X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยากให้ลูก "รวย" และใช้เงินเป็นต้องทำยังไง 7 วิธี เลี้ยงลูกให้รวย รวย รวย

บทความ 5 นาที
อยากให้ลูก "รวย" และใช้เงินเป็นต้องทำยังไง 7 วิธี เลี้ยงลูกให้รวย รวย รวย

อยากให้ลูก "รวย" และใช้เงินเป็นต้องทำยังไง 7 วิธี เลี้ยงลูกให้รวย รวย รวย แม้พ่อแม่ไม่ได้รวยล้นฟ้าแต่ก็ขอปลูกฝังนิสัยการใช้และการออมเพื่อให้ลูกรวย รวย รวย

อยากให้ลูก “รวย” และใช้เงินเป็นต้องทำยังไง 7 วิธี เลี้ยงลูกให้รวย รวย รวย 

อยากให้ลูก “รวย” ต้องทำยังไง 7 วิธี เลี้ยงลูกให้รวย รวย รวย เพราะยุคสมัยนี้ลูกจะเก่งแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ไม่รวย คงยากที่จะอยู่รอดในโลกค่ะ

1.หัดให้ลูกใช้เงินตั้งแต่เด็ก

แม้ว่าลูกยังจะเด็ก ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่รู้จักการใช้เงิน หรือไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการใช้เงินค่ะ เพราะประสบการณ์แบบนี้เป็นรากฐานสำหรับความรู้ทางการเงิน เช่นเดียวกันกับการอ่านออกเสียงเป็นรากฐานสำหรับความรู้หนังสือนั่นเอง เด็กในวัยก่อนอนุบาลเมื่อเรียนรู้เรื่องการใช้เงินแล้ว ในวัยอนุบาลให้สอนลูกเรื่องของการออมเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นการหยอดกระปุก การนำไปฝากธนาคาร หรือแม้แต่การเก็บเงินเพื่อซื้อของบางอย่างค่ะ

2.คิดให้มาก ในเรื่องของการ “ทิ้ง”

ของเล่นที่เสียแล้ว หรือทีวีรุ่นเก่า นั้นยังมีคุณค่าและแปรเปลี่ยนเป็นเงินได้เสมอ แต่เด็กๆ ก็ควรจะรู้คุณค่าของสิ่งของเช่นกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น การดูแลสิ่งของที่แม้จะล้าสมัยแต่ยังใช้งานได้ ก็ยังไม่ควรจะทิ้ง หรือการสอนเรื่องของการซื้อใหม่นั้นทำให้เสียเงินอีก นอกจากนี้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้งานไม่ได้ เพราะลูกโตเกินไปแล้ว ก็อาจจะส่งต่อไปให้กับเด็กๆ ยากจน และสำหรับสิ่งที่เป็นขยะ อย่างขวดพลาสติกต่างๆ หรือถุงพลาสติกต่างๆ ก็อาจจะสร้างคุณค่าขึ้นมาได้ ด้วยการทำเป็นสิ่งประดิษฐ์และนำไปขาย หรือแม้แต่การทำธนาคารขยะขึ้นได้ที่บ้านหรือสถาบันใกล้เคียงค่ะ

3.คิดให้นาน ก่อนที่จะซื้ออะไรสักอย่าง

ความต้องการแบบ “เดี๋ยวนี้” เป็นเรื่องธรรมชาติของเด็กๆ ค่ะ ดังนั้นมันจึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องสอนลูก และยืดระยะเวลาของความต้องการออกไปอีก ในวัยอนุบาล เพื่อถืออะไรสักอย่าง(เช่น เงินสดหรือหุ้น)ไว้ให้นาน จะเป็นขั้นตอนต่อไปในการสอนเรื่องเงินให้ลูก เช่น การสอนว่าลูกต้องทำให้เสร็จก่อนที่จะได้อะไรสักอย่างหนึ่ง หรือต้องการชุดเจ้าหญิงอีกชุด ทั้งที่บ้านก็มีแล้วแต่แตกต่างกันแค่สี

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นด้วยระยะเวลาสั้นๆ ก่อนก็ได้ค่ะ เช่น หากลูกสามารถรอได้ถึงอาทิตย์ต่อไปแทนที่จะเอาขนมเค้กอีกชิ้นวันนี้เลย ลูกจะได้ขนมเป็น 2 ชิ้น ทฤษฎีนี้สามารถต่อยอดได้สำหรับเด็กที่โตขึ้น ในวัยประถมหรือมัธยมให้ลูกเริ่มเก็บออมเงินสำหรับซื้อสิ่งที่ต้องการค่ะ แม้ในเด็กเล็กๆ จะงอแงและไม่สำเร็จทุกครั้งไป แต่เมื่อประสบความสำเร็จสักครั้งแล้ว ลูกจะมีความนับถือและภาคภูมิใจในตัวเองเพิ่มขึ้น เมื่อจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง

Advertisement

4.ตารางข้อห้าม

วิกฤตทางการเงินของคนในยุคนี้เป็นข้อพิสูจน์ได้ดีว่าขาดการจัดการเงินที่ดีนะคะ อย่ากลัวที่จะแชร์ค่าใช้จ่ายในบ้านให้ลูกรู้ มันเป็นโอกาสที่ทั้งครอบครัวจะได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ร่วมกัน เช่น ในขณะที่ถอนเงินออกจากตู้เอทีเอ็ม ให้บอกลูกว่าเพราะก่อนหน้านี้พ่อฝากเงินไว้ในธนาคาร และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่พ่อจะถอนเงินออกมาใช้ นี่เป็นการอธิบายกับลูกว่าเงินไม่ได้งอกออกมาเอง

เวลาที่ช็อปปิ้งก็อาจจะบอกลูกว่า ถ้าแม่ซื้อผ้าปูโต๊ะสวยๆ นี่ แม่ก็จะไม่มีเงินจ่ายค่าแก๊ส และเราก็จะไม่มีกับข้าวกินไปอีกหลายวัน ดังนั้นเวลาจะยังไม่ซื้อผ้าปูโต๊ะ ความคิดเห็นแบบนี้จะเป็นตัวอย่างให้ลูกรู้ว่า เมื่อถึงเวลาซื้อของก็ยังมีตัวเลือกอย่างการ ยังไม่ต้องซื้อ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะทำนานๆ ทีก็ได้นะคะ การอธิบายที่เยอะเกินไป จะทำเด็กๆ เบื่อไปเสียก่อน

อยากให้ลูก รวย และใช้เงินเป็นต้องทำยังไง 7 วิธี เลี้ยงลูกให้รวย รวย รวย

5.เป็นตัวอย่างที่ดี

แม้เราจะให้ข้อมูลและอธิบายให้เด็กๆ ฟัง แต่สิ่งที่ได้ผลกว่านั้นคือการทำให้เด็กๆ เห็นค่ะ ก่อนที่จะให้ลูกประหยัด คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องประหยัดให้ได้เสียก่อน เหมือนกับการที่อยากให้ลูกมีจิตใจดี มีเมตตา คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมโลก และให้ลูกมีส่วนร่วมไปด้วยยังไงละคะ

6.ลูกต้องการฝึกฝน 

การจะทำสิ่งไหนได้ดี ก็มาจากการฝึกฝนนั่นเองค่ะ การเล่นบทบาทสมมติ อย่างการเล่นร้านค้า ซื้อกับข้าว หรือทำกับข้าวขายนั้น ถือว่าช่วยเด็กๆ ได้เยอะค่ะ นอกจากนี้การหยอดกระปุกหมูก็เป็นความคิดที่ดีเช่นกัน แม้เด็กๆ อาจจะยังไม่มีค่าขนม แต่การที่เขาเก็บเงินได้และนำมาหยอดกระปุก ก็ถือว่าเป็นรากฐานที่ดีของการออมเพื่อเป้าหมายได้แล้วละค่ะ

7.อย่าสอน แต่เล่านิทานแทน

การสอนแต่ทฤษฎี ไม่ใช่แค่เด็กหรอกที่เบื่อ ขนาดผู้ใหญ่ยังเบื่อเลยค่ะ ดังนั้นใช้นิทานหรือเล่าเรื่องแทน เช่น เล่าเรื่องของเด็กคนหนึ่งที่ต้องตัดสินใจระหว่างการซื้อข้าวกลางวันกับการซื้อของเล่น ลูกจะลุ้นและมีเหตุผลที่อาจจะแตกต่างจากคุณพ่อคุณแม่ก็ได้นะคะ

แต่ถ้าคิดนิทานไม่ออก ลองดูตัวอย่างนิทานเหล่านี้ได้ค่ะ

  • A Chair for My Mother, Vera B. Williams
  • Alexander, Who Used to Be Rich Last Sunday, Judith Viorst
  • Can I Have Some Money? Max Gets It!, Candi Sparks
  • Can I Have Some Money Please? Twyla Prindle
  • It’s a Habit, Sammy Rabbit! Sam X Renick
  • Lucky the Golden Goose, John Wrenn
  • Max’s Money, Ken Wilson-Max
  • My Little Penny Book and Bank, Betty Schwartz
  • My Rows and Piles of Coins, Tololwa M. Mollel
  • The Berenstain Bears’ Trouble with Money, Stan and Jan Berenstain
  • Will Sammy Ride the World’s First Space Coaster Sam X Renick
  • Where Is My Money? Twyla Prindle

ที่มา Babycenter

บทความที่น่าสนใจ

ไม่มีเงินเลี้ยงลูก เลี้ยงลูกยังไงให้ประหยัดที่สุด เลี้ยงลูกแบบเงินเหลือ

เคล็ดลับ 14 ข้อสอนลูกเรื่องเงินแบบคนที่จะรวย รวย รวย

parenttown

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • อยากให้ลูก "รวย" และใช้เงินเป็นต้องทำยังไง 7 วิธี เลี้ยงลูกให้รวย รวย รวย
แชร์ :
  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว