X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาพแรกของ " ทารกแรกเกิดแฝดสยาม " ในเม็กซิโก

บทความ 5 นาที
ภาพแรกของ " ทารกแรกเกิดแฝดสยาม " ในเม็กซิโก

เมื่อไม่นานมาได้เกิดเรื่องราวที่ไม่คาดฝันขึ้นกับทีมแพทย์ และครอบครัว เมื่อพบว่า ทารกแรกเกิดที่พวกเขาทำคลอดนั้น เป็นทารกแรกเกิดที่มีสองศีรษะ และใช้ลำตัวเดียวกัน ซึ่งแม้แต่แม่ก็ไม่เคยรู้มาก่อน แต่ทีมแพทย์กลับไม่ยอมแพ้ และพร้อมที่จะช่วยเหลือ ทารกแรกเกิดแฝดสยาม รายนี้อย่างสุดความสามารถ และหนึ่งในสมาชิกครอบครัวของหนูน้อยนั้น ก็ได้ทำการโพสต์ภาพและคลิปแรกของหนูน้อยทั้งสองผ่านสื่อออนไลน์ด้วย

 

มาทำความรู้จักกับแฝดสยามกัน

แฝดสยามหรือฝาแฝดตัวติดกัน คือ แฝดผู้มีร่างกายติดกันมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นเมื่อ ไซโกท พยายามแบ่งตัวเป็นแฝด แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ฝาแฝดติดกัน มีโอกาสในการเกิดจาก 1 ต่อ 50,000 ถึง 1 ต่อ 200,000 คน ซึ่งฝาแฝดตัวติดกันมีโอกาสมีชีวิตรอดน้อยมาก โดยประมาณร้อยละ 5 ถึง 25 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง (ประมาณร้อยละ 70 – 75)

แฝดสยาม แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนกลางร่างกาย คือ อกและท้อง
2. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณเชิงกราน
3. อวัยวะเชื่อมต่อด้วยส่วนล่างของร่างกาย เช่น ก้นกบ สะโพก
4. อวัยวะเชื่อมติดกันบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ศีรษะ
ซึ่งแฝดสยามชนิดที่พบมากที่สุดได้แก่ ประเภทที่ 1 และแฝดสยามที่พบน้อยที่สุดได้แก่ ประเภทที่ 4 และประเภทนี้นี่เอง ที่ได้จัดว่า เป็นการผ่าตัดที่ยากที่สุดอีกด้วย และฝาแฝดสยามที่มีชื่อเสียงรู้จักกันมากที่สุด คือ อิน และ จัน บุนเกอร์ ฝาแฝดชาวจีน ที่เกิดในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 2 นั่นเองค่ะ
ทารกแรกเกิดแฝดสยาม
Advertisement

สังเกตอย่างไรว่ากำลังตั้งท้องแฝด

ตามคำแนะนำของแพทย์ ได้มีการกล่าวถึงว่า การตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่สองคนขึ้นไปถือเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะจะมีภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์มากขึ้น ยิ่งจำนวนลูกในครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะเป็นอันตราย ส่งผลต่อแม่และลูกในท้องมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นหากคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งท้องแฝด ก็จะเป็นผลดีที่จะดูแลตัวเอง และรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจครรภ์ แต่คุณแม่จะดูยังไง จะรู้ได้อย่างไรว่าท้องแฝด

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าท้องแฝด เมื่อเริ่มตั้งครรภ์

  • คุณแม่จะรู้สึกว่าร่างกาย จะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ แพ้ท้อง และอาเจียนหนักมาก ประมาณ 50% ของคุณแม่ท้องมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ตอนนี้คุณแม่อาจจะสงสัยอยู่ว่า ลูกแฝดจะต้องมีอาการแพ้ท้องแบบคูณสองไหม แต่จากการทำโพลสำรวจพบว่า มีคุณแม่ลูกแฝดเพียง 15% เท่านั้นที่มีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก ในขณะที่บางคนแพ้ท้องปกติ บางคนไม่แพ้เลยก็มีค่ะ
  • ท้องแฝดจะมีขนาดของท้องที่โตเร็ว และใหญ่มากกว่าท้องปกติที่มีอายุครรภ์เท่ากัน เช่น ถ้าครรภ์ปกติสามเดือนแรก เราอาจจะยังไม่เห็นว่าหน้าท้องขึ้นชัด แต่ถ้าเป็นท้องแฝดจะเห็นขนาดของท้องที่เด่นชัดขึ้นมา ซึ่งอาจจะโตได้เท่ากับอายุครรภ์ห้าเดือน ตลอดการตั้งครรภ์ คุณหมอจะวัดระดับความสูงของยอดมดลูกเพื่อประเมินอายุครรภ์ ในกรณีที่คุณแม่ได้ลูกแฝดอาจทำให้ขนาดมดลูกของคุณขยายมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คุณแม่ท้องใหญ่ได้เช่นกัน
  • คุณแม่จะมีน้ำหนักที่ขึ้นมา และรวดเร็วจนสามารถสงสัยได้ว่ากำลังตั้งท้องแฝด น้ำหนักตัวของคุณแม่ อาจจะเพิ่มขึ้นอย่างชนิดที่ว่า มากกว่าคุณแม่ครรภ์เดี่ยวประมาณ 4.5 กิโลกรัม แต่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็มักเกิดการรับประทานอาหารของคุณแม่มากกว่าที่จะชี้ว่า เป็นเพราะคุณได้ลูกแฝด
  • คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเร็วกว่าปกติ และมีจำนวนการดิ้นที่มาก บางครั้งรู้สึกถึงลูกดิ้นทั้งซ้าย ขวา หรือบน ล่าง เป็นเพราะว่าในครรภ์มีทารกถึงสองคน (หรือมากกว่า)  หากแต่ทางการแพทย์ไม่ได้เชื่ออย่างนั้น เพราะแม้ว่าความรู้สึกว่าเจ้าตัวน้อยเคลื่อนไหวอยู่ภายในมดลูกเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ แม้ว่าคุณแม่ลูกแฝดมักจะบอกว่า เขารับรู้ได้ว่าลูกดิ้นบ่อยกว่า และรู้สึกได้ก่อนคุณแม่คนอื่นๆ แต่ในทางการแพทย์ไม่เชื่อเช่นนั้น เนื่องจาก อาการเช่นนี้สามารถพบได้ในคุณแม่ท้องสองเป็นต้นไปไม่ว่าจะตั้งครรภ์แฝด หรือครรภ์เดี่ยวก็ตาม

 

วิดีโอจาก : คนท้อง Everything Channel 

 

สิ่งที่ควรทำเมื่อรู้ว่าตั้งท้องแฝด

  • เมื่อสังเกตว่ากำลังตั้งท้องแฝด ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจครรภ์ให้เร็วที่สุด
  • แพทย์จะทำการฟังตำแหน่งของเสียงหัวใจเด็ก ที่จะฟังหัวใจได้สองตำแหน่ง และคลำส่วนต่าง ๆ ของเด็กทางหน้าท้องที่มีมากกว่าหนึ่งคน
  • ไปพบคุณหมอเพื่ออัลตร้าซาวด์ และตรวจสุขภาพทารกแฝดในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำหนดอายุครรภ์ และประมาณน้ำหนัก ประเมินตรวจหาความพิการทั่วไป ซึ่งพบได้บ่อยขึ้นในการตั้งท้องแฝด หรือกรณีที่ฝาแฝดอาจติดกัน ทำการวัดสัดส่วนของทารก ตรวจท่าของทารกโดยเฉพาะในระยะคลอด ตำแหน่งรกเกาะ กรณีที่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ทั้งโครงสร้างและการเติบโตให้ตรวจซ้ำทุก 4 สัปดาห์ กรณีที่มีความผิดปกติในการเติบโต ให้ตรวจซ้ำทุก 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กทารกคนหนึ่งคนใด หรือทั้งสองคนมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ

 

การตั้งท้องแฝดอาจจะมีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ ฉะนั้นแล้ว หากคุณแม่คนไหนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังตั้งท้องสองเบบี๋เป็น ทารกแรกเกิดแฝดสยาม อยู่หรือไม่ อย่าลืมรีบไปปรึกษาคุณหมอนะคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

เรื่องราวปาฏิหาริย์ของชีวิตฝาแฝดตัวติด

เบื้องหลังการถ่ายภาพคู่แฝดและทารกสุดน่ารัก

กว่าจะได้ลูกแฝดไม่ใช่เรื่องง่าย ภาวะแทรกซ้อนที่แม่ท้องแฝดต้องระวัง !!

 

ที่มาข้อมูล : bbc matichon mirror

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ภาพแรกของ " ทารกแรกเกิดแฝดสยาม " ในเม็กซิโก
แชร์ :
  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว