X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 เรื่องแปลกแต่จริงของทารกแรกเกิด

บทความ 5 นาที
10 เรื่องแปลกแต่จริงของทารกแรกเกิด

อะไรนะ ที่เป็นเรื่องแปลกแต่จริงของทารกแรกเกิดที่คุณแม่อย่างเราควรทราบ...

ทารกแรกเกิด

1. โรคผิวหนังอักเสบเซบเดิร์ม เป็นโรคผื่นผิวหนังที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด แม้แต่แพทย์ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า โรคนี้เกิดจากอะไร แต่มีการศึกษากล่าวว่า น่าจะเกิดจากผิวมัน เชื้อรา ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ หรือมีสิ่งต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้น ได้แก่ การระคายเคืองของผิวหนังจากการเกา หรือขัดถู การสระผมด้วยแชมพูที่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองของหนังศรีษะ หรือสระผมด้วยน้ำร้อน เป็นต้น โดยโรคที่ว่านี้ จะพบได้ในบริเวณหนังศรีษะ หน้าและลำตัว หากคุณพบว่าลูกมีอาการดังกล่าว ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ลองปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับลูกก่อน ยกตัวอย่างเช่นยาสระผม แต่ถ้าทำแล้วไม่หาย และดูเหมือนว่าลูกจะมีอาการเพิ่มมากขึ้น หรือเริ่มลาม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

2. อุจจาระของลูก ตอนอยู่ในครรภ์ คุณอาจจะคิดว่า อุจจาระลูก เป็นสิ่งสกปรก แต่จริง ๆ แล้ว อุจจาระของทารกแรกเกิดเป็นอะไรที่ไม่สกปรกมากเหมือนกับที่คิด เพราะพวกเขาไม่ได้ทานอะไรนอกจากนมเท่านั้น ซึ่งสิ่งที่คุณควรจะกังวลนั้นไม่ใช่เรื่องความสกปรกหรือสะอาด แต่ควรเป็นสีของอุจจาระมากกว่า เพราะสีของอุจจาระนั้น สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของทารกได้ และเมื่อใดก็ตามที่สีของอุจจาระเป็นสีคล้ำผิดปกติ มีมูกเลือดปน หรือมีสีขาวซีด คุณพ่อคุณแม่ต้องห้ามนิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนั่นคือสัญญาณบอกถึงความผิดปกติค่ะ

3. มีเต้านมโต เป็นเรื่องปกติที่ภาวะนี้จะสามารถเกิดได้ในเด็กแรกเกิด ทั้งเพศหญิงและเพศชาย คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ เพราะเต้านมของน้องจะยุบหายไปได้เองภายในสองสัปดาห์ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนที่น้องได้รับมาจากคุณแม่ผ่านทางสายสะดือนั่นเอง ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวเดียวกับที่กระตุ้นให้เกิดประจำเดือน ขอเพียงอย่าไปบีบหรือจับกระตุ้น เพราะนั่นอาจเป็นอันตรายได้ แต่ถ้าหากน้องมีไข้จากอาการดังกล่าว จงอย่าได้นิ่งนอนใจ ให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาทันที

4. ชอบทำเสียงครวนครางหรือส่งเสียงแปลก ที่เป็นเช่นนี้นั่นเป็นเพราะ ทารกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่มาตลอด เมื่อเขาเกิดมาก เขาจะรู้สึกว่าโลกใบใหม่นี้แปลกใหม่และกว้างใหญ่สำหรับเขาเป็นอย่างมาก ดังนั้น คุณแม่ควรที่จะให้การดูแลเขาเป็นพิเศษด้วยการสัมผัส กอด หอมและพูดกับลูกเบา ๆ ว่าคุณแม่อยู่ที่นี่ เขาจะได้รู้สึกอุ่นใจมากขึ้น แต่หากเสียงครางที่ว่านั้น เป็นการส่งเสียงแปลก ๆ เหมือนกับหายใจไม่สะดวก คุณแม่ไม่ควรเพิกเฉยนะคะ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติก็ว่าได้

5. ลูกจามบ่อย การที่ทารกแรกเกิดจะชอบจามบ่อย ๆ นั่นไม่ได้หมายความว่า น้องป่วยหรือเป็นหวัดหรอกนะคะ แต่เป็นเพราะว่า ร่างกายกำลังหาทางทำให้ทางเดินหายใจนั้นโล่งสบายมากขึ้น เว้นแต่ ถ้าลูกมีไข้ น้ำมูก หรืองอแงมากผิดปกติ นั่นแหละ คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์ค่ะ เพราะน้องอาจจะไม่สบายก็เป็นได้

6. ชอบกระตุก ผวา หรือตกใจง่าย ตลอดเวลาเก้าเดือนที่ลูกอยู่ในท้อง ลูกก็จะรู้สึกว่าปลอดภัยอยู่ในบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่ง แต่พอเขาออกมาสู่โลก ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะรู้สึกตกใจกับเสียงรอบข้าง แม้ว่าจะเป็นเสียงที่เบาก็ตาม ลูกก็อาจจะมีอาการกระตุก ผวา หรือตกใจได้ง่าย อาการดังกล่าวนี้เป็นอาการปกติค่ะ เนื่องจากลูกเริ่มมีการพัฒนาระบบประสาทและการได้ยินมากขึ้น ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะอาการนี้จะสามารถหายไปได้เองเมื่อลูกมีอายุสามถึงสี่เดือนขึ้นไป

7. รูปทรงของศรีษะทารก เนื่องจากกระโหลกศรีษะของทารกยังบาง จึงไม่แปลกถ้าหากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปทรงไป ยกตัวอย่างเช่น หัวแบน เป็นต้น ถ้าหากคุณแม่อยากให้น้องไม่มีศรีษะแบน คุณแม่ก็ควรที่จะให้น้องนอนตะแคง สลับข้างไปมา ส่วนการนอนคว่ำนั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ว่าอาจจะเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กสามเดือนแรก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องเฝ้าลูกอย่างใกล้ชิดเลยละค่ะ

8. อวัยวะเพศบวม เนื่องจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทำให้ทารกแรกเกิดทั้งเพศหญิงเพศชายนั้น อาจมีอาการบวมหรือใหญ่กว่าปกติ สำหรับทารกเพศหญิงนั้น จะสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับเพศชาย หากถุงอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งใหญ่ผิดปกติ ก็ต้องใช้เวลานานหน่อย ซึ่งอาจจะเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้ ทั้งนี้ ทารกเพศชายที่คลอดในเวลาที่ครบกำหนดร้อยละ 3 เกิดมาโดยที่มีอัณฑะข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างยังไม่อยู่ในถุงอัณฑะ เด็กทารกชายที่คลอดก่อนกำหนดร้อยละ 30 มีปัญหานี้ อัณฑะที่ยังไม่หล่นลงไปในถุงอัณฑะจะย้ายลงไปในถุงอัณฑะเองได้ในช่วงเดือนแรก ๆ หลังคลอด หากภายในเวลาหนึ่งปีแล้วอัณฑะยังไม่หล่นลงไปในถุงอัณฑะ ให้รีบปรึกษาแพทย์

9. มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน อาการเลือดออกเหมือนมีประจำเดือนหรือมีตกขาวในทารกแรกเกิดหรือช่วง 2 เดือนแรกนั้นเป็นเรื่องปกติ สาเหตุเกิดจากการที่ฮอร์โมนของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากคุณแม่ สามารถผ่านทางรกไปสู่ตัวลูกได้ โดยที่ในเด็กแรกเกิดนั้นตับยังทำการสลายฮอร์โมนได้ไม่ดีพอ ทำให้ในช่วงแรกคลอดเด็กบางคนที่ได้รับฮอร์โมนมาก หรือร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมน จะมีร่างกายเหมือนวัยสาว กล่าวคือ ช่องคลอดอาจจะมีสีคล้ำขึ้น มีตกขาว หรือมีเลือดออกได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปใน 1- 2 เดือน ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของเด็กจะกำจัดฮอร์โมนที่ได้จากคุณแม่เมื่อไหร่ โดยเฉลี่ยคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกประมาณ 2 เดือน

10. ตาเหล่หรือเข เนื่องการจากการปรับโฟกัสสายตา แก้วตา เลนส์ตา และการเคลื่อนไหวสายตาของทารก ยังไม่สามารถปรับตัวได้ดีพอในตอนแรก อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกว่าลูกของเราตาเหล่หรือตาเข ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะลูกอาจจะกำลังขมวดสายตา เพื่อเพ่งมองวัตถุใดอยู่ และอาการดังกล่าวจะหายได้เอง เมื่อทารกมีอายุได้สามหรือสี่เดือน แต่ถ้าลูกไม่ดีขึ้น หรือมีอาการตาเหล่หรือเขตลอดเวลา แนะนำให้คุณแม่รีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะอาการดังกล่าวจะดีขึ้นได้หากเรารักษาพวกเขาตั้งแต่เนิ่น ๆ

ที่มา: The Bump

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ลูกหัวเบี้ยวทำไงดี

4 อาการบาดเจ็บของทารกแรกเกิดจากการคลอด

theAsianparent Community

 

 

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 10 เรื่องแปลกแต่จริงของทารกแรกเกิด
แชร์ :
  • 10 สิ่งที่ทารกแสดงออกตอนเกิด ที่ใครเห็นก็ต้องรักต้องหลงแน่นอน

    10 สิ่งที่ทารกแสดงออกตอนเกิด ที่ใครเห็นก็ต้องรักต้องหลงแน่นอน

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 10 สิ่งที่ทารกแสดงออกตอนเกิด ที่ใครเห็นก็ต้องรักต้องหลงแน่นอน

    10 สิ่งที่ทารกแสดงออกตอนเกิด ที่ใครเห็นก็ต้องรักต้องหลงแน่นอน

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ