X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

22 Nov, 2017
บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า เรื่องดีได้บุญหรือเรื่องอันตรายในสายตาคนอื่น ภาพการให้นมที่แสนอบอุ่นนี้ใครเลยจะรู้ว่า หนึ่งคนนั้นไม่ใช่ลูกในไส้ แต่เป็นเด็กที่เธอไม่เคยเห็นหน้าเลยด้วยซ้ำ

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า

Rebecca Wanosik ในวัย 30 ปี เธอเป็นแม่บ้าน มีหน้าที่ดูแลลูก ๆ ทั้ง 6 คน วันนั้นเป็นแค่หนึ่งวันธรรมดา ขณะออกไปทานอาหารเย็นนอกบ้าน เธอได้รับข้อความจากเพื่อน แล้วเธอก็บอกสามีว่า ถือเวลาเรียกเก็บเงินแล้ว และสิ่งที่เธอหลังจากนั้นคือ บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า

บางคนอาจรู้สึกอิดออดเมื่อถูกร้องขอให้ทำบางอย่าง แต่เธอไม่เลย เธอตัดสินใจได้ในทันทีเมื่อได้รับข้อความขอร้องเธอ “ให้นมกับเด็กที่ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน”

เธอพร้อมจะให้น้ำนมตัวเองกับเด็กแปลกหน้า เด็กที่ไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน

Wanosik เห็นคุณค่าของน้ำนมแม่ ไม่ใช่แค่การให้นมแม่แก่ลูก ๆ ทั้ง 6 คนเท่านั้น เธอยังขายคุ้กกี้เพิ่มน้ำนมอีกด้วย แต่สิ่งที่สร้างบาดแผลลึก ๆ ในใจให้กับผู้เป็นแม่คือ เธอเคยถูกจับแยกจากลูกคนที่ 5 หลังจากที่ลูกคลอดออกมาได้ 9 สัปดาห์เท่านั้น!

เนื่องจากความเข้าใจผิดว่า เธอทำร้ายลูก ๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว เด็ก ๆ มีความเจ็บป่วยทางร่างกาย เป็นโรคที่หาได้ยาก (connective tissue disorder) ทั้งยังมีภาวะขาดวิตามินดี ทำให้กระดูกหัก จากความเข้าใจผิดนี้เอง ทำให้เธอถูกพรากแม่พรากลูก เป็นเวลายาวนานนับ 10 เดือน ที่ต้องทนทรมานตลอดการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง ระหว่างนั้น ยังให้ลูก ๆ ของเธอดื่มนมผง ทั้งยังมองว่า การปั๊มนมและบริจาคน้ำนมของเธอ ผิดจรรยาบรรณทางการแพทย์

จากเหตุการณ์อันเลวร้ายในปีที่ผ่านมา ทำให้เธอตั้งมั่นจะให้นมแม่แก่เด็ก ๆ ที่แม่ของพวกเขาไม่สามารถให้นมได้ ในวันนี้ ครอบครัวของเธอกลับมาพร้อมหน้าพร้อมตา ลูก ๆ ทั้ง 6 คนกลับสู่อ้อมอกแม่ ซึ่งตอนนี้ลูกคนโตมีอายุ 9 ขวบ ส่วนน้องคนสุดท้ายอายุเพียง 8 เดือนเท่านั้น

 

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

 

Advertisement

นมจากเต้าของแม่นม

สำหรับแม่ของเด็กแปลกหน้ามีชื่อว่า Melissa Rios จากวันนั้นจวบจนวันนี้ก็ยังไม่เคยเจอ Wanosik ตัวเป็น ๆ ซึ่ง Rios เกิดเหตุการณ์บางอย่าง ทำให้ต้องผ่าตัด และไม่สามารถให้นมลูกสาว Gabby ในวัย 5 เดือนได้ ทั้งที่เธอตั้งใจจะให้นมแม่

หนูน้อย Gabby ได้รับการดูแลจากคนในครอบครัว เธอไม่ยอมดื่มนมจากขวด ภายใน 13 ชั่วโมง หนูน้อยยอมกินแค่เพียงครึ่งออนซ์ จึงต้องหาตัวช่วย! ซึ่ง Wanosik ก็ตัดสินใจในทันที เนื่องจากทารกนั้นร่างกายจะขาดน้ำได้ง่ายมากและก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้

 

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ

 

เนื่องด้วยลูกชายของเธอก็ยังต้องให้นม ภาพที่ออกมาจึง น่ารักอย่างที่เห็น ทั้งคู่สมานสามัคคีในการดูดนม มือน้อย ๆ กุมกันไว้ ราวกับว่า กำลังให้กำลังใจอีกฝ่าย จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เธอรู้สึกชื่นชมคุณแม่ลูกแฝดที่ให้นมลูกพร้อม ๆ กันทั้งสองเต้า

อย่างไรก็ตาม จากภาพนี้ที่เธอโพสต์ลงเฟซบุ๊ก ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง แถมยังถูกรีพอร์ต จนเธอต้องพิสูจน์ตัวเองกับเฟซบุ๊ก กว่าจะได้บัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของตัวเองกลับคืนมา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็ไม่ทำให้เธอย่อท้อ เธอตั้งมั่นที่จะให้นมกับเด็กแปลกหน้าต่อไป

ที่มา : https://www.babble.com

 

บริจาคนมแม่

ประเทศไทยเกิดวัฒนธรรมบริจาคนมแม่มานานแล้ว หรือที่เรียกกันว่า “แม่นม” แต่ปัจจุบันมีเชื้อโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงเกิดคำถามขึ้นมาแล้วทารกจะได้รับเชื้อนั้น ๆ หรือไม่

ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน กล่าวว่า มีงานวิจัยจากสมาคมธนาคารนมแม่ระบุว่า คุณแม่ที่มาบริจาคนม 1,091 คนแม้จะมาด้วยจิตใจเมตตาที่บริสุทธิ์ที่จะเป็นผู้ให้ อีกทั้งตอบแบบสอบถามการคัดกรองเบื้องต้นที่น่าจะเข้าข่าย “ผู้เสี่ยงโรคต่ำ” สามารถบริจาคนมได้

เมื่อตรวจทางแล็บโดยละเอียดกลับพบว่า มีคุณแม่จำนวนมากที่ติดเชื้อไวรัสเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว เช่น ติดเชื้อ HTLV 6 คนเชื้อซิฟิลิส 6 คน เชื้อตับอักเสบ บี 17 คน เชื้อตับอักเสบ ซี3 คน และติดเชื้อ HIV 4คน ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถติดเชื้อต่อไปยังทารกที่กินนมได้ ดังนั้น ก่อนที่จะให้ลูกกินนมคนอื่นต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะติดโรคและธนาคารนมแม่ทุกแห่งควรตรวจหาเชื้อโรคก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัยของทารก”

นายแพทย์ประชา นันท์นฤมิต หัวหน้าหน่วยทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ของเชื้อโรคสู่ทารกว่า โดยทั่วไปเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย มีโอกาสติดต่อผ่านทางน้ำนมได้

กรณีที่แม่ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ไม่ได้หมายความว่าลูกจะกินนมแม่ไม่ได้ ในกรณีทารกปกติทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรง เช่น ถ้าแม่เป็นหวัด เป็นไปได้ว่าอาจมีเชื้อหวัดจำนวนเล็กน้อยออกทางน้ำนมได้ แต่ทารกจะไม่มีอาการและเป็นปกติ เพราะการติดเชื้อหวัดส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดกับเสมหะ การไอ การจาม แต่ถ้าเป็นทารกที่มีความเสี่ยง เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจทำให้เกิดมีปัญหาได้ แต่ที่น่ากลัวมาก ๆ คือ เอดส์ หรือเชื้อเอชไอวี เพราะมีข้อมูลชัดเจนว่าถ้าแม่ติดเชื้อ HIV เราจะไม่ให้กินนมแม่ เพราะเด็กมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV จากแม่ได้ ทั้งนี้นายแพทย์ประชา ได้แสดงความคิดเห็นถึงการรับนมจากแม่คนอื่นว่า แม่ควรให้นมลูกด้วยตนเอง หากมีความจำเป็นจริง ๆ ควรรับนมจากหน่วยงานที่ได้รับมาตรฐานเพราะมีการตรวจสุขภาพผู้มาขอบริจาคและซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับทารกได้

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำว่า การบริจาคหรือการให้นมแก่ลูกคนอื่นนั้นต้องอยู่ภายในความสมัครใจและความยินยอมทั้งสองฝ่าย และสิ่งสำคัญการคุ้มครองสิทธิเด็กให้ได้รับอาหารที่ปลอดภัย โดยแม่ที่ให้นมแก่ลูกคนอื่นนั้น จะต้องได้รับการรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ว่าไม่มีโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้แก่ เชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ บี และซี และไซโตเมกกาโลไวรัส (CMV) รวมทั้งแม่ที่เสพสารเสพติดทุกชนิด เช่น สูบบุหรี่ และดื่มสุรา สรุปว่า การให้นมแม่แก่ลุกคนอื่นนั้นมีความเสี่ยงแม้จะไม่สูง แต่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ทารกสูงสุด จึงควรมีระบบการจัดการในการบริจาค ต้องมีกระบวนการคัดกรองเป็นอย่างดี

สิ่งที่ต้องระวังคือ การรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เพราะมีความเสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง ดังนั้น ไม่ว่าจะบริจาคนมแม่หรือรับบริจาคนมแม่ ก็ควรผ่านธนาคารนมแม่

อ่านเพิ่มเติม ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ บริจาคหรือรับบริจาคนมแม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ เช็กได้นะ

ส่งนมแม่ บขส. วิธีแพ็คนม ให้ละลายน้อยที่สุด ให้ลูกน้อยอิ่มนมแม่และได้ประโยชน์

ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย ?

เกณฑ์น้ำหนักทารกแรกเกิด ลูกของคุณหนักขึ้นตามนี้หรือเปล่า

 

บทความจากพันธมิตร
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
ก้าวไปอีกขั้น! PalFish Thailand จัดงานอลัง “ฉลองรับการขยายออฟฟิศใหม่”
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
สร้างความแข็งแกร่งของฮีโร่ตัวน้อย ด้วย LPR โพรไบโอติก ตัวดัง
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ
วันเด็กแห่งชาติ ปี 2565 กระทรวง อว. ชวนเจ้าตัวเล็ก ร่วมกิจกรรม Online “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ลุ้นเปิด “กล่องสุ่มของเล่น” กระจายความสนุกพร้อมกันทั่วประเทศ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าว
  • /
  • บริจาคนมแม่ ให้เด็กแปลกหน้า รับบริจาคนมแม่ ผิดหรือถูก ในสายตาแม่ ๆ
แชร์ :
  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

  • เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

    เคาะ! ร่าง พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว ฉบับแก้ไข เพิ่มโทษปรับ 10 เท่า!

  • นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

    นิด้าโพล เผย คนไทยไม่อยากมีลูก กังวลค่าใช้จ่าย ห่วงสภาพสังคม

  • เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

    เงินสงเคราะห์บุตร 2568 เดือนละ 1,000 บาท เข้าเมื่อไหร่ สมัครยังไง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว