คลิปนี้กลายเป็นที่เผยแพร่กันมากในต่างประเทศ ภายหลังจากที่คุณแม่ท่านหนึ่งต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับอาการโคลิคของ Millicent ลูกสาววัยเพียงสี่วันของตัวเอง เธอจึงนึกถึงคุณหมอ Ian Rossborough ผู้เชียวชาญทางด้านกายภาพ
หมอบอกว่าวิธีการของเขา จะช่วยให้เด็กสงบนิ่งมากขึ้น และจากผลการสอบถามหลังรับการรักษา ต่างให้คำตอบไปในทิศทางเดียวกันว่า ลูก ๆ ของเขากินง่ายและนอนหลับได้ง่ายขึ้นมาก อาการโคลิคก็ลดน้อยลง
ถึงแม้ว่าวิธีการของคุณหมอออกจะหวาดเสียวไปสักหน่อย แต่เด็ก ๆ ก็ดีขึ้นหลังการบำบัดรักษา และนี่คือตัวอย่างคร่าว ๆ
คุณหมอค่อย ๆ สัมผัสร่างกายของ Millicent เบา ๆ ด้วยความระมัดระวัง
จากนั้นก็ค่อย ๆ กดสัมผัสศรีษะของเด็กน้อยเบา ๆ
คล้ายกับว่าหมอกำลังจัดกระดูกให้กับทารกน้อยอยู่
หนึ่งสัปดาห์ผ่านไปหลังจากที่ Millicent ได้รับการรักษา พ่อแม่ของสาวน้อยก็บอกว่า น้องมีอาการดีขึ้นมาก ดูสงบและงอแงน้อยลง อย่างไรก็ดี มีหลายคนวิพากวิจารณ์ถึงการรักษาดังกล่าว มีบ้านที่เห็นด้วย และแน่นอนก็ต้องมีบ้างที่ไม่เห็นด้วยและกล่าวว่า เป็นการเสี่ยงให้ทารกได้รับอันตรายมากกว่า แนะนำว่าอย่าทำตามหรือลอกเลียนแบบเด็ดขาดนะคะ เพราะเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ หากพลาดอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าอยากรู้แล้วว่าหมอจะรักษาอย่างไร อย่าพลาดชมคลิปด้านล่างนะคะ
โคลิค
โคลิค (โบราณเรียกอาการ “ร้องร้อยวัน”) คืออาการปวดท้องที่เกิดในเด็กทารก มีสาเหตุจากลมในช่องท้อง อาการที่เห็นได้ชัดคือ ร้องไห้เป็นช่วง ๆ และยกขาขึ้นมาบริเวณท้อง สามารถช่วยบรรเทาอาการได้โดยการพยายามทำให้เด็กระบายลม ที่แย่คือยิ่งเด็กร้องมาก ยิ่งกลืนลมเข้าไปมาก และยิ่งทำให้ปวดท้อง
โชคร้ายที่ไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาอาการโคลิค ถ้ามี 75% ของทารกที่เป็นโรคนี้ในช่วงสองสามเดือนแรกคงจะลุกขึ้นมาเต้นกังนัมกันแน่ ๆ (พ่อแม่ก็เหมือนกัน!) แต่อย่าเพิ่งเสียกำลังใจไป มีวีธีที่จะลดความเสี่ยง หรืออย่างน้อยก็ลดความถี่ของอาการได้
- ในช่วงให้นมลูก คุณควรงดคาเฟอีน อาหารรสจัด และอาหารที่ทำให้เกิดลม (เช่นถั่ว, กระหล่ำปลี, บร็อกโคลี ฯลฯ) อาจงดอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากนม เพราะโคลิคอาจเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็คโตส (น้ำตาลในนม) ไม่ได้
- ถ้าให้นมชง ลองเปลี่ยนนมเป็นสูตรที่ทำจากถั่วเหลืองแทน
- อย่าปล่อยให้ลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป ความตื่นเต้นเกินขนาดมักทำให้เด็กมีอาการโคลิค อาการนี้มักหายไปเองในเดือนที่ 4-5 ดังนั้น การสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย สบาย ๆ ในบ้านอาจช่วยลดอาการได้
วิธีที่เราแนะนำไม่ได้แก้ปัญหาได้ร้อยเปอร์เซนต์ แม้คุณจะพยายามอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม เจ้าตัวน้อยก็อาจมีอาการนี้ได้เป็นครั้งคราว คุณอาจลองใช้วิธีที่เรากำลังจะแนะนำต่อไปนี้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ลูกได้
- ทำให้ลูกเรอ ถ้าวิธีบ้าน ๆ แบบการพาดไหล่ไม่ได้ผล ลองจับลูกนอนคว่ำไว้บนตัก และนวดหลังเบา ๆ แต่หนักแน่น เริ่มจากก้นกบไล่ขึ้นไปถึงกระดูกสะบัก
- ห่อลูกไว้ด้วยผ้าห่ม
- โยกเยกเจ้าตัวน้อยไปมา และนวดท้องและ/หรือหลังไปพร้อมกัน
- ให้ยาบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อสำหรับเด็ก ซึ่งมักได้ผลดี แต่ไม่ควรให้บ่อย และต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
- จับลูกอาบน้ำอุ่น น้ำอุ่นจะช่วยคลายกล้ามเนื้อท้องและช่วยระบายลมได้
- จับขาลูกปั่นจักรยานอากาศ การขยับขาท่านี้จะช่วยขับลมออกจากช่องท้อง
ที่มา: Mommypage
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ทำไมเจ้าตัวเล็กถึงชอบร้องและตื่นนอนตอนกลางคืน?
ทำไมเด็กแรกเกิดจึงอยากให้อุ้มอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!