X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้! “เลี้ยงลูกให้เป็นทรพี (โดยไม่เจตนา)”

บทความ 3 นาที
เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้! “เลี้ยงลูกให้เป็นทรพี (โดยไม่เจตนา)”

พ่อแม่ทุกคนรักลูก แต่ความรักลูกที่ไม่ถูกทาง ก็อาจจะเป็นการเลี้ยงลูกผิด ๆ แบบไม่ได้เจตนา กลับกลายเป็นวิธีการเลี้ยงลูกแบบส่งเสริมให้เป็น “ลูกทรพี” และมาทำร้ายความรู้สึกของพ่อแม่ให้เจ็บปวด

ความหมายของ “ลูกทรพี” ตามพจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ลูกอกตัญญูที่ทำร้ายพ่อแม่ของตนเอง ซึ่งไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากเจอ หรืออยากเลี้ยงลูกให้กลายมาเป็นคนแบบนี้

เลี้ยงลูกให้เป็นทรพี (โดยไม่เจตนา)

โดย ศ.นพ. วิทยา นาควัชระ ได้ยกกรณีศึกษาของ 2 ครอบครัว พร้อมเล่าประสบการณ์ที่ได้รับมาเพื่อจะได้เป็นตัวอย่างและอุทาหรณ์สำหรับการเลี้ยงลูกให้กับพ่อแม่ยุคใหม่ ไม่ให้อีกหลายครอบครัวต้องพบเจอในเหตุการณ์ที่คล้าย ๆ กับเรื่องนี้

ครอบครัวแรก พ่อแม่ดีมีการศึกษา พ่อจบปริญญาเอก แม่จบปริญญาโท การงานดี ฐานะการเงินดี แต่ทำงานหนัก ทั้งคู่มีลูกชาย 2 คน คนโตอายุ 14 ปี คนเล็กอายุ 9 ปี ลูกทั้งคู่ดูเหมือนจะน่ารักมาตลอด ได้เรียนในโรงเรียนที่มีชื่อมากแห่งหนึ่ง ถึงแม้การเรียนไม่เก่ง แต่เข้าสังคมได้ พูดเก่ง กีฬาเก่ง

ภายหลังพ่อแม่เริ่มปวดหัว ลูกเริ่มไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน ลูกคนโตเริ่มก้าวร้าว พ่อแม่ว่าอะไรก็เถียง หรือไม่สนใจ ครั้งล่าสุด  ลูกชายเถียงยอกย้อนพ่อ เถียงจนพ่อทนไม่ไหวเอามือตีลูกชาย 1 ที ลูกลุกขึ้นมาเตะพ่อ 1 ที แล้วผลักพ่อแถมเดินหนีออกจากบ้านไปเลย

เหตุการณ์นี้ผู้เป็นพ่อได้บอกว่า เป็นเพราะไม่เคยลงโทษลูกมาก่อนเลย จึงไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะตั้งใจว่าจะเลี้ยงลูกด้วยการไม่ลงโทษเลย ครั้นเมื่อลูกเริ่มโตและเห็นว่าลูกทำผิดเรื่อย ๆ ไม่ยอมอยู่ในโอวาท พอเริ่มมาลงโทษลูกตอนนี้ ลูกก็ไม่ยอมรับ แถมยังสู้กลับทำร้ายพ่อ และหนีไปเฉย ๆ จะให้สู้กับลูกก็ทำไม่ได้

Advertisement

ครอบครัวที่สอง พ่อเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แม่เป็นหมอ ทำงานหนักทั้งคู่ มีลูกชายอายุ 13 ปี ไม่ชอบเชื่อฟังพ่อแม่ ล่าสุดแม่เผลอไปเอ็ดลูกมาก จนลูกชายโมโหเอาไม้ตีตัวแม่แตก และหนีออกจากบ้าน พ่อแม่ทำอะไรไม่ถูกเช่นกัน เพราะที่ผ่านมาก็ทั้งคู่ไม่เคยลงโทษลูกเลย

เลี้ยงลูกให้เป็นทรพี (โดยไม่เจตนา)

คุณหมอวิทยา นาควัชระ ได้แจงว่าจากกรณีตัวอย่างของทั้งสองครอบครัวนี้ ได้แสดงให้เห็นว่าเด็กได้เติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ได้สร้างวินัยให้กับลูกตั้งแต่เล็ก ๆ ถึงโตขึ้นมาด้วยร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง สังคมดี พูดเก่ง กีฬาเก่ง อาจจะเรียนเก่ง แต่ขาดวินัยกับตัวเอง ไม่มีการยอมรับกติกาของสังคม ของครอบครัว ของพ่อแม่ ซึ่งถ้าเติบโตต่อไปก็จะไม่ยอมรับกติกาของสถาบันการศึกษา ของที่ทำงาน หรือแม้แต่กฏหมายบ้านเมือง อนาคตข้างหน้าก็อาจอยู่ยากในสังคม ทั้งที่ทำงาน ครอบครัวของตนเอง ทุกอย่างยากไปหมด แม้กระทั่งการใช้ชีวิตด้วย หากทำผิดกฏหมายก็อาจอ้างว่า “ทำโดยไม่ได้เจตนา”

สาเหตุที่เด็กมีพฤตกรรมแบบนี้เป็นเพราะพ่อแม่ไม่เคยลงโทษเมื่อเด็กทำผิดตั้งแต่เล็ก ๆ ไม่มีการชมเชย หรือให้รางวัลเมื่อลูกทำดีในสิ่งที่น่าชื่นชม คุณหมอกล่าวว่า เมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว มีความเชื่อเรื่องการเลี้ยงลูกโดยไม่มีการลงโทษทางกาย พ่อแม่หลากหลายอาชีพในระดับที่มีความรู้สูง เชื่อว่าการเลี้ยงลูกโดยการไม่ตีหรือลงโทษ แต่บอกให้ลูกได้คิดเอง จะทำให้เด็กมีอิสระในการแสดงออก

แต่แนวความคิดนี้คุณหมอกลับไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่า การถูกตีหรือการถูกลงโทษในทางกายเมื่อลูกทำผิดตั้งแต่เล็ก ๆ นั้น จะทำให้เด็กตระหนักและรับรู้ถึงบทบาทของการลงโทษได้ดีกว่าและเร็วกว่าการลงโทษทางจิตใจและทางสังคม เพราะเด็กนั้นเล็กเกินไปที่จะเข้าใจว่าที่พ่อแม่ไม่ลงโทษเพราะอยากให้คิดเอง แต่กลับจะได้ใจด้วยซ้ำ ……”จำไว้ ถ้าคุณไม่ลงโทษลูกของคุณเมื่อทำผิด สักวันหนึ่งสังคมจะลงโทษลูกของคุณ ซึ่งจะเจ็บยิ่งกว่าที่คุณลงโทษเขาเสียอีก”

สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องให้ความร่วมมือด้วย ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นกรณีตัวอย่างดังกล่าว เพราะจะเจ็บด้วยกันหมดพ่อ แม่ ลูก แต่ควรตั้งใจอบรมลูกให้เริ่มต้นมีวินัยตั้งแต่เด็ก ๆ กันดีกว่า เพื่อที่จะไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังว่าได้ “เลี้ยงลูกผิด” และกลายเป็นบาปบริสุทธิ์ชนิดหนึ่ง หรืออย่างที่ชาวบ้านเขาเรียกกันว่า เป็นการเลี้ยงลูกให้เป็นทรพีโดยไม่เจตนาก็ได้.

ที่มา : www.manager.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
7 คำถามของพ่อแม่ถ้าอยากเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ
“โรคติดหรู” ผลกระทบจากการเลี้ยงลูกแบบวัตถุนิยม

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้! “เลี้ยงลูกให้เป็นทรพี (โดยไม่เจตนา)”
แชร์ :
  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

    ทำไมไม่ควรห้ามเด็กร้องไห้ การห้ามน้ำตา ทำร้ายใจเด็ก มากกว่าที่คิด!

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว