X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

บทความ 5 นาที
ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

แม่เริ่มท้องลูกอีกคนจนกังวลปัญหาพี่อิจฉาน้อง ทำยังไงให้ลูกเข้าใจว่า กำลังจะมีน้อง

คุณแม่ลูกสอง ลูกสาม อาจจะประสบปัญหา ลูก ๆ ทะเลาะกันบ้างงอน คุณพ่อคุณแม่บ้าง บางคนก็ว่า พอ่กับแม่รักลูกไม่เท่ากัน หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาโลกแตก พี่อิจฉาน้อง น้องอิจฉาพี่ แต่จริง ๆ แล้ว มีวิธีแก้ หรืออย่างน้อย ก็ช่วยให้บรรยากาศระหว่าง พี่ น้อง ดีขึ้นค่ะ

วิธีที่ดีที่สุดที่จะจัดการปัญหา พี่อิจฉาน้อง คือ การป้องกันไม่ให้เกิดการอิจฉา ตั้งแต่ตอนที่แม่ท้องน้องอีกคน ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ไปดูกันค่ะ

พี่อิจฉาน้อง

พี่น้องเล่นด้วยกัน ปัญหา พี่อิจฉาน้อง ก็อาจจะดีขึ้น

ให้พี่รับรู้ว่ามีน้องอีกคนอยู่ในท้องแม่

บอกคนพี่ว่า แม่กำลังจะมีน้องออกมาเป็นเพื่อนเล่นของหนู ให้พี่ได้สัมผัสท้องแม่ รับรู้ว่ามีน้องอยู่ในท้อง อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า หนูเองก็เคยอยู่ในท้องของแม่นะ ตอนแม่ท้องลูก แม่มีความสุขมากๆ เลย

ให้พี่แนะนำตัวเองให้น้องรู้จัก

ชวนพี่พูดคุยกับน้องบ่อยๆ เป็นการเตรียมตัว และให้พี่แนะนำตัวเองให้น้องรู้จัก รวมทั้งหากิจกรรมที่ทำด้วยกัน เช่น เล่านิทาน หรือเล่าเรื่องสมมติให้ลูกได้เรียนรู้ถึงการมีพี่มีน้อง

ให้พี่จัดเตรียมของต้อนรับน้องที่จะคลอดออกมา

พาลูกไปซื้อของ หรือแม้แต่จัดเตรียมของเล่น ของใช้ไว้ต้อนรับน้องน้อยที่จะคลอดออกมา พอพี่ช่วยจนเสร็จ แม่ก็ต้องชื่นชมพี่ด้วยว่า พี่เก่งจังเลย แม่ดีใจมากๆ ที่มีพี่มาช่วยแม่ ทำให้พี่รู้สึกภาคภูมิใจ เป็นการสร้างความผูกพันให้กับสองพี่น้อง

พี่อิจฉาน้อง

พี่ดูแลน้อง ก็แก้ปัญหาได้

พี่อิจฉาน้องเป็นเรื่องปกติหรือไม่

Advertisement

ขอตอบเลยว่า เป็นเรื่องปกติ เพราะลูกคนแรกนั้นเติบโตมาก่อน พ่อแม่ และครอบครัว ให้ความสนใจพี่มาตั้งแต่เล็ก ๆ เมื่อวันหนึ่งที่มีน้องออกมา พ่อแม่ให้ความสนใจมากกว่า ก็จะเกิดอาการน้อยใจว่า พ่อแม่รักน้อง จนไม่รักพี่แล้ว ซึ่งเป็นธรรมดาสำหรับเด็กในวัย 1-3 ปี

พอมีน้องอีกคนเข้ามาในครอบครัว ก็มีบ้าง ที่พี่จะเรียกร้องความสนใจ หรือมีพฤติกรรมย้อนวัยกลับไป อาทิ ดูดนิ้ว อยากดูดขวดนมของน้อง หรือพยายามแกล้งน้อง เพราะคนพี่รู้สึกว่า ความรักของพ่อกับแม่ โดนแบ่งปันไป

ดังนั้น การสร้างความผูกพันของพี่น้อง ตั้งแต่น้องอยู่ในท้อง รวมถึงการดูแลใส่ใจให้พี่ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว จึงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาฝาก

1.ทำทุกอย่างให้เหมือนเดิมที่สุด

ไม่ควรให้พี่ย้ายห้อง หรือพาพี่ไปฝากไว้กับคนอื่นในครอบครัวบ่อย ๆ เพราะจะทำให้พี่รู้สึกว่า น้องมาแย่งความรัก พ่อแม่ไม่รักพี่เหมือนเดิมแล้ว แม้แต่ตอนที่แม่คลอดน้อง ก็ควรจะให้พี่มาหาน้องที่โรงพยาบาล และในวันที่แม่กลับบ้าน ก็ควรอยู่กับพี่บ้าง ให้พี่รู้สึกว่าแม่ยังรักพี่ไม่มีเปลี่ยนแปลง

2.พี่ช่วยดูแลน้องได้

สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ทั้งพี่ ทั้งน้อง เลิกอิจฉากัน คือการสร้างความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างทั้งคู่ให้แน่นหนา คุณแม่อาจจะให้พี่ช่วยหยิบขวดนม พาไปหยิบผ้าอ้อม ช่วยป้อนข้าว หรือให้พี่อยู่ใกล้ ๆ เวลาที่แม่ดูแลน้อง ที่สำคัญ อย่าดุ หรือตำหนิ  หากพี่ดูแลน้องไม่ถูกต้อง คุณพ่อ คุณแม่ต้องสอนวิธีที่ถูกต้องให้พี่ก่อน และอย่าลืมที่จะขอบคุณพี่ที่ช่วยเหลือ แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ รวมทั้ง  สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจให้พี่ และทำให้เขารู้สึกว่า ตัวเองเป็นส่วนสำคัญของคุณพ่อ คุณแม่ และน้องเสมอ

3.แม่และพี่ต้องมีเวลาส่วนตัว

อย่ามัวแต่ดูแลน้อง จนลืมใส่ใจความรู้สึกพี่ แม่ต้องพยายามทำกิจกรรมเดิม ๆ ที่เคยทำด้วยกัน อย่างการเล่านิทานก่อนนอน พาพี่ไปเดินเล่นบ้าง ให้พี่ไม่รู้สึกอิจฉาน้องที่มาเอาเวลาทั้งหมดจากแม่ไป ถ้าแม่ไม่ว่างจริง ๆ พ่อหรือคนในครอบครัว ก็ต้องมาเป็นเพื่อนเล่นระหว่างที่แม่ดูแลน้อง พี่จะได้ไม่รู้สึกหว้าเหว่

พี่อิจฉาน้อง

ครอบครัวอบอุ่น สุขสันต์

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ที่มา : psychologytoday

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิจัยยัน!! ลูกแบบนี้แหละ โตมากลายเป็นเสาหลักของครอบครัวได้

มีลูกหัวปีท้ายปี หรือห่างกันหลายปี แบบไหนดีกว่ากัน

สอนพี่ให้รักน้อง สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง เทคนิคการเตรียมพี่ให้รักน้อง ประสบการณ์คุณหมอลูกสอง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว