ลูกเป็นเเบบนี้ เรียกพัฒนาการช้าไหม
ลูกยังไม่คลาน ลูกยังไม่พูด หรือดูพี่สาวพี่ชายสิ พูดตั้งเเต่ 5 เดือน ลูกยังพูดไม่เป็นคำสักทีกลุ้มใจจังเลย ลูกเป็นเเบบนี้ เรียกพัฒนาการช้าไหม สิ่งที่คุณพ่อคุณเเม่หลายต่อหลายคนเป็นกังวลกลัวว่าลูกจะผิดปกติค่ะ
คำเเนะนำสิ่งต่างๆ ที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกเป็นสิ่งที่ดีค่ะ อย่าง คุณหมอแนะ 12 วิธีเสริมพัฒนาการลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด เเต่เเม้ว่าเด็กๆ จะมีพัฒนาการในเรื่องต่างๆ ที่เเตกต่างกัน ช้าเร็วไม่เท่ากัน มีพัฒนาการเป็นลำดับขั้น หรือบางคนอาจจะข้ามขั้นได้ หากคุณพ่อคุณเเม่สังเกตุเห็นเร็วว่าลูกมีพัฒนาการบางอย่างที่ช้าเกินไปจนผิดปกติ ย่อมดีกว่าการสังเกตได้ช้าอยู่เเล้วค่ะ
พัฒนาการช้า
คุณหมอจะใช้คำนี้ เมื่อเด็กๆ มีพัฒนาการที่ไม่ถึงช่วงระยะที่กำหนดไว้ พัฒนาการที่ล่าช้าสามารถมีได้มากกว่า 1 อย่างค่ะ ทักษะพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Development) อย่างเช่น การลุกนั่ง เเละทักษะพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Skills) อย่างเช่น การจัดการกับวัตถุต่างๆ เเละการสื่อสาร ทักษะด้านภาษา (ทั้งการเข้าใจคำพูด คำศัพท์ เเละการพูด) ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง (การเข้าห้องน้ำเองหรือการเเต่งตัวตนเอง) เเละทักษะทางสังคม (เช่น สบตาเวลาพูดคุย เเละ เล่นกับเพื่อนๆ)
สิ่งที่ต้องตระหนักไว้เสมอว่าพัฒนาการของเด็กๆ จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนก่อนที่จะก้าวหน้าค่ะ เด็กๆ ส่วนใหญ่จะคลานก่อนเดิน ทำเสียงไม่มีความหมายก่อนที่จะพูดคำเเรก เด็กๆ เเต่ละคน จะมีพัฒนาการที่เเตกต่างกันในอัตราเเละรูปเเบบที่ต่างกัน กล่าวคือ ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะคืบคลานก่อนการเดิน เด็กอาจจะเริ่มเดินได้เลย โดยข้ามขั้นของการคืบคลานก่อนก็ได้เช่นกันค่ะ เพียงเเต่เด็กส่วนใหญ่มีพัฒนาการที่คืบคลานก่อนเท่านั้น ไม่ถือว่าผิดเเปลกอะไรที่มีพัฒนาการข้ามขั้นไปบ้าง
ยกตัวอย่างเช่น หากลูกในวัย 9 เดือน มีพัฒนาการด้านร่างกายเเละการเคลื่อนไหวต่างๆ ดีมาก เพราะว่าลูกเป็นเด็กชอบเคลื่อนไหวเเละชอบสำรวจโลกรอบตัว เเต่ไม่ชอบพูดจามากเท่าไหร่ ขณะที่เด็กอีกคนนึง อายุเท่ากัน เเต่ชอบพูดคุย ออกเสียงต่างๆ จึงจำเป็นที่คุณพ่อคุณเเม่ต้องเสริมสร้างให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีในทุกๆ ด้านยังไงละคะ
ลูกจะมีพัฒนาการช้าไหม
10-15 เปอร์เซนต์ ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ มีพัฒนาการช้าค่ะ เช่น การเรียนรู้ การสื่อสาร การเล่น มีกิจกรรมทางกาย ทักษะและความเชี่ยวชาญทางการปฏิบัติ ที่ทำได้ยากกว่าเด็กคนอื่นๆ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณเเม่มีการสังเกต เเละเข้ามาช่วยลูกพัฒนาทักษะต่างๆ ได้เร็ว จะสามารถสร้างความเเตกต่างได้อย่างมากค่ะ เนื่องจากพบว่ามีเด็กๆ เพียง 3% ที่คุณพ่อคุณเเม่สังเกตเห็น เเละได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม
พัฒนาการที่ล่าช้าเหล่านี้ดูเหมือนจะหายไป เมื่อตอนที่เด็กๆ เข้าโรงเรียนค่ะ เเต่ไม่นานนัก มันก็จะกลับมาเป็นปัญหาอีกได้ในภายหลัง 14-17 เปอร์เซนต์ของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี มีการพูดเเละทักษะทางด้านภาษาที่บกพร่อง มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities) มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์เเละพฤติกรรม
ในกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าถึง 40% ที่มีพัฒนาการล่าช้ามากกว่า 1 อย่าง เเละมีเด็กๆ เพียงไม่ถึง 2% ที่มีปัญหา 3 อย่างขึ้นไป
คุณพ่อคุณเเม่ต้องสังเกตอะไรบ้าง
คุณพ่อคุณเเม่ส่วนใหญ่จะสังเกตเห็นความล่าช้าของพัฒนาการลูกได้ไวอยู่เเล้วค่ะ อย่างเช่น การคลาน การเดิน หรือการตอบสนองเเละปฏิกิริยาของลูกในเรื่องต่างๆ ด้านภาษา เด็กๆ อาจจะไม่เข้าใจ หรือเข้าใจได้ช้า ถึงความหมายของคำ เเละประโยคต่างๆ ที่คุณหมอเรียนว่า ความตั้งใจของการสื่อสาร (communicative intent) ซึ่งเป็นความสามารถในการ อธิบายสิ่งที่ตัวลูกต้องการ ผ่านการชี้ เลียนเเบบ หรือทำเสียงต่างๆ
ตามมาตราฐานส่วนใหญ่ เด็กๆ วัย 3-4 เดือน จะสามารถบอกความต้องการของตัวเองโดยการชี้ หรือเอื้อมหยิบสิ่งของต่างๆ ได้เเล้ว เด็กๆ วัย 9 เดือน สามารถยืนเเละถือของบางอย่างได้เเล้ว เด็กในวัยนี้จะเข้าใจเเนวคิดของวัตถุได้ เช่น การมีอยู่เเละจับต้องได้ เเละเด็กๆ ในวัย 1 ขวบ สามารถพูดความต้องการได้บ้างบางคำเเล้วค่ะ
สำหรับคุณพ่อคุณเเม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด ไม่ใช่เรื่องเเปลกที่เด็กๆ จะมีพัฒนาการที่ช้าไปบ้าง นั่นเป็นเพราะลูกยังต้องการเวลามากกว่าเด็กๆ คนอื่นๆ ค่ะ โดยส่วนใหญ่คุณหมอจะบวกเวลาเพิ่มเข้าไป นับตั้งเเต่วันที่เขาอยู่จนครบกำหนดคลอด ดังนั้นอย่างเพิ่งกังวลไปเลยนะคะ สำหรับคุณพ่อคุณเเม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนด
อะไรคือสาเหตุของพัฒนาการล่าช้า
บางครั้งสาเหตุก็มาจากการคลอดก่อนกำหนด หรือยีนส์ที่ผิดปกติ อย่างดาวน์ซินโดรม หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ หรืออุบัติเหตุต่างๆ ก็ได้ค่ะ
พัฒนาการที่ล่าช้าทางด้านภาษาอาจจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติหรือความบกพร่องในการได้ยิน เช่น มีปัญหากับกล่องเสียง มีปัญหาที่ลำคอ จมูก หรือช่องปาก การสื่อสารที่เป็นไปได้อย่างยากลำบากอาจจะเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลางมีปัญหา เเต่โดนส่วนใหญ่เเล้วจะไม่มีสาเหตุที่เเน่ชัด ในการอธิบายว่าอะไรคือสาเหตุของพัฒนาการที่ล่าช้าในเด็กๆ ค่ะ
พัฒนาการล่าช้า จำเป็นต้องหาหมอไหม
คนที่รู้จักเด็กๆ ดีที่สุดคือ คุณพ่อคุณเเม่ค่ะ การจดบันทึกรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ เป็นประจำ เเล้วนำข้อมูลทั้งหมดไปปรึกษาคุณหมอคือสิ่งที่ควรทำค่ะ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยของคุณหมอมาก หากผลการวินิจฉัยออกมาเเล้วคุณพ่อคุณเเม่ยังคงสงสัยอยู่ การหาคุณหมอที่โรงพยาบาลอื่นๆ เพื่อหา second opinion หรือ third opinion ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ
การพาลูกไปตรวจสอบพัฒนาการก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันค่ะ มีคำเเนะนำให้พาลูกไปตรวจสอบทุก 9 เดือน 18 เดือน 30 เดือน หรือตามเเต่ดุลยพินิจของคุณหมอของลูกค่ะ คุณพ่อคุณเเม่สามารถบอกคุณหมอได้ถึงเรื่องที่คุณเป็นกังวล เพื่อที่คุณหมอจะได้ทดสอบพัฒนาการนั้นๆ ของลูก เช่น ทักษะด้านภาษา หรือความสามารถทางสติปัญญา
หากคุณพ่อคุณเเม่กังวลเกี่ยวกับการได้ยิน หรือการมองเห็นของลูก ปรึกษากุมารเเพทย์ตอนที่พาไปฉีดวัคซีนก็ได้เช่นกันค่ะ คุณหมอจะคัดกรองเบื้องต้นก่อน หากเจอจุดที่อาจจะเป็นปัญหา คุณหมอจะส่งต่อไปยังคุณหมอที่เกี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป
เเต่ถ้าคุณพ่อคุณเเม่คิดว่าการรอให้ถึงนัดฉีดวัคซีนนั้นนานเกินไป ก็สามารถไปหาคุณหมอก่อนได้เช่นกันนะคะ
ที่มา Babycenter
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6 วิธีเล่นกับลูก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ
ลูกพัฒนาการช้า เพราะคุณพ่อคุณเเม่อ้วนไป
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!