X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การฝึกลูกขับถ่าย 9 สัญญานที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งอึเองได้แล้ว

บทความ 5 นาที
การฝึกลูกขับถ่าย 9 สัญญานที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งอึเองได้แล้ว

หนึ่งในเป้าหมายของคุณเมื่อลูกเข้าสู่วัยเตาะแตะก็คือ การให้ลูกได้ฝึกขับถ่ายและเข้าห้องน้ำเองได้อย่างมีความชำนาญ ในช่วงเวลาที่ลูกกำลังเจริญเติบโต การควบคุมการขับถ่าย เป็นหนึ่งในความสามารถทางพัฒนาการที่มีความสำคัญต่อเด็กและครอบครัว ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของลูกด้วย

การฝึกลูกขับถ่าย เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณแม่คาดหวังเอาไว้ว่าอย่างน้อยเจ้าตัวเล็กในวัยเตาะแตะของคุณแม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ควรมองดูด้วยว่าลูกมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจหรือยัง เพราะปัญหาที่พบบ่อยที่ลูกน้อยปฏิเสธที่จะฝึกขับถ่าย เช่น พื้นฐานทางอารมณ์ของลูกหรือการฝึกโดยไม่เข้าใจจากคุณพ่อคุณพ่อเอง

การฝึกลูกขับถ่าย

การฝึกลูกขับถ่าย

ทำไม ต้องฝึกการขับถ่ายให้ลูก

นิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ และ อุจจาระที่เหมาะสมของลูกจะส่งเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางกาย จิตใจ อารมณ์และพฤติกรรมเหมาะสมตามวัย เด็กที่มีการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ดราด หรือแม้แต่การฉี่รดที่นอน เกิดความอับชื้นของกางเกงอาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอ จนเป็นรอยถลอกและติดเชื้อง่าย การกลั้นปัสสาวะหรือการที่ลูกไม่ชอบเข้าห้องน้ำทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ได้ตามปกติจนมีผลกระทบต่อไตเกิดความเสียหายอย่างถาวร การไม่ถ่ายอุจจาระเป็นประจำจะทำให้อุจจาระแข็ง เจ็บทวารหนักเวลาถ่าย อาจทำให้เกิดแผล ฝี หรือริดสีดวงทวาร ทำให้ท้องอืดไม่อยากอาหาร จนลูกเจริญเติบโตช้ากว่าที่ควร ถ้าลูกไปโรงเรียน ลูกอาจจะมีปัญหาในการดูแลความสะอาดเมื่อเกิดการขับถ่ายเล็ดราด จนกระทบต่อกิจกรรมของลูก และต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนที่โรงเรียนเรามีวิธีฝึกลูกให้ถ่าย และสัญญานที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งอึเองได้แล้ว

เตรียมการฝึกลูกน้อย

  1. ตัวลูกน้อย สอนให้สื่อสาร ส่วนใหญ่ใช้คำว่า “ฉี่” แทนปัสสาวะ และ “อึ” แทนอุจจาระ อาจสอนผ่านทางหนังสือหรือสื่อต่าง ๆ ที่มีรูปภาพของการฝึกขับถ่าย รูปกระโถน รูปชักโครก รูปห้องน้ำ ให้ลูกได้เห็นเวลาพ่อแม่ถ่ายปัสสาวะที่โถส้วม
  2. พ่อ แม่ และผู้ดูแลเด็ก ทุคนที่ร่วมดูแลลูกควรพร้อมที่จะให้เวลาในการฝึกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ทั้งเมื่ออยู่ในบ้านและเมื่อออกนอกบ้าน เข้าใจวิธีการฝึกที่ตรงกัน มีความเข้าใจว่าลูกต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และไม่คาดหวังมากเกินไป
  3. กระโถน ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกกระโถน ควรเลือกขนาดไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ต้องให้ลูกนั่งได้อย่างสบาย ไม่เกร็ง ไม่หนีบขา อาจต้องมีไว้อีก 1 กระโถน ที่เหมือนกันสำหรับสถานที่รับเลี้ยงเด็กถ้าต้องฝากเลี้ยงในระหว่างวัน ไม่เปลี่ยนห้องที่วางกระโถนให้มีของเล่น และ หนังสือที่ลูกชอบในห้องนั้น
  4. กางเกง ลูกควรมีส่วมร่วมในการเลือกกางเกง โดยพ่อแม่ช่วยเลือกแบบที่ใส่สบาย ไม่รัดรูป ลูกสามารถดึงขึ้นลงได้ง่ายด้วยตนเอง

การฝึกลูกน้อยขับถ่าย

Advertisement
  1. ให้รู้จักบอกเมื่อจะขับถ่าย และให้รู้จักขับถ่ายในที่ที่เหมาะสม สังเกตการณ์แสดงออกของลูก เมื่อจะขับถ่าย เช่น อยู่ ๆ ก็หยุดอยู่กับที่ ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด อารมณ์ไม่ดี จับที่ผ้าอ้อมหรืออวัยวะเพศ เป็นต้น เมื่อมีการแสดงออกที่สงสัยว่าจะขับถ่ายให้ถามลูกว่า “ฉี่ไหม” หรือ “อึไหม” เพื่อให้ลูกรู้ว่าเป็นการปวดปัสสาวะ หรือ อุจจาระ แล้วจึงพาไปที่กระโถนหรือห้องน้ำ เมื่อถูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ว่าจะถ่ายรดผ้าอ้อม รดกางเกง หรือถ่ายลงในกระโถนก็ใก้บอกลูกว่า “ฉี่เหรอ” หรือ “อึเหรอ” แล้วพาไปเข้าห้องน้ำ ล้างทำความสะอาด และให้ทิ้งสิ่งขับ  ถ่ายลงในโถส้วมให้ลูกได้เห็น
  2. ให้คุ้นเคยกับการนั่งกระโถน ให้ลูกลองนั่งกระโถนบ่อย ๆ อาจนั่งโดยที่ในช่วงแรกลูกยังอยากที่จะสวมผ้าอ้อมไว้ หรือถ้าลูกยอมก็ให้นั่งในขณะที่ไม่ได้สวมผ้าอ้อม หากิจกรรมให้ลูกทำระหว่างการนั่งกระโถน เช่น อ่านนิทานให้ฟัง เล่นของเล่นเป็นต้น ให้ชวนลูกนั่งกระโถนทุก 2-3 ชั่วโมง หรือใน ½ ชั่วโมง หลังกินนมหรือน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะ และให้ลูกนั่งกระโถนในช่วงเช้าทุกวันหลังตื่นนินหรือหลังมื้ออาหาร เพื่อถ่ายอุจจาระ ให้นั่งไม่นานเกิน 2-3 นาทีในแต่ละรอบเพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกเบื่อ ไม่ควรคาดหวังว่าในช่วงแรกลูกจะถ่ายออกทุกครั้งที่หัดนั่งกระโถน ให้ชมเชยทุกครั้งหรืออาจให้เป็นสติ๊กเกอร์ติดที่รอบกระโถนเมื่อลูกนั่งที่กระโถน ถึงแม้ว่าลูกไม่ได้ถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระ

เมื่อทำการฝึกไปสักระยะแล้ว ถ้ารู้สึกว่าลูกยังไม่พร้อมให้หยุดการฝึกไปก่อน ให้ลูกกลับใช้ผ้าอ้อม และอาจเริ่มต้นฝึกอีกครั้งใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา

เทคนิคช่วยการขับถ่ายของลูกน้อย

          1.เมื่อลูกเปลี่ยนจากใช้กระโถนมาขับถ่ายที่โถส้วมให้ใช้ฝารองนั่งชักโครก และหาที่วางเท้าให้ลูกวางได้เต็มฝ่าเท้า ไม่ให้เท้าลอยจากพื้นเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
2. ฝึกขับถ่ายให้สม่ำเสมอ ให้ลูกน้อยขับถ่ายเป็นเวลา กำหนดเวลาให้ถ่ายปัสสาวะทุก 2-3 ชั่วโมง ในระหว่างวัน และให้ถ่ายอุจจาระทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
3. ไม่ตำหนิหรือหงุดหงิดใส่ เมื่อลูกถ่ายรดกางเกงแต่ให้ชมเชยทุกครั้งเมื่อลูกขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง
4. ให้ถ่ายปัสสาวะซ้ำ จะเป็นประโยชน์สำหรับลูกที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไหลย้อน หรือ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดี โดยให้ลูกถ่ายปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง โดยเว้นช่วงประมาณ 1 นาที หลังการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้ง
5. ดื่มน้ำเปล่าให้มากพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะและช่วยให้อุจจาระนุ่มถ่ายออกง่าย
6. กินอาหารที่มีกากใยให้เพียงพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดอุจจาระ
7. ไม่ดื่มนมมากเกินไป เนื่องจากนมมีปริมาณไขมันมากทำให้การเคลื่อนตัวของลำไส้ช้าลง ทำให้การฝึกขับถ่ายอุจจาระยากขึ้น โดยทั่วไปเด็กอายุ 1-2 ปี ไม่ควรดื่มนมเกิน 32 ออนซ์ ต่อวัน

ฝึกลูกขับถ่าย 9 สัญญานที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งอึเองได้แล้ว

 

1.ความพร้อมในการฝึกลูกขับถ่ายควรจะเกิดขึ้นในเวลาที่ทุกสิ่งทุกอย่างลงตัว เช่น เวลา สถานที่ และอายุ แม้แต่การป่วยเป็นหวัดเล็ก ๆ น้อย ก็อาจทำให้เจ้าตัวเล็กนั้นยังไม่อยากเริ่มต้นที่จะฝึกนั่งกระโถนตอนนี้

2.เมื่อลูกเริ่มคุ้นเคยกับกับการถอดผ้าอ้อมสำเร็จลูก และสามารถใส่และถอดกางเกงได้เอง

3.เลือกใช้กระโถนที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กและหาสิ่งที่น่าสนใจดึงดูดเจ้าตัวน้อยในยามที่เข้ามาใช้ห้องน้ำ ควรหาเก้าอี้เล็ก ๆ ไว้สำหรับให้ลูกได้วางเท้าได้เต็มฝ่าเท้า เพื่อจะได้เบ่งถ่ายง่ายขึ้นโดยไม่ต้องกลัวล้มหรือตกลงมา

4.เมื่อลูกรู้จักบอก และไม่ชอบความเฉอะแฉะของผ้าอ้อมที่เปียกชื้นและสกปรก

ฝึกลูกขับถ่าย

การฝึกลูกขับถ่าย

5.เมื่อลูกสามารถควบคุมการขับถ่ายได้ โดยไม่ฉี่ราดหรืออุจจาระราด แสดงให้รู้ว่าไม่ชอบที่จะทำเลอะเทอะในกางเกงหรือผ้าอ้อมที่ใส่อยู่ เริ่มแสดงออกทางสีหน้าท่าทางว่ารู้สึกปวดอุจาระหรือปัสสาวะ

6.เมื่อลูกเริ่มเข้าใจคำว่า “ฉี่” หรือ “อึ” และทำตามคำแนะนำง่าย ๆ และกระตือรือร้นในการเรียนรู้

7.เมื่อลูกสามารถสื่อสารบอกสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ เด็กน้อยวัยเตาะแตะนั้นต่างก็มีวิธีการของตนเองในการบ่งบอกถึงสิ่งที่ต้องการ ซึ่งไม่ได้มีแค่การสื่อสารด้วยการพูดเพียงอย่างเดียวที่จะเป็นสัญญาณแสดงถึงความพร้อมในการฝึกเข้าห้องน้ำ แต่อาจจะเป็นการชี้ การทำท่าทาง การส่งสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้แต่การเต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ต่างก็เป็นการสื่อสารที่จะบอกได้ว่าลูกกำลังจะถ่ายออกมาแล้วนะ

ฝึกลูกขับถ่าย

การฝึกลูกขับถ่าย

8.เมื่อลูกสามารถนั่งอยู่นิ่งได้ช่วงเวลาหนึ่ง เพราะเด็กวัยเตาะแตะนั่นไม่ค่อยชอบที่จะนั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นพ่อแม่อาจจะต้องคอยอ่านหนังสือ ร้องเพลง หรือแม้แต่เล่นตุ๊กตาชักใยให้ดูในห้องน้ำเพื่อสร้างความสนุกในตอนที่กำลังฝึกให้ลูกนั่งโถ เพื่อให้เขานั่งโถได้นานพอที่จะ “ขับถ่าย” ออกมา

9.เมื่อลูกเรียกร้องที่จะใส่กางเกงในมากกว่าที่จะใส่ผ้าอ้อม เมื่อลูกคุ้นเคยดีแล้วพ่อแม่ควรสอนลูกพร้อมกับเรื่องการทำความสะอาด เช่น การล้างการเช็ด และสอนให้ล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำ

การขับถ่ายได้เองและตรงเวลาไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคท้องผูก

ท้องผูกในเด็กเป็นปัญหาที่พบได้มาก แม้จะดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยให้ลูกมีอาการท้องผูกนานๆ โดยไม่ทำการรักษา ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกทั้งทางร่างกายและจิตใจได้

ท้องผูกในเด็ก ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เป็นเพียงอาการหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ พบว่า 95% ของอาการท้องผูกในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและนิสัยในการขับถ่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีอาหารฟาสต์ฟู้ดมากมาย ทำให้เด็กรับประทานผักและผลไม้น้อยลง ร่วมกับดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายแล้วเจ็บ เมื่อเจ็บก็ทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย จึงกลั้นอุจจาระ ซึ่งถ้ากลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย อุจจาระอยู่ในร่างกายนานๆ ก็จะแข็งขึ้น ก้อนใหญ่ขึ้น จึงเกิดอาการท้องผูกตามมาในที่สุด เด็กที่มีอาการท้องผูกมักมีอาการปวดท้องเป็นอาการนำ ซึ่งถ้าเป็นมากๆ ก็อาจทำให้มีอาการปวดท้องเหมือนเป็นโรคอื่นได้ เช่น เด็กบางรายที่มีอาการท้องผูกมาก ๆ อาจมีอาการปวดท้องมากจนเดินตัวงอเหมือนเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ดังนั้นเมื่อลูกบอกว่าปวดท้อง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าลูกมีอาการอื่น เช่น มีไข้ ซึ่งแสดงถึงภาวะติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่ เพราะโดยทั่วไปแล้วอาการปวดท้องจากท้องผูกมักไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เมื่อได้ถ่ายก็จะหายปวดได้เอง

ดังนั้น หากเด็กมีอาการท้องผูกมานานหรือปวดท้องไม่หาย คุณพ่อคุณแม่ควรพามาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติการรับประทานอาหาร ในกรณีที่จำเป็นอาจต้องทำการเอกซเรย์ หรืออัลตราซาวนด์ร่วมด้วย เมื่อวินิจฉัยได้แน่ชัดแล้วว่าเป็นท้องผูก ก็อาจทำการสวนอุจจาระและแนะนำการปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงจนถึงจุดที่การปรับเปลี่ยนอาหารไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ แพทย์อาจต้องให้ยาเพื่อทำให้อุจจาระนิ่มลง ซึ่งจะช่วยให้เด็กไม่มีความเจ็บปวดเวลาถ่าย หายกลัว และสามารถถ่ายแบบธรรมชาติได้ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยลดยาลง ทั้งนี้การรับประทานยาจำเป็นต้องทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการรับประทานอาหารและการฝึกขับถ่ายให้ตรงเวลาด้วย

การที่ลูกมีสัญญาณความพร้อมที่จะฝึกเข้าห้องน้ำได้เอง หลังจากนี้เด็กจะค่อย ๆ ควบคุมการขับถ่ายได้ สามารถกลั้นปัสสาวะและอุจาระได้ยาวนานขึ้น อย่างไรก็ตามความพร้อมในการฝึกขับถ่ายของเด็กแต่ละคนนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุที่แน่นอน บางคนได้เป็นได้เร็วหรือช้า ขึ้นกับพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของลูก ดังนั้นพ่อแม่ควรใช้ความอดทนในเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้การที่ลูกจะสามารถขับถ่ายได้เองยังเกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกายของตัวเด็กเองอีกด้วย

ที่มา : www.si.mahidol.ac.th


Credit content :

www.mamainthenow.com

www.breastfeedingthai.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

อุปกรณ์จำเป็นฝึกลูกขับถ่ายให้เป็นเรื่องง่าย

รอบรู้เรื่อง การขับถ่ายของทารก

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • การฝึกลูกขับถ่าย 9 สัญญานที่บอกว่าลูกพร้อมนั่งอึเองได้แล้ว
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว