X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แผลผ่าคลอด ดูแลแผลอย่างไร ให้ไม่เป็นแผลนูนแดง หมดห่วงเรื่องคีลอยด์

บทความ 3 นาที
แผลผ่าคลอด ดูแลแผลอย่างไร ให้ไม่เป็นแผลนูนแดง หมดห่วงเรื่องคีลอยด์

แผลผ่าคลอด อีกเรื่องหนึ่งที่ว่าที่คุณแม่หลาย ๆ คนเป็นกังวล ว่าแผลจะใหญ่ จะน่ากลัวมั้ย ในวันนี้มาดูกันว่าต้องดูแลแผลอย่างไร ให้ไม่เป็นแผลนูนแดง หมดห่วงเรื่องคีลอยด์

แม้ว่าการผ่าคลอดนั้นจะช่วยให้คุณแม่ไม่ต้องเจ็บปวดในตอนคลอด แต่หลังจากคลอดเสร็จแล้วจะเกิดแผลที่ต้องดูแลรักษา ซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องใส่ใจและดูแล แผลผ่าคลอด ให้ดีเป็นพิเศษ เพราะหากดูแลไม่ดีแผลอาจเกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ แผลแยกต้องเย็บใหม่ และที่สำคัญ อาจทำให้เกิดแผลนูนแดงหรือคีลอยด์ ที่ไม่มีคุณแม่คนไหนอยากให้เกิดขึ้นแน่ ๆ ค่ะ

วิธีการดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลเนียนเร็ว

แผลผ่าคลอด

 

โดยปกติแล้วแผลผ่าคลอดนั้นจะใช้เวลาประมาณ 2-12 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน ซึ่งระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปตามแต่ตัวบุคคลและวิธีการเย็บแผล ซึ่งในวันนี้เราได้นำวิธีดูแลแผลผ่าคลอด ที่จะช่วยให้แผลผ่าคลอดหายเร็วขึ้น บรรเทาอาการเจ็บแผล และช่วยลดโอกาสเกิดแผลเป็นนูนแดงหรือคีลอยด์ ดังนี้ค่ะ

  • อย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะ คุณแม่ห้ามยกของหนักเด็ดขาดค่ะ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก
  • รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง วิธีที่รวดเร็วก็คือ การฉีดละอองน้ำเพื่อล้างทำความสะอาด ทำวันละ 2-3 ครั้งและเช้ดให้แห้งอย่างเบามือ
  • หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท เช่น อาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ในบางกลุ่มอย่าง อาหารทะเล อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้แผลหายช้า
  • รับประทานโปรตีน เพื่อช่วยให้แผลผ่าคลอดประสานไวขึ้น ที่สำคัญ สามารถรับประทานไข่และนมได้นะคะ ไม่ได้มีผลเสียใด ๆ ทางการแพทย์ค่ะ
  • ต้องขยับตัวบ้าง แม้หลังผ่าคลอดจะเจ็บมาก แต่ถ้าหากไม่เคลื่อนไหวอาจทำให้แผลตึง เกิดเป็นพังผืดเกาะยึดติดอวัยวะภายใน ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมาในภายหลังค่ะ
  • ทาครีมเมื่อแผลแห้ง หลังจากที่แผลแห้งแล้วหากพบว่าเริ่มมีรอบแผลเป็น ให้ทาครีมที่มีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามินอีเพื่อบรรเทาค่ะ

คีลอยด์กับผลกระทบต่อการให้นมลูก

แผลผ่าคลอด

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การดูแลแผลผ่าคลอดเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรใส่ใจ นั่นเป็นเพราะว่า การรักษาแผลนูนแดงหรือคีลอยด์นั้น ส่งผลกระทบต่อการให้นมลูกค่ะ เพราะยาฉีดเสตียรอยด์นั้นมีผลต่อน้ำนมแม่ ทำให้คุณแม่ไม่สามารถฉีดหรือรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ในการรักษาคีลอยด์ได้ สามารถทาผิวหนังภายนอกได้อย่างเดียว ดังนั้นการดูแลรักษาแผลให้หายเร็ว ไม่มีปัญหาเรื่องคีลอยด์ จึงเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้

น้ำนมแม่นั้น คืออาหารที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กผ่าคลอด เพราะพวกเขาต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ซึ่งในน้ำนมแม่นั้น มีพรีไบโอติก อาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ จุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติก ที่ทำงานสัมพันธ์กันแบบ ซินไบโอติก (Synbiotic) ช่วยให้แข็งแรง ระบบการย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของลูกทำงานได้ดี ส่งผลให้มีพัฒนาการที่ต่อเนื่อง ทำให้ลูกน้อยพร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ป่วยง่าย แข็งแรง สมวัยค่ะ

 

Ref.

pobpad.com

honestdocs.co

th.theasianparent.com

hifamilyclub.com/

amarinbabyandkids.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • แผลผ่าคลอด ดูแลแผลอย่างไร ให้ไม่เป็นแผลนูนแดง หมดห่วงเรื่องคีลอยด์
แชร์ :
  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว