สิ่งที่แม่ท้องทั้งหลายโปรดปรานมากที่สุดในช่วงเวลาตั้งครรภ์ก็คือ การได้รับรู้ถึงสัมผัสเวลาที่ลูกดิ้น จะดิ้นแรงขนาดไหนแม่ท้องก็ไม่ว่า กลับรู้สึกสนุกสนานเสียอีกด้วยซ้ำ และไม่ใช่แม่ท้องคนเดียวหรอกนะคะที่รู้สึกสนุก คุณพ่อหรือคนรอบข้างก็ตื่นเต้นและสนุกไม่แพ้กัน
และก่อนที่เราจะไปชมคลิปที่ว่านี้ เรามาดูเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นในลูกดิ้นกันก่อนค่ะ
- เปลี่ยนท่า โดยเฉพาะการนอนหงายหรือนอนคว่ำสักครู่
- กินอาหารหวาน ๆ แล้วรอสัก 2-3 นาที
- ฟังเพลง ลูกฉันดิ้นเยอะมากตอนที่ได้ยินเสียงออแกนในโบสถ์
- กดท้องด้านหนึ่ง และลองดูว่าเด็กจะกดกลับหรือไม่
- ดื่มน้ำเย็นจัด ๆ เพื่อให้เขาตื่น
ท้องนี้หนักที่ใคร แม่หรือลูกที่อ้วนเกินไปกันแน่นะ
ท้องนี้หนักที่ใคร : น้ำหนักของคุณแม่ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์นั้น มีผลมาจากหลายส่วน ทั้งจากลูกน้อยที่ค่อย ๆ เจริญเติบโตภายในครรภ์ของคุณแม่ ทั้งจากรก น้ำคร่ำ ปริมาณเลือด แม้กระทั่งเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น แต่ก่อนที่จะคิดว่าน้ำหนักจะเพิ่มมากจนคุณแม่หรือลูกในท้องจะอ้วนเกินไปนั้น เราไปดูวิธีคำนวณน้ำหนักที่เหมาะสมระหว่างตั้งครรภ์กันก่อนดีกว่าครับ
ท้องนี้ ควรหนักเท่าไหร่
น้ำหนักที่ควรจะเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยคำนวณจาก น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) ÷ ด้วยส่วนสูง(เป็นเมตร)ยกกำลังสอง
หลังจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางด้านล่าง เช่น คุณแม่ที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ระหว่าง 18.5 – 24.9 (น้ำหนักตัวปกติ) ควรมีการเพิ่มน้ำหนักตัวเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์เท่ากับ 11.5 – 16 กิโลกรัม และควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เป็นต้น
ท้องนี้หนักที่ใคร
ตารางแสดงการเพิ่มน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์
ข้อมูลนี้อิงตามคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนเดียว น้ำหนักสำหรับคุณแม่ที่ ตั้งครรภ์ลูกแฝดจะมากกว่านี้ แต่ก็ไม่ได้เพิ่มเป็นสองเท่านะครับ
|
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์(ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์) |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก |
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม |
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5) |
12.5 – 18กิโลกรัม |
2.3 กิโลกรัม |
0.5 กิโลกรัม |
น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) |
11.5 – 16 กิโลกรัม |
1.6 กิโลกรัม |
0.4 กิโลกรัม |
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9) |
7 – 11.5 กิโลกรัม |
0.9 กิโลกรัม |
0.3 กิโลกรัม |
อ้วน (≥30) |
5 – 9 กิโลกรัม |
– |
0.2กิโลกรัม |
อธิบายซ้ำอย่างง่าย ๆ คือ ค่า BMI ระหว่าง 18.5-24.9 น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11.5-16 กก.
ค่า BMI เท่ากับ 18.5 หรือต่ำกว่า (น้ำหนักตัวก่อน ตั้งครรภ์ ต่ำกว่าเกณฑ์) ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5-18 กก.
ค่า BMI ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มไม่เกิน 7-11.5 กก.
ค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงโรคอ้วน ควรน้ำหนักขึ้น 5-9 กก. นั่นเอง
ท้องนี้หนักที่ใคร
หากแม่ท้องท่านใดรู้สึกว่าน้ำหนักขึ้นมากเกินกำหนด ก็ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักนะครับ เพราะนั่นจะส่งผลเสียโดยตรงต่อทารกในครรภ์ ทำให้ลูกไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะ โดยสิ่งที่แม่ท้องควรทำก็คือ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมภายใต้คำแนะนำของคุณหมอจะดีที่สุด
[youtube
ที่มา: Cure Joy
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!