X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ

บทความ 3 นาที
รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ

ทุกครั้งที่เห็นข่าว “เด็กหาย” ปรากฏบนสื่อต่างๆ คนเป็นพ่อแม่คงสลดหดหู่ใจไม่น้อย และต่างภาวนาว่า ขออย่าให้วันนั้นเกิดขึ้นกับครอบครัวและลูกของเราเลย แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะ แค่เราเผลอเพียงนิด ลูกอาจสูญหายไปจากอ้อมอก กลายเป็นฝันร้ายของคุณและครอบครัวไปตลอดชีวิต

สถิติเด็กหายน่ากลัวกว่าที่คิด จากสถิติรับแจ้งเด็กหาย ของศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา พบว่า

  • จำนวนเด็กหายจะพุ่งขึ้นทุกปี ซึ่งหากย้อนไปเมื่อปี 2556 มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หายไปถึง 550 คน และปี 2557 มีเด็กหายเพิ่มเป็น 675 คน
  • โดยเด็กที่หายไปทั้ง 2 ปีนี้ เสียชีวิตถึง 10 คน
  • ข้อมูลล่าสุดของเดือนมีนาคม 2558 มีจำนวนเด็กหายไปแล้วถึง 76 คน
  • 99% ของเด็กที่หายไปจะเป็นเด็กไทย และอีก 1% เป็นเด็กต่างชาติที่อพยพจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาพร้อมกับพ่อแม่
  • เด็กเป้าหมายส่วนใหญ่จะอยู่ที่อายุระหว่าง 4-8 ปี เพราะเป็นวัยที่ยังไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ จึงมักถูกหว่านล้อม และชักจูงง่าย
  • สาเหตุการหายตัวตามลำดับ คือ สมัครใจหนีออกจากบ้านเอง เพราะปัญหาครอบครัว ถูกล่อลวงจากการติดต่อทางสังคมออนไลน์ แล้วหลอกไปข่มขืน ติดเกม พลัดหลงกับพ่อแม่ผู้ปกครอง และที่รุนแรงที่สุดคือถูกลักพาตัว เพื่อไปใช้แรงงาน ขอทาน ล่วงละเมิดทางเพศ ทารุณกรรม และฆาตกรรมในที่สุด
  • กรุงเทพฯ และปริมณฑล คือ จังหวัดที่มีสถิติเด็กหายมากที่สุด รองลงมาคือ นครราชสีมา ชลบุรี และระยอง ตามลำดับ

 

เด็กหาย สถานที่ที่ปลอดภัยคือสถานที่ที่อันตราย

จากสถิติยังพบอีกว่า สถานที่ที่เด็กมักหายตัวไปมากที่สุด กลับกลายเป็นสถานที่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองคาดไม่ถึง เพราะชะล่าใจว่าเป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กแล้ว เนื่องจากมีตนเองหรือผู้ใหญ่คอยดูแลและเฝ้ามองอยู่ ได้แก่ หน้าบ้าน หน้าโรงเรียน ตลาด ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สนามเด็กเล่น วัด สวนสนุก และสวนสาธารณะ

 

ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกหายไป

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Advertisement

เด็กหาย ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกหายไป

  1. ตั้งสติให้เร็วที่สุด พร้อมกับลำดับเหตุการณ์ทั้งหมด แล้วรีบตรวจสอบทันทีว่าลูกหายตัวไปจริงหรือไม่ ใครเห็นลูกเป็นคนสุดท้าย
  2. กลับไปตามหาที่จุดเดิมของลูกอย่างละเอียด และตรวจสอบบริเวณที่คิดว่าลูกน่าจะไป เช่น แผนกของเล่นเด็ก ร้านอาหาร/ร้านขนมที่ชอบ ร้านเกม บ้านเพื่อนสนิทที่ลูกมักไปเล่นด้วย
  3. รวบรวมรายละเอียดของลูกให้มากที่สุด เช่น เสื้อผ้าที่สวมใส่ในวันเกิดเหตุ รูปร่างหน้าตา ลักษณะเฉพาะของลูก ส่วนสูง อายุ น้ำหนัก พร้อมรูปภาพล่าสุดประกอบ
  4. นำข้อมูลทั้งหมดไปแจ้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถานที่นั้นๆ ให้ประกาศและช่วยค้นหาลูก
  5. หากทราบแน่ชัดแล้วว่าลูกหายไป ให้แจ้งความทันที ไม่ต้องรอให้ครบ 24 ชม.
  6. ใช้สังคมออนไลน์เป็นอีกช่องทางในการประกาศตามหา ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ ฟอร์เวิร์ดเมล เว็บบอร์ดต่างๆ โดยแจ้งข้อมูลของลูกพร้อมภาพประกอบ สถานที่ วันเวลาที่ลูกหายตัวไปพร้อมเบอร์ติดต่อกลับของพ่อแม่ เพราะเด็กหายจำนวนไม่น้อย สามารถกลับมาสู่อ้อมกอดพ่อแม่ได้จากช่องทางนี้
  7. แจ้งขอความช่วยเหลือจากสื่อตามหน้าหนังสือพิมพ์ สำนักข่าวทางโทรทัศน์ คลื่นวิทยุต่างๆ เช่น ส.ว.พ.91 (91 MHz) คลื่นร่วมด้วยช่วยกัน (96 MHz) จ.ส.100 (100 MHz) ชมรมวิทยุอาสาสมัคร ทั้งของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู ชมรมวิทยุแท็กซี่หรือหน่วยงานที่รับช่วยเหลือเฉพาะ เช่น มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นต้น
  8. ไม่ตั้งรางวัลหากใครพบลูก เพราะอาจมีมิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดี โทร.มาแจ้งเบาะแสเท็จ เพื่อหวังเงินรางวัล และสร้างความปั่นป่วนในการตามหา
  9. ไม่ฟังคำที่คอยบั่นทอนจิตใจจากผู้อื่น เพราะจะทำให้สิ้นหวัง หมดกำลังใจในการออกตามหาลูก
  10. คอยติดตามเรื่องจากสถานีตำรวจ และหน่วยงานที่ไปขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ

ก่อนแม่หัวใจสลาย เรื่องคนแปลกหน้าที่ต้องสอนลูก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว