X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

(อยาก)คลอดแบบไม่เจ็บ ต้องทำอย่างไร

บทความ 3 นาที
(อยาก)คลอดแบบไม่เจ็บ ต้องทำอย่างไร

คุณแม่มือใหม่ จะก้าวผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้อย่างไร (อยาก) คลอดแบบไม่เจ็บ ต้องทำอย่างไร ลองใช้เทคนิคคลายปวด ช่วยคลอดแบบไม่เจ็บเหล่านี้ดูครับ

(อยาก) คลอดแบบไม่เจ็บ ต้องทำอย่างไร

สำหรับคุณแม่มือใหม่ อีกหนึ่งความกังวลนอกเหนือจากการตั้งครรภ์และสุขภาพของลูกในท้องแล้วก็คือ การคลอด คุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์คลอดมาก่อนก็อาจจะกลัวว่าจะเจ็บปวดมากจนขยาดไม่กล้าคลอดธรรมชาติเลยก็ได้ เรามาดูกันว่า คลอดแบบไม่เจ็บ ต้องทำอย่างไร

คลอดธรรมชาติ

ความเจ็บปวดตอนคลอด บทเรียนธรรมชาติ

การหดเกร็งของปากมดลูกเป็นจังหวะทุก 2 – 3 นาที นานครั้งละ 30 – 45 วินาที เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ซึ่งในครรภ์แรกนั้นอาการเจ็บปวดอาจยาวนานถึง 6 – 8 ชั่วโมง กว่าจะถึงระยะเบ่งคลอด และจะลดลงเหลือ 3 – 4 ชั่วโมง ในครรภ์หลัง นอกจากนั้นแล้ว ยังต้องเบ่งคลอดอีก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จึงจะคลอดในจังหวะสุดท้าย หรือที่หลายๆท่านเรียกกันว่า เบ่งสุดแรงเกิด นั่นเอง

ฝึกสมาธิก่อนคลอด กุญแจคลายความเจ็บปวด

การฝึกสมาธิ เป็นการเบี่ยงเบนความรู้สึกเจ็บปวดให้ไปจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่น ซึ่งจะช่วยคลายความเจ็บปวดบริเวณมดลูก และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึงอย่างได้ผล เช่น มีสมาธิอยู่กับลมหายใจเข้าออก และเป่าลมออกจากปากเป็นจังหวะ หรือมองจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมองสิ่งที่เคลื่อนไหวเป็นจังหวะ

หากคุณแม่มีสมาธิก็จะช่วยผ่อนคลายความเจ็บปวด ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานผ่อนคลายและช่วยให้คลอดง่ายขึ้น อีกทั้งการไหลเวียนของเลือดที่ส่งไปถึงลูกน้อยก็จะดีขึ้นด้วยครับ

Advertisement

กินอินทผลัมสักหน่อย

มีการวิจัยที่เคยตีพิมพ์ในวารสารสูตินรีเวชอเมริกาว่า แม่ท้องที่รับประทานอินทผลัมทุกวันในช่วงเดือนที่ 9 ปากมดลูกของแม่ท้องจะเปิดมากกว่า และใช้เวลาคลอดต่ำกว่า 7 ชั่วโมง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากในอินทผลัมมีสารที่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนอ๊อกโตซิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการหดตัวของมดลูก จึงช่วยให้คลอดง่ายและเจ็บปวดน้อยลง

อินทผลัม

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

สามี ผู้ช่วยคลายปวด

สามี ก็ช่วยทำให้คุณแม่มือใหม่ผ่อนคลายความเจ็บปวดได้นะครับ การให้คุณสามีเข้ามามีส่วนร่วมในวิธีผ่อนคลาย ไม่ว่าวิธีใด เช่น สามีช่วยนวดผ่อนคลาย  เพราะการนวดเบาๆเป็นจังหวะจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง และสะโพก หรือหากสามีสามารถเข้าไปในห้องคลอดได้ การให้เสียง การให้จังหวะ ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกอุ่นใจ และมีกำลังใจว่าสามีก็มีส่วนร่วมในการให้กำเนิดลูกน้อยด้วย ช่วยลดความกลัวและความเจ็บปวดไปได้เยอะทีเดียว

นอนให้เพียงพอ

สำหรับแม่ท้องใกล้คลอดโดยเฉพาะในช่วงเดือนสุดท้าย หากนอนพักผ่อนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน อาจทำให้ต้องใช้เวลาคลอดนานกว่า 11 ชั่วโมง และมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าคลอดมากกว่า 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ที่นอนอย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมแม่ท้องต้องนอนให้มากขึ้น หรืออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน

มีนักจิตวิทยาอธิบายว่า ความเจ็บปวดจากการคลอดนั้นเป็นความเจ็บปวดที่มีความสุขรออยู่ที่ปลายทาง และเป็นบทเรียนที่ธรรมชาติสอนให้คุณแม่อดทนเพื่อลูก ซึ่งคุ้มค่ายิ่งนักกับผลลัพธ์ที่จะได้มา และการคลอดนั้น จะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หากแม่ท้องเข้าใจหลักการและสามารถผ่อนคลายความกังวลและความเจ็บปวดอย่างมีสติครับ


ที่มา elib-online.com

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • (อยาก)คลอดแบบไม่เจ็บ ต้องทำอย่างไร
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • 4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

    4 ท่าให้นม ลดเสี่ยงสำลัก : ให้นมลูกถูกท่า ปลอดภัยกับลูกน้อย

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว