X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกป่วยครั้งแรก รับมือ 5 อาการยอดฮิตเมื่อ ลูกป่วยครั้งแรก

บทความ 5 นาที
ลูกป่วยครั้งแรก รับมือ 5 อาการยอดฮิตเมื่อ ลูกป่วยครั้งแรก

ทำอย่างไรเมื่อลูกป่วยครั้งแรก เรามีวิธีรับมือ 5 อาการยอดฮิตของเบบี๋มาฝากค่ะ

รับมือ 5 อาการยอดฮิตเมื่อ ลูกป่วยครั้งแรก

เพราะทารกยังไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่มีแข็งแรง จึงง่ายต่อการเจ็บป่วย หากคุณแม่มีลูกน้อยวัยเบบี๋ นี่คือ 5 อาการที่ลูกมีโอกาสป่วยมากที่สุด และวิธีการดูแลเมื่อ ลูกป่วยครั้งแรก ที่คุณแม่ควรทราบค่ะ

1.ไข้หวัด

ลูกป่วยครั้งแรก เป็นไข้หวัด

ภาพ: Ewan Topping

หวัด เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก โดยมีไวรัสกว่า 200 ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด จึงทำให้โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์แม้แต่ในวัยทารก เด็กติดโรคหวัดโดยเฉลี่ย 6-12 ครั้งต่อปี

อาการของโรคหวัดมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองใน 7-10 วัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึง 3 สัปดาห์

การป้องกันหวัดสามารถทำได้โดยการดื่มน้ำผลไม้ หรือทานผลไม้ที่มีวิตามินซีเยอะๆ เช่น ส้ม ส้มโอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล กีวี ลิ้นจี่ มะละกอ สตรอเบอรี่ เงาะ เป็นต้น

การรักษาเมื่อลูกเป็นหวัด ไม่จำเป็นต้องใช้ยา เพียงดื่มน้ำเยอะๆ กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น รวมทั้ง ทำร่างกายให้อบอุ่น และนอนพักผ่อน

หากคัดจมูก น้ำมูกไหล ใช้วิคส์ ทาที่หน้าอกและคอ เพื่อให้หายใจโล่งขึ้น รวมถึงการใช้น้ำเกลือล้างจมูก หรือใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออก

Advertisement

บทความแนะนำ เผยเกร็ด เคล็ดลับ ล้างจมูก ลูก Happy (มีคลิป)

หากเป็นไข้  อุณหภูมิที่จัดว่ามีไข้เริ่มที่ 37.5 องศาเซลเซียสควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำประปาจากก๊อก และทานยาลดไข้ paracetamol สำหรับเด็ก ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนา ยกเว้นเมื่อลูกมีอาการหนาวสั่น ควรใส่เสื้อผ้าที่มีความอบอุ่นเพียงพอ แต่ไม่หนาเกินไป

ในเด็กอายุน้อยกว่า 1 เดือน ไม่จำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ให้ใช้การเช็ดตัวอย่างเดียว

2.ไอ

ลูกไอไม่หยุด

การไอ เป็นกลไกของร่างกายที่ใช้กำจัดของสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ วิธีรักษาอาการไอที่ดีที่สุดควรรักษาที่ต้นเหตุของการไอ ไม่ใช่การกินยาให้หยุดไอ เพราะการไอจะช่วยขับเอาเสมหะ และฝุ่นละอองที่สูดหายใจเข้าไปออกจากปอด หลอดลม และหลอดคอ

หากลูกไอแบบมีเสมหะ ควรให้ลูกนอนหนุนหมอนให้ศีรษะสูงกว่าลำตัว หรือในลักษณะกึ่งนอนกึ่งนั่ง เพื่อช่วยให้การหายใจคล่องขึ้น เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยนอนราบตามปกติ และจิบน้ำมะนาวอุ่นๆ ช่วยบรรเทาอาการ โดยใช้น้ำมะนาวผสมน้ำอุ่นผสมเกลือเล็กน้อย หรือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งจิบแก้ไอ

หากลูกไอแบบแห้งไม่มีเสมหะ แนะนำให้ใช้สับปะรด คั้นเอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยจิบ หรือทานทั้งผลก็ได้ สับปะรดมีรสเปรี้ยวอมหวาน ช่วยให้ชุ่มคอ หรือทาวิคส์ที่ฝ่าเท้าแล้วสวมถุงเท้านอนช่วยบรรเทาอาการไอแห้งตอนกลางคืนได้

บทความแนะนำ ลูกไอมาก ทำไงดี?

อาการยอดฮิตอื่นๆ และวิธีรับมือเมื่อ ลูกป่วยครั้งแรก คลิกหน้าถัดไป

3.ท้องเสีย

ลูกท้องเสีย

อาการอุจจาระร่วงเฉียบพลัน หมายถึง การถ่ายอุจจาระอย่างน้อย 3  ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1ครั้งใน 1 วัน

หากลูกท้องเสียในระยะเริ่มแรก ให้กินเกลือแร่โออาร์เอสทดแทนในแต่ละครั้งที่ถ่ายอุจจาระ โดยปริมาณที่เหมาะกับอายุ คือ

  • อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ 2 ออนซ์
  • อายุ 2-6 ปี           ให้ 4 ออนซ์
  • อายุมากกว่า 10 ปี ให้ 8 ออนซ์

เด็กที่กินนมแม่ ให้กินต่อไป ถ้าเด็กเริ่มทานอาหารแล้ว ให้กินโจ๊กหรือข้าวต้มใส่เนื้อไก่หรือเนื้อปลาลงไปด้วย เมื่ออาการดีขึ้นให้เพิ่มมื้ออาหารอีก 1 มื้อ

คุณแม่รู้ไหม? เด็กที่กินนมแม่มักจะไม่เป็นโรคอุจจาระร่วง เพราะในน้ำนมแม่มีสารที่ช่วยป้องการการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร  นมแม่ดีอย่างนี้ คุณแม่ควรให้นมลูกให้นานที่สุดเลยนะคะ

อาการท้องเสียที่ควรพาลูกไปหาหมอ

  • ถ่ายอุจจาระหลายครั้ง หรือมากกว่า 1 ครั้ง ทุก 2 ชั่วโมง
  • ถ่ายอุจาระมีปริมาณมากเพียง 1 ครั้ง ในทารกช่วง 1 เดือนแรก
  • กระหายน้ำ ชอบสะอึก ไม่ฉี่นานกว่า 6 ชั่วโมง
  • อาเจียนบ่อย กินอาหารและน้ำไม่ได้ มีอาการซึม
  • มีไข้สูงและถ่ายเป็นมูกเลือด

4.หูติดเชื้อ

หูติดเชื้อ

ภาพ: rumpleteaser / Flickr

หูติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อของหูชั้นนอก มักเกิดจากการแคะหู การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู หรือการมีขี้หูอุดตัน

การติดเชื้อของหูชั้นกลางและของหูชั้นในมักเกิดตามหลังการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด หรือโรคไข้หวัดใหญ่ หรือเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากโรคภูมิแพ้

เด็กทารกที่ไม่ได้กินนมแม่จะมีโอกาสเกิดหูติดเชื้อได้บ่อยกว่าเด็กที่กินนมแม่ เพราะขาดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่จะได้รับผ่านทางนมแม่

บทความแนะนำ เด็กที่กินนมแม่นานไอคิวดีกว่า

อาการแรกของการติดเชื้อที่หูคือ อาการปวดหู ต่อมาคือ มีการสูญเสียการได้ยิน มีหนอง หรือน้ำ/ของเหลวใสๆ ไหลจากหู ในเด็กเล็กอาจมีไข้สูง ร้องกวน ใช้มือดึงใบหู

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

หากลูกมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ด้านหู คอ จมูก เพื่อตรวจวินิจฉัยว่า การติดเชื้อว่าอยู่ในหูชั้นใด

หูติดเชื้ออาจเป็นสาเหตุให้การได้ยินลดลง ส่งผลให้เด็กพูดได้ช้า นอกจากนั้น หากรักษาล่าช้า หรือเชื้อดื้อยา การติดเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่สมองทำให้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบเป็นหนอง ซึ่งอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้

5.ท้องผูก

ลูกท้องผูก

เด็กทารกไม่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน ถ้าไม่มีอาการอื่นผิดปกติคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวล สำหรับเด็กนมแม่ล้วนอาจไม่ถ่ายนาน 2-3 สัปดาห์ ก็ยังถือว่าปกติ หากถ่ายไม่แข็ง หรือแข็งแค่ส่วนต้น

แต่หากลูกน้อยเบ่งหน้าดำหน้าแดง ถ่ายแข็งจนเจ็บก้น หรือมีเลือดออก อาการเช่นนี้จึงเรียกว่า ท้องผูก ควรให้ความช่วยเหลือดังนี้

หากลูกยังไม่เริ่มอาหารเสริม

  1. ให้คุณแม่พยายามทานผักผลไม้ที่ช่วยระบาย โดยเฉพาะมะละกอ ส้ม พรุน มะขาม
  2. ให้คุณแม่ดื่มน้ำเยอะๆ
  3. เน้นให้ลูกกินนมส่วนต้นซึ่งมีแลคโตสช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
  4. นวดท้องลูก เพื่อช่วยให้ลูกถ่ายออกมาได้เร็วขึ้น

หากลูกทานอาหารได้แล้ว ให้กินน้ำผลไม้ผสมน้ำต้มสุกเจือจาง กินน้ำลูกพรุน ส้ม มะละกอ เป็นต้น

คำเตือน ไม่ควรสวนอุจจาระ เพราะการสวนอุจจาระเด็กเป็นการรบกวนกระบวนการทำงานของสำไส้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งยังทำให้ลูกเคยตัว และไม่ยอมอึด้วยตัวเอง หากแก้ปัญหาไม่ได้ ควรพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.lokehoon.com, https://haamor.com/, สมุดบันทึกสุขภาพลูกน้อย โรงพยาบาลวิภาวดี

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

กันไว้ดีกว่าแก้!!!ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก

ยาแก้แพ้ vs ยาลดน้ำมูก เหมือนกันไหม?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกป่วยครั้งแรก รับมือ 5 อาการยอดฮิตเมื่อ ลูกป่วยครั้งแรก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว