรู้ว่าเขารักคุณมากแค่ไหน
7. ออกอาการ “ดีใจ” เมื่อเจอคุณ
เมื่อทารกอายุได้ 6 เดือน เขาจะสามารถบอกความแตกต่างระหว่างคนดี กับคนที่ดีที่สุด (คุณและสามีของคุณ) ได้ ลูกของคุณอาจจะร่าเริงปกติเมื่อเพื่อนสนิทของคุณอุ้ม แต่ เขาจะแสดงท่าทางดีใจทันทีที่เห็นคุณเข้ามาในห้อง เพราะเด็กสามารถแยกแยะคนที่เขาใกล้ชิด กับคนที่เขาชอบทั่วไป แต่อาจจะไม่ได้ใกล้ชิด อีกนัยหนึ่งคือนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเขาอาจจะชอบคนอื่น แต่เขารักคุณและเห็นคุณเป็นคนที่สำคัญที่สุด
8. หัวเราะ
หัวเราะ
ไม่มีอะไรยอดเยี่ยมไปกว่าเสียงหัวเราะของทารก แม้ว่าคนอื่น ๆ อาจจะทำให้ลูกคุณหัวเราะได้ แต่ไม่มีใครรู้จักเขาดีไปกว่าคุณ คุณรู้ว่าเขาชอบถูกจั๊กกะจี้เท้ายังไง เขาอาจจะเริ่มหัวเราะตั้งแต่คุณตั้งท่าจะจั๊กจะจี้เลยด้วยซ้ำ นั่นคือความผูกพันที่แท้จริง
9. งอแงเมื่อถูกแยกห่าง
เมื่อเด็กอายุประมาณ 9 เดือนถึง 1 ปี เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มร้องไห้เมื่อต้องถูกทิ้งไว้กับพี่เลี้ยง (ต่อให้พี่เลี้ยงคือคุณย่าคุณยายก็ตาม) แม้ว่าคุณจะทำใจลำบากเมื่อต้องเห็นลูกร้องไห้ แต่ขอให้รู้ไว้ว่านั่นเป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าเขารักคุณ ตอนแรก ๆ ทารกจะกังวลว่าคุณอาจจะไม่กลับมาหาเขา แต่คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด หรือกังวล เพราะสุดท้ายเขาก็จะรู้ว่าคุณจะกลับมาหาเขาทุกครั้ง สักพักเด็กก็จะหยุดร้องไปเอง
10. รายงานตัว
รายงานตัว
เมื่อทารกเริ่มโตขึ้นถึงวัยคลาน เขาอาจจะคลานไปทั่วบ้านด้วยความอยากรู้อยากเห็น แต่คุณเคยสังเกตไหมว่า เขามักจะกลับมาอยู่ข้าง ๆ คุณบ่อย ๆ หรือเขาพยายามมองมาที่คุณเมื่อต้องเจอกับสิ่งของหรือสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย การ “รายงานตัว” ดังกล่าวคืออาการปกติของเด็กที่บ่งบอกถึงความ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา: the bump
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีเช็ดตาทารก ทำความสะอาดอย่างไรให้ถูกวิธี
ถุงเท้าทารก รองเท้าเด็กอ่อน ยังเดินไม่ได้ จะให้ใส่ทำไม?
ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!