X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รับมือเจ้าหนูขี้อิจฉา อาการนี้เกิดจากอะไร

บทความ 3 นาที
รับมือเจ้าหนูขี้อิจฉา อาการนี้เกิดจากอะไร

เจ้าลูกตัวน้อยของเราจากเด็กที่น่ารักช่างพูด ช่างอ้อน จู่ๆก็กลายเป็นเด็กขี้ฟ้อง ขี้อิจฉาขึ้นมาแบบพ่อแม่ไม่ทันตั้งตัวโดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูก 2 คนขึ้นไป พี่น้องทะเลาะกันไม่เว้นแต่ละวัน เพราะอะไรกันแน่นะ

สาเหตุของความอิจฉา

1.พัฒนาการแต่ละช่วงวัย

เด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการด้านต่างๆแตกต่างกันไป เช่น วัย 3 ขวบจะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน หวงพ่อแม่ หวงของเล่น หวงของกินเป็นต้น วัย 4 ขวบเด็กเริ่มแสดงอารมณ์อิจฉาโดยไม่รู้ตัว อยากเป็นคนสำคัญของพ่อแม่ และเด็ก 5 ขวบนั้นจะเริ่มพัฒนาความคิดเกี่ยวกับพวกฉันและพวกเธอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและความเข้าใจของเด็กและแสดงออกเป็นพฤติกรรม หากพ่อแม่ไม่ให้ความดูแลใส่ใจอย่างเต็มที่ลูกคนโตอาจรู้สึกอิจฉาน้อง หรืออิจฉาเพื่อน

2.มีน้องเพิ่มเป็นสมาชิกใหม่

จากที่เคยเป็นศูนย์กลางของครอบครัว เคยได้รับความรักความใส่ใจ ครอบครองทั้งพ่อและแม่เพียงคนเดียวแต่จู่ๆต้องมาปรับตัวกับการมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามา และพ่อแม่ยังไปทุ่มเทความสนใจดูแลน้องเล็กมากกว่าอีก ก็ไม่แปลกที่เด็กน้อยตัวเล็กนิดเดียวจะสับสน ไม่เข้าใจ ส่งผลต่อการแสดงอารมณ์หากพ่อแม่ละเลย และยิ่งบังคับให้ดูแลน้องโดยไม่ได้พูดคุยทำความเข้าใจให้เด็กมีพื้นฐานจิตใจที่เข้มแข็งพอ ปัญหาเรื่องความอิจฉาอาจบานปลายมากกว่าที่คิด

รับมือเจ้าหนูขี้อิจฉา อาการนี้เกิดจากอะไร

3.ถูกเปรียบเทียบ

Advertisement

การนำลูกไปเปรียบเทียบกับน้อง กับพี่ กับเพื่อนหรือเด็กคนอื่นว่าไม่เก่งเท่าพี่ ไม่ดีเท่าน้อง อาจกลายเป็นการทำร้ายจิตใจครั้งยิ่งใหญ่สร้างปมในจิตใจให้ลูก กลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง นำไปสู่ความเกลียดชัง อิจฉาเพื่อน อิจฉาน้อง ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตให้รู้ว่าลูกแต่ละคนมีความสนใจหรือมีความสามารถพิเศษที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร แล้วสนับสนุนในสิ่งที่ลูกชอบ ดีกว่าบังคับให้ลูกทำอย่างนั้นอย่างนี้แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นหรือแม้แต่พี่น้อง

4.การแสดงออกของพ่อแม่

แม้พ่อแม่จะบอกลูกว่ารักเท่ากัน แต่การแสดงออกของพ่อแม่ที่มีต่อลูกกลับไม่เหมือนกัน ตามปรกติแล้วด้วยความที่น้องเล็กกว่าพ่อแม่อาจใส่ใจลูกเล็กจนละเลยความรู้สึกของลูกคนโต หรือมัวแต่วุ่นวายกับลูกคนใหม่จนไม่มีเวลาสังเหตหรือให้ความใส่ใจลูกคนโตได้เต็มที่เหมือนเมื่อก่อนก็อาจทำให้ลูกคนโตเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ กลายเป็นอิจฉาน้องได้ ทางที่ดีคุณแม่ควรใช้เวลาพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกคนโตตั้งแแต่เริ่มต้องท้องน้อง สร้างสายสัมพันระหว่างพี่น้องตั้งแต่เนิ่นๆ และต่อเนื่อง อธิบายให้รู้ว่าน้องต้องการความช่วยเหลืออย่างไรและเขาจะช่วยพ่อแม่ดูแลน้องได้อย่างไร เช่นวางแผนให้ไปเลือกเสื้อผ้า ของใช้เตรียมให้น้อง ช่วยจัดห้องจัดข้าวของให้น้อง เมื่อน้องคลอดก็ให้เขามีส่วนร่วมในการดูแลน้อง เตรียมของ หยิบของให้ ปลูกฝังความรักและหมั่นสานสัมพันระหว่างพี่น้องให้แนบแน่นมั่นคง

5.ท่าทีที่พ่อแม่แสดงออกเมื่อพี่น้องทะเลาะกัน

พี่น้องเวลาเล่นกันย่อมมีเรื่องให้ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ท่าทีที่พ่อแม่มีต่อการทะเลาะของลูกก็มีส่วนทำให้ลูกเข้าใจกันได้เร็วขึ้น หรือไม่ก็จะยิ่งเกลียดขี้หน้ากันมากขึ้น หากแม่ลงโทษพี่โดยใช้เหตุผลว่าเป็นพี่ต้องเสียสละ น้องยังเล็กต้องยอมน้อง ยิ่งทำให้ลูกคนโตน้อยใจ ไม่เข้าใจ สับสนจนกลายเป็นอิจฉาและเกลียดน้องไปเลย หรือพ่อแม่ไม่ฟังเหตุผลของน้องแล้วลงโทษแบบไม่ยุติธรรมยิ่งทำให้ความไม่เข้าใจระหว่างพี่น้องสะสมและบานปลายลุกลามใหญ่โต

สิ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจคือต้องให้ลูกๆทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้บ่อยเท่าที่จะทำได้เพื่อเป็นการสานสายใยให้พี่น้องรู้จักการพึ่งพาอาศัย เห็นคุณค่าของการมีเพื่อนคอยรับฟังและให้คำปรึกษา สอนให้ลูกรู้จักให้อภัยและเข้าใจในเหตุผล การแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นของพี่หรือของน้อง ไม่นำลูกมาเปรียบเทียบกัน ไม่นำความผิดน่าอายของลูกมาพูดในเชิงล้อเลียนเป็นเรื่องตลกขบขันในครอบครัว หรือให้พี่น้องล้อเลียนเพราะจะยิ่งสร้างความน้อยใจให้กับลูกจนสะสมนำไปสู่ความอิจฉาและเกลียดชังซึ่งกันและกันกับลูก

แหล่งข้อมูล

เมื่อลูกคนโตกลายเป็นพี่ ลูกที่น่ารัก … กลายเป็น "ลูกขี้อิจฉา"

dailynews

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

daawchonlada

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • รับมือเจ้าหนูขี้อิจฉา อาการนี้เกิดจากอะไร
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว