ไม่อยากให้ลูกเป็น ลูกเทวดา จิตแพทย์แนะ เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กใจดี
ไม่อยากให้ลูกเป็น ลูกเทวดา จิตแพทย์แนะ เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กใจดี ทุกวันนี้เราจะพบเห็นเด็กๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของการเลี้ยงลูกที่พ่อแม่ “คิดว่าเลี้ยงดีแล้ว” แต่ความเป็นจริงแล้ว อาจจะเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่น่ารักนักต่อตัวเองและคนที่พบเห็นนะคะ
เป็น ลูกเทวดา เพราะพ่อแม่
เด็กๆ ที่เพิ่งเกิดมา อาจจะยังไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ แต่อะไรที่เขาทำแล้วมันได้ผลกับตัวเขา เขาก็ทำซ้ำๆ แต่มันอาจจะส่งผลเสียต่อทั้งตัวของเด็กเอง และต่อพ่อแม่ก็ได้เช่นกันค่ะ ดังนั้นมีเรื่องอะไรบ้างที่พ่อแม่ต้องรู้ และต้องแก้ไข ดังนี้เลยค่ะ
1.ให้ความสำคัญกับคนอื่นด้วย
ทำไม พ่อแม่มักจะให้ความสำคัญกับลูกมากที่สุดค่ะ ทำยังไงลูกถึงจะมีความสุข แต่เด็กๆ ก็ต้องรู้ว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก โลกไม่ได้หมุนรอบตัวเขา ต้องเรียนรู้การแบ่งปัน และส่งต่อ รวมทั้งการทำงานเป็นทีม การตัดสินใจ และเข้าไปช่วยเหลือคนอื่นๆด้วย
ยังไง เด็กๆ ต้องถูกปลูกฝัง ไม่ว่าจะด้วยการสอนตรงๆ หรือทำตัวอย่างให้ดู ต่อความรับผิดชอบต่อส่วนรวม แม้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้พวกเขาไม่มีความสุขก็ตาม เช่น การออกจากทีมกีฬา ออกจากวงดนตรี หรือแม้แต่การเลิกคบเพื่อนก็ตาม เด็กๆ ควรจะแก้ไขปัญหาที่เจอก่อนที่จะเดินหนีจากปัญหานั้นๆ
ลองแบบนี้
- แทนที่จะบอกลูกว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือความสุขของลูก เป็น สิ่งสำคัญที่สุดคือลูกตั้งใจดี หรือใจดี
- หากลูกโตขึ้น แม้ว่าเขากำลังโกรธอยู่ เบื่อ หรือโดนรบกวน สิ่งที่แสดงออกต่อคนอื่นคือ การเคารพเคารพค่ะ
- ติดตามผล อย่างการถามครูที่โรงเรียน หรือว่าเพื่อนๆ ของเขา ว่าลูกเป็นยังไงบ้าง
2.เปิดโอกาสให้ลูกแสดงน้ำใจ
ทำไม แม้แต่เด็กที่โดนสปอยล์มาทั้งชีวิตก็เปลี่ยนได้ แต่มันจะไม่เกิดขึ้นเลย หากไม่มีโอกาสให้กับเขา มีงานวิจัยที่บอกว่าโอกาสมักจะทำให้คนเราทำเรื่องดีๆ อย่างการช่วยเหลือ มีน้ำใจ มีความเห็นใจ และให้อภัย
ยังไง ให้ลูกมีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนๆ และคุณครู เช่น สอนการบ้านเพื่อน หรือช่วยทำงานให้ห้องเรียน ซ้อมดนตรีหรือกีฬากับเพื่อนๆ ก็เป็นการเปิดโอกาสเช่นเดียวกันค่ะ
ลองแบบนี้
- ให้ลูกรับผิดชอบบ้าง อย่างการถือจานชาม ช่วยงานบ้าน หรือการไหว้วานเล็กๆ น้อยๆ
- ตัวอย่างที่เห็นในข่าว ก็สามารถเอามาพูดคุยกับลูกได้ ว่าอะไรเรียกมีน้ำใจ และถ้าเราไม่มีน้ำใจจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- ขอบคุณและชื่นชมลูกได้เสมอๆ
3.ใจดีกับคนอื่นด้วย
ทำไม เด็กๆ เกือบทุกคนจะใจดีกับคนที่รู้จัก เช่น ครอบครัวและเพื่อนฝูง แต่สิ่งที่ท้าทายคือคนอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น เช่น เพื่อนใหม่ที่เพิ่งย้ายเข้ามา หรือน้องที่เล็กกว่า คนที่เดือดร้อน และคนในโรงเรียนที่นอกเหนือจากครู เช่น ภารโรง
ยังไง เด็กๆ ต้องเรียนรู้มุมมองจากเล็กๆ ไปสู่ใหญ่ๆ หลากหลายคนที่พบเจอ หลากหลายมุมมอง รวมทั้งการเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เด็กๆ เป็นพลเมืองของโลก ไม่ใช่แค่พลเมืองของเมืองใดเมืองหนึึ่งเท่านั้น
ลองแบบนี้
- แสดงให้ลูกเห็นว่าเราสามารถใส่ใจทุกคนได้ ตั้งแต่คนขับรถเมล์ พนักงานเสิร์ฟ ไปจนถึงคนกวาดถนน
- ยกตัวอย่างให้ลูกเห็นว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยที่ไม่เสี่ยงอันตราย เช่น การปลอบเพื่อนที่ถูกรังแก การบอกผู้ใหญ่ถึงเรื่องที่ร้ายแรงกว่านี้
- ยกตัวอย่างให้ลูกเห็นผ่านข่าวต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก
4.เป็นตัวอย่างที่ดี และเป็นผู้แนะนำ
ทำไม เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ง่ายและเร็วที่สุดผ่านตัวอย่างที่เขาเห็นอยู่ทุกวันค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นก่อน
ยังไง ทุกเรื่องที่จะแสดงความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจ ความใส่ใจของคุณพ่อคุณแม่ ต่อเพื่อนบ้าน ต่อคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ต่อคนที่ด้อยโอกาสกว่า แบบนั้นลูกถึงจะทำตามที่คุณพ่อคุณแม่สอน และทำตามสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำค่ะ
ลองแบบนี้
- ทำงานบริการชุมชน หรืองานจิตอาสา
- ให้ความช่วยเหลือแก่คนที่เดือดร้อน หรือคนที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น การบอกทาง หรือการสื่อสารกับคนที่พูดภาษาไทยไม่ได้
5.แนะนำลูกในการจัดการความรู้สึกที่ไม่ดี
ทำไม บ่อยครั้งที่เด็กๆ จะรู้สึกอาย โกรธ อิจฉา หรือความรู้สึกในเชิงลบอื่นๆ
ยังไง คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องสอนเด็กๆ ว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคน ไม่เว้นแม้แต่พ่อแม่ แต่เราต้องมีการจัดการกับมัน โดยไม่ให้เดือดร้อนต่อคนอื่น หรือตัวเอง
ลองแบบนี้
- การหายใจเข้าออกยาวๆ ลึกๆ
- การนับหนึ่งถึงสิบ
- การระบายกับสิ่งของ เช่น หมอน
- การระบายกับตัวเอง เช่น การวิ่ง หรือกระโดด
5 วิธีนี้ สามารถใช้ได้กับเด็กๆ ทุกเพศทุกวัยเลยนะคะ เท่านี้ลูกที่น่ารักในสายตาคุณพ่อคุณแม่ ก็จะเป็นเด็กที่น่ารักในสายตาคนอื่นๆ ไม่เป็นลูกเทวดาอีกต่อไปค่ะ
ที่มา washingtonpost
บทความที่น่าสนใจ
8 พฤติกรรมไม่น่ารักของลูก ที่ไม่ควรโทษว่าพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ดี
นิสัยของลูกคนโต คนกลาง คนเล็ก และคนเดียว
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!