X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

6 วิธีรับมือเมื่อเจอ "โรคดื้อและต่อต้าน" ของลูก

บทความ 3 นาที
6 วิธีรับมือเมื่อเจอ "โรคดื้อและต่อต้าน" ของลูก

พอลูก ๆ เริ่มโตขึ้นและมีความคิดเป็นของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเจอกับอาการเริ่มดื้อของลูก ซึ่งจริง ๆ แล้วพฤติกรรม “ดื้อ” เป็นเรื่องธรรมดาของเด็ก ๆ แต่ถ้าลูกเข้าข่ายดื้อต่อต้านแบบมีอารมณ์ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราดที่รุนแรง โมโหง่าย ชอบเถียงพ่อแม่เป็นประจำ พฤติกรรมนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น โรคดื้อและต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) หรือที่เรียกว่า โอดีดี (ODD)

สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้ให้นิยามโรคดื้อและต่อต้านนี้ว่า “เป็นรูปแบบพฤติกรรมต่อเนื่องจากการไม่เชื่อฟัง และแสดงออกด้วยอารมณ์โกรธเป็นหลัก รวมถึงดื้อต่อต้านกับพ่อแม่เป็นประจำในระดับที่มากเกินกว่าเด็กปกติทั่วไป สังเกตจากภายนอกง่าย ๆ คือเด็กจะแสดงอาการดื้อและโกรธง่าย” ซึ่งอาการนี้มักจะพบในเด็กที่อายุ 8 ปีขึ้นไป เด็กที่มีภาวะโรคดื้อต่อต้านเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่า

โรคดื้อต่อต้าน

เด็กที่เข้าข่ายภาวะโรคดื้อและต่อต้านอาจมีอาการ

  • ปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งพ่อแม่หรือตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่โรงเรียน
  • มีความอดทนต่ำ โมโหง่าย ขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ก้าวร้าว และมีอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  • ชอบเถียงพ่อแม่หรือคนที่โตกว่า
  • ตั้งใจก่อกวน แสดงพฤติกรรมเพื่อให้คนอื่นเกิดความรำคาญ และมักจะรู้สึกรำคาญในการกระทำของคนอื่นได้ง่ายเช่นกัน
  • ไม่ยอมรับผิด และกล่าวโทษคนอื่นในการกระทำผิดของตัวเองแทน

โรคดื้อต่อต้าน

Advertisement

สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นโรคดื้อและต่อต้าน

อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางร่างกาย เช่น มีความผิดปกติของปริมาณสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทบางชนิดที่อยู่ในปริมาณที่ไม่สมดุลหรือไม่ทำงานตามปกติ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านจิตใจ

หากพบว่าลูกมีอาการเหล่านี้ต่อเนื่องกันนานกว่า 6 เดือน อาจนำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัวหรือที่โรงเรียน และส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกทำให้กลายเป็นเด็กที่มองโลกในแง่ร้าย และขาดความมั่นใจในตนเองได้ นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านบ่อยครั้งอาจมีปัญหาทางจิตและพฤติกรรมร่วมด้วย อาทิเช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit/hyperactivity disorder) วิตกกังวล (Anxiety) ซึมเศร้า (Depression) เป็นต้น

การเลี้ยงดูลูกด้วยวิธีการที่เหมาะสม จึงเป็นการเตรียมรับมือและป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกมีภาวะโรคดื้อและต่อต้านเกิดขึ้น

วิธีรับมือเมื่อเจอ “โรคดื้อและต่อต้าน” ของลูก

1.พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในสิ่งที่ต้องการให้ลูกปฏิบัติตาม

2.หลีกเลี่ยงการใช้วิธีออกคำสั่งกับลูกมากเกินไป

3.ควรหากิจกรรมทำร่วมกับลูกทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เวลาอยู่ด้วยกันกับลูก และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัว

4.กำหนดกิจกรรมหรือสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูกทำ เช่น การมอบหมายให้ลูกได้ทำงานบ้าน เริ่มจากงานง่าย ๆ ที่ลูกสามารถทำได้ และเพิ่มยากขึ้นตามลำดับที่เหมาะสมกับวัย

5.สร้างกติกา ข้อกำหนดที่เหมาะสม และบทลงโทษอย่างชัดเจนและมีเหตุผลเมื่อลูกทำผิด

6.ชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของลูกด้วยการชมอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ภูมิใจที่ลูกรู้จักเก็บของด้วยตัวเอง หรือช่วยแม่ทำงานบ้านโดยไม่ต้องร้องขอ

วิธีเหล่านี้เป็นการช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นได้อีกทางหนึ่งหากพบว่าลูกมีภาวะโรคดื้อและต่อต้าน ซึ่งในระยะแรกอาจพบว่าลูกยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เต็มใจ แถมยังมีพฤติกรรมรุนแรงต่อการมีข้อจำกัดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น แต่หากพ่อแม่ควรมีความอดทนและใช้ความพยายามอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรับมือและเข้าอกเข้าใจลูก ยังไงลูกก็มีโอกาสที่จะดื้อน้อยลง และมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น เป็นเด็กน่ารักที่มีสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและคนรอบข้างอย่างดีขึ้นได้.

Source www.taamkru.com

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกเป็นโรคเสพติดอาหารอยู่หรือเปล่า
“โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง” ระบาดหนัก ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น

theAsianparent Community

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 6 วิธีรับมือเมื่อเจอ "โรคดื้อและต่อต้าน" ของลูก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว