หลอกลูกให้กลัวผี ไม่เป็นผลดีต่อพัฒนาการเด็ก
หลายๆครอบครัวในบ้านเรา ทั้งพ่อแม่ และคนรอบข้าง มักจะมีการ หลอกลูกให้กลัวผี หรือกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็น เพื่อให้ลูกเชื่อฟังและทำตามคำสั่ง เช่น “นอนหลับเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นเดี๋ยวผีมาหลอกนะ” หรือ “ห้ามเล่นซ่อนแอบตอนกลางคืนนะ ไม่งั้นผีจะมาจับตัว” ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นอุบายที่มีมาตั้งแต่โบราณ แต่ทราบหรือไม่ครับว่าการหลอกลูกให้กลัวผีนั้นจะทำให้เด็กมีความรู้สึกกลัวอย่างไร้เหตุผล
นอกจากนั้น การหลอกให้ลูกกลัว ยังทำให้ความกลัวฝังอยู่ในความรู้สึกของลูก ซึ่งจะเป็นการตอกย้ำให้พัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของลูกเสื่อมถอยจนอาจไปกระทบต่อพัฒนาการทางด้านอื่นได้ บางครั้งอาจทำให้ลูกกลายเป็นคนไม่กล้าแสดงออก กลัวความมืด และอาจทำให้เด็กขาดจินตนาการในเชิงบวกได้ ทั้งๆที่ พ่อแม่ต้องการให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีเหตุผลและมีอารมณ์ดี
อีกทั้งการที่จะพูดปลอบใจ ให้ลูกหายกลัวนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ เพราะหากลูกได้กลัวไปแล้ว ก็จะฝังหัวอยู่อย่างนั้น ด้วยความที่เด็กนั้นอยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะลบความกลัว หรือความคิดทางลบต่างๆออกไปได้ง่ายๆ
ผลจากการหลอกลูกให้กลัว
ความกลัวที่ฝังอยู่ในความคิดของเด็กนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจของเด็กที่อยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้ ซึ่งผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็กนั้นอาจมีดังนี้
- สร้างนิสัยให้เด็กขาดการใช้ความคิดไตร่ตรองหาความจริงด้วยเหตุและผล
- เมื่อเด็กโตขึ้นอาจทำให้เสียบุคลิกภาพ
- ทำให้เด็กไม่มั่นใจในตัวเอง ไม่มั่นคง ว้าวุ่น
- หากเด็กมีอาการกลัวมากๆ อาจทำให้เกิดอาการทางประสาทได้
พ่อแม่ควรทำอย่างไร
- หากต้องการให้ลูกทำอะไรควรอธิบายถึงเหตุผลให้ลูกเข้าใจ
- พ่อแม่ควรทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก
- ควรแก้ไขความเข้าใจผิดของลูก หากคนรอบตัวหลอกให้ลูกกลัว
การที่เด็กไม่กลัวในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล จะเป็นการช่วยทำให้เด็กรู้จักคิด ไตร่ตรอง พิสูจน์ความจริง รู้จักวิเคราะห์ และรู้จักแยกแยะ เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะทำให้เป็นคนที่มีเหตุผล ไม่หลงเชื่ออะไรง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม ความกลัวก็มีผลดีเหมือนกัน หากว่าเด็กกลัวอย่างมีเหตุผล เช่น กลัวอุบัติเหตุ กลัวขโมย ก็จะทำให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยความไม่ประมาท และแสดงพฤติกรรมที่ดีและเหมาะสมออกมาได้ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านได้ มีเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ ก็อย่าลืมนำมาแชร์กับทางทีมงาน และผู้อ่านท่านอื่นๆให้ได้ทราบบ้างนะครับ
อ้างอิงข้อมูล child.haijai
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
เล่นอย่างไร ให้ลูกหัวไว ในช่วงขวบปีแรก
ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!