X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นี่เหรอ! สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็ก 4 อาหารที่กินมากไปอาจทำให้ลูกโตไม่ทันเพื่อน

บทความ 5 นาที
นี่เหรอ! สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็ก 4 อาหารที่กินมากไปอาจทำให้ลูกโตไม่ทันเพื่อน

มองไปข้าง ๆ ตอนนี้เพื่อนลูกในวัยเดียวที่ไล่ ๆ กันมา กำลังจะเริ่มโตกว่าลูกไปแล้ว หนึ่งใน สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ที่คุณแม่ควรรู้ไว้ ว่าการให้ลูกกินอาหารบางชนิดอาจชะลอการเจริญเติบโตของลูกได้

อาหารบางชนิดสามารถชะลอการเจริญเติบโตของลูกของคุณ ถ้าบริโภคมันมากเกินไป อาจเป็น สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็กได้

4 อาหารที่กินมากไปอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า

สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า

#1 อาหาร Junk food

อาหาร Junk food หรือที่เราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารขยะ นี่คือหนึ่งเหตุผลที่คุณแม่ควรตัดอาหารประเภทนี้ออกจากมื้ออาหารของลูก เพราะมันมีคุณค่าทางอาหารน้อยมาก ๆ และไม่ได้มีประโยชน์อื่นใดเลยนอกจากที่จะทำให้ลูกได้อิ่มท้องเท่านั้น แถมยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย ดังนั้นหลีกเลี่ยงที่จะให้ลูกได้กินอาหารขยะหรือจำกัดอาหารประเภทนี้ในปริมาณที่จำกัดกันเถอะค่ะ

#2. น้ำอัดลมหรือน้ำผสมโซดา

น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่อัดแก็สนั้นมีฟอสฟอรัสซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ แต่เมื่อบริโภคในปริมาณมากไปก็อาจส่งผลต่อระดับของแคลเซียม ซึ่งมีการศึกษาพบว่า เด็กที่กินฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากนั้นจะมีความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ต่ำ เด็ก ๆ จำนวนมากที่ทานอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ อย่างเช่น บรรดาน้ำอัดและอาหารขยะนั้น ทำให้พวกเขาได้รับสารอาหารที่ควรจะได้รับอย่างเหมาะสมน้อยลง ดังนั้นควรหยุดให้ลูกกินน้ำอัดลม หันมาดื่มน้ำเปล่า หรือนมที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้ลูกเติบโตสูงขึ้นได้

#3. ข้าว

Advertisement

ข้าวเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่สูงและโปรตีนต่ำ แต่ถ้าในมื้ออาหารของลูกมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่าโปรตีน มันอาจชะลอการเจริญเติบโตของลูกได้ ดังนั้นเพื่อโภชนาการที่ดีควรจัดมื้ออาหารของลูกให้มีความสมดุลกันระหว่างคาร์โบไฮเดรตและเพิ่มปริมาณโปรตีนมากกว่า ซึ่งจะช่วยทำให้เจ้าตัวเล็กมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตสูงวัยได้เต็มความสูงตามธรรมชาติของตัวลูกเอง

สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า

#4 น้ำตาล

เด็กที่บริโภคน้ำตาลเป็นจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะเตี้ยกว่าเด็กที่บริโภคอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ เช่นเดียวกันกับคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลจะเพิ่มระดับอินซูลินในร่างกายและขัดขวางไม่ให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยรสหวานมากเกินไป การกินขนมหวาน เบเกอรี่ ไอศกรีม ฯลฯ นะคะ

นี่คือรายการอาหารที่คุณแม่ควรต้องระวังถ้าต้องการให้ลูกน้อยนั้นสูงได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าอาหารการกินนั้นมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายลูกได้มากทีเดียว นอกจากหลีกเลี่ยงการบริโภคที่มากเกินไปในอาหารดังกล่าวแล้ว ควรจัดอาหารให้ลูกได้กินครบหมู่เพื่อให้ได้รับพลังงาน โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี และอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก กินแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดี ที่มีผลต่อการสร้างเสริมกระดูกและมีความสำคัญต่อความสูงของลูกได้เช่นกัน หากลูกขาดสารอาหารเหล่านี้ไปก็ทำให้มีการเจริญเติบโตช้า

สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า

นอกจากการรับประทานแล้ว ยังมีปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาความสูงของลูก เช่น การได้ออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต การนอนหลับพักผ่อนอย่างสนิทและเพียงพอก็จะทำให้เกิดการหลั่ง Growth hormone เพื่อทำให้ร่างกายลูกเจริญเติบโตตามวัยที่ดีได้อย่างเหมาะสมนะคะ

ลูกตัวเตี้ยกว่าเกณฑ์หรือเติบโตช้าผิดปกติ พ่อแม่สังเกตได้อย่างไร?

แพทย์หญิงนวลผ่อง เหรียญมณี กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโรคต่อมไร้ท่อ เบาหวาน และการเจริญเติบโต ศูนย์สุขภาพเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้เผยว่า…ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กเกิดจากพันธุกรรม ปัจจุบันมีพ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามาปรึกษาเรื่องเด็กโตช้าประมาณร้อยละ 10 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพบว่า กว่าร้อยละ 60 เกิดจากพันธุกรรม คือมีพ่อแม่หรือประวัติของปู่ย่าตายายที่ตัวเล็กมาก่อนเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นแล้วความผิดปกติจากโรคบางชนิดหรือฮอร์โมนอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กตัวเตี้ย ได้แก่ ภาวะขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งในสองกรณีหลังนี้ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์จึงจะหายเป็นปกติและกลับมาเติบโตสมวัยได้

ทราบได้อย่างไรว่าเด็กตัวเตี้ยกว่าเกณฑ์หรือเติบโตช้าผิดปกติ

โดยพื้นฐานทั่วไปแล้วเด็กผู้หญิงจะทะยานความสูงหรือโตเร็วเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น อายุเฉลี่ยประมาณ 10 -11 ปี และจะหยุดการเจริญเติบโตที่อายุประมาณ 16 ปี ส่วนเด็กผู้ชายจะช้ากว่าผู้หญิง คือเริ่มทะยานความสูงเมื่อผ่านช่วงวัยรุ่นไประยะหนึ่งแล้ว ประมาณอายุ 12 – 15 ปี และจะหยุดโตเมื่ออายุ 18 ปี หรือในบางคนที่พัฒนาการช้ากว่าเพื่อนอาจจะโตไปได้ถึงอายุประมาณ 20 ปี เราจึงเห็นว่าในช่วงเด็กตอนปลายเข้าสู่วัยรุ่น..ผู้หญิงอาจจะสูงกว่าผู้ชาย แต่หลังจากนั้นอีกพักหนึ่งผู้ชายก็จะแซงหน้า โดยค่าเฉลี่ยความสูงของชายไทยปกติอยู่ที่ 160 – 180 เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงอยู่ที่ 150-170 เซนติเมตร

การประเมินการเจริญเติบโตว่าปกติหรือไม่ สามารถทราบได้จากการวัดส่วนสูง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานการเจริญเติบโตปกติ ถ้าความสูงมีค่าต่ำไปจากมาตรฐานที่ปกติก็ถือว่าเตี้ย หรือ ประเมินจากอัตราการเพิ่มส่วนสูงต่อปีดังต่อไปนี้

อายุ (ปี) อัตราการเพิ่มความสูง / ปี(ซม.)
แรกเกิด- 1 25
1 – 2 10-12
2 – 4 6-8
4 – 10 5

เด็กที่สงสัยว่าจะมีการเจริญเติบโตผิดปกติควรได้รับการ ตรวจ วินิจฉัยโดยแพทย์แต่เนิ่นๆ เนื่องจากบางภาวะสามารถให้รักษาได้และได้ผลดีกว่าหากรักษาตั้งแต่อายุน้อยๆ ไม่ควรรอจนอายุมาก หรือจนมีลักษณะเป็นหนุ่มสาวจึงค่อยมาพบแพทย์เพราะทำให้การรักษาไม่ได้ ผลดีเท่าที่ควร หรือไม่ได้เลย

ฮอร์โมนเจริญเติบโตคืออะไร?

ฮอร์โมนเจริญเติบโต หรือเรียกว่าโกรทฮอร์โมน (growth hormone) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นต่อมเล็กๆ อยู่บริเวณตรงกลางของสมอง ทำหน้าที่ให้เด็กมีการเจริญเติบโตปกติตามวัย และยังมีผลต่อกระบวนการสร้างน้ำตาลในกระแสเลือดด้วย ถ้าต่อมใต้สมองมีความผิดปกติ จะเป็นเหตุให้ต่อมดังกล่าวหยุดผลิตฮอร์โมนเจริญเติบโตหรือผลิตได้น้อยลง และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าและตัวเตี้ย

การตรวจหาความผิดปกติที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเติบโต

การตรวจหาระดับฮอร์โมนเติบโตแตกต่างไปจากการเจาะเลือดโดยทั่วๆไป จำเป็นต้องให้ยากินหรือฉีดยา กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเติบโตก่อน ดังนั้นคนไข้ต้องงดอาหารก่อนวันทดสอบ ระหว่างการทดสอบคนไข้ จะอยู่ภายใต้การดูแลของพยาบาลและแพทย์โดยใกล้ชิด

การตรวจความผิดปกติที่เกิดจากการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน

ทำได้โดยเจาะเลือดตรวจหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเพียงครั้งเดียว หากพบว่าขาดจริง..การรักษาจะทำโดย การให้ฮอร์โมนทดแทนทางปาก

การรักษาคนไข้ที่มีสาเหตุจากพันธุกรรม

แม้หลีกเลี่ยงสาเหตุหลักไม่ได้ แต่ก็มีปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เด็กเติบโตเหนือพันธุกรรมได้ นั่นคือ การรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายดี และเข้านอนเร็ว ซึ่งกลุ่มอาหารหลักที่ขาดไม่ได้เลยคือ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพราะเป็นสารอาหารที่จะช่วยกระตุ้นการเสริมสร้างฮอร์โมนแบบธรรมชาติในตัวเด็ก นอกจากนี้ก็ต้องได้รับพลังงานหรือแคลอรีที่เพียงพอและเหมาะสมจากคาร์โบไฮเดรต รวมไปถึงวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกและแร่ธาตุสังกะสีที่มีข้อมูลว่าช่วยสร้าง growth hormone และมีส่วนทำให้ growth hormone ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น

การรักษาคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโต ทำโดยการฉีดฮอร์โมนเติบโตเข้าใต้ผิวหนัง

คนไข้ที่จะตอบสนองดีต่อการให้การรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนเติบโต คือคนไข้ที่ขาดฮอร์โมนเติบโตจริงๆ หากขาดมากจะตอบสนองดีกว่ารายที่ขาดไม่มาก ดังนั้นก่อนให้ฮอร์โมนเติบโตจึงจำเป็นต้องทำการทดสอบทุกราย

เด็กแต่ละคนนั้นล้วนมีสัดส่วน รูปร่างและความสูงที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะมีรูปร่างกะทัดรัด แต่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกหรือน่ากังวลจนเกินกว่าเหตุ หากพ่อแม่อยากให้ลูกมีพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตที่ดีกว่าปกติ ก็ต้องส่งเสริมเรื่องอาหาร ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย และการนอนหลับให้เพียงพอ เพราะ growth hormone จะถูกผลิตและหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองขณะที่เด็กนอนหลับและเมื่อออกกำลังกายอีกด้วย

 


ขอบคุณข้อมูลจาก :www.thaihealth.or.th

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

กลัวลูกเป็นเด็กเตี้ย ตัวเล็ก โตไม่ทันเพื่อน อยากให้ลูกสูงต้องทำอย่างไร?

กลุ้มใจ! ท้องเล็ก ลูกในครรภ์ตัวเล็กไหม ถ้าลูกน้ำหนักน้อย ทำไงดี?

parenttown

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • นี่เหรอ! สาเหตุที่ทำให้ลูกโตช้า ตัวเล็ก 4 อาหารที่กินมากไปอาจทำให้ลูกโตไม่ทันเพื่อน
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว