X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงเด็กทารก การพยาบาลทารกแรกเกิด ต้องทำอะไรบ้าง?

บทความ 5 นาที
ดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงเด็กทารก การพยาบาลทารกแรกเกิด ต้องทำอะไรบ้าง?

กานดูแลทารกหลังคลอด หลังออกจากโรงพยาบาลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก มาดูกันดีกว่าว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่จะต้องทำในทุกวัน

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านคงเป็นกังวลเกี่ยวกับการ เลี้ยงเด็กทารก เมื่อกลับบ้านไปแล้ว ทุกวันต้องทำอะไรบ้าง จะต้องเลี้ยงลูกอย่างไรถึงจะปลอดภัยจากโรค และอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า เมื่อออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง วิธีดูแลทารกหลังคลอด การอาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม เช็ดอวัยวะเพศ และอื่น ๆ ไปดูกัน!

 

วิธีเลี้ยงเด็กทารก เลี้ยงเด็กทารก ดูแลทารกหลังคลอด เรื่องทั่วไปที่ต้องรู้

การ ดูแลทารกหลังคลอด การพยาบาลทารกแรกเกิด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ มาดูสิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้ เพื่อให้ทุกๆ วัน ทำตามได้อย่างครบถ้วนกันดีกว่า

 

  • ทำความเข้าใจทารกแรกเกิด 1-2 สัปดาห์แรก

ทารกแรกเกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แทบจะไม่ทำอะไรเลย นอกเสียจากนอน หลังจากนั้นพัฒนาการด้านอื่นๆ ก็จะเริ่มเพิ่มเติมขึ้นมา ช่วงแรกๆ ลูกจะตื่นมาพร้อมกับร้องไห้ด้วยความหิว หรืองอแงเมื่อรู้สึกไม่สบายตัว พอเริ่มอิ่ม ก็จะง่วง แล้วก็นอนอีก วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

 

  • ลูกต้องนอนคว่ำหรือนอนหงาย

ในช่วงที่ยังชันคอไม่ได้ โดยเฉพาะ 1-2 เดือนแรก ที่คอไม่แข็ง ต้องให้ลูกนอนหงาย เพราะนี่เป็นท่านอนทารกที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็สามารถให้ลูกนอนตะแคง หรือนอนคว่ำได้ แต่พ่อแม่ต้องจับตาดูไว้ตลอด ไม่ให้คลาดสายตา เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอันตราย เสี่ยงต่ออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก หรือโรคไหลตายในทารก SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

 

เลี้ยงเด็กทารก 1

เลี้ยงเด็กทารก วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด

 

  • นอนสักพักก็ตื่นเพราะหิวนม

ทารกแรกเกิดมักจะตื่นบ่อย หิวนมถี่ๆ ในช่วงแรก อยู่ราว 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง และอาจบ่อยกว่านั้น ซึ่งทางการแพทย์แนะนำให้คุณแม่ให้นมแม่กับลูกอย่างเดียวไปนาน 6 เดือน ไม่ควรให้ดื่มน้ำ และห้ามเด็ดขาดที่จะให้ทานสิ่งอื่น การให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ ยังช่วยกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มาก ทั้งยังลดอาการคัดตึงของเต้านมได้ด้วย ทุกครั้งที่ลูกอิ่มจากน้ำนมแม่แล้ว อย่าลืมอุ้มลูกเรอ ด้วยการอุ้มลูกพาดที่บ่า ลูบหลังเบาๆ หรือใช้ท่าอุ้มลูกเรออื่นๆ การที่ลูกเรอออกมาจะรู้สึกสบายตัว ลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกร้องไห้

 

  • ร่างกายทารกหลังคลอด เป็นอย่างไร

    • ช่วงแรกๆ ตอนอายุ 1 – 2 วัน ผิวหนังทารกจะลอก หายไปได้เองใน 2 – 3 วัน
    • ทารกจะมีจุดขนาดเล็กสีขาวนวล ตรงจมูก ริมฝีปากและแก้ม หายไปเองหลังคลอด 1 – 2 สัปดาห์
    • ในช่วง 3 – 5 วันหลังคลอด จะมีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด มักจะหายไปเองในสองสัปดาห์ ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแม่ ผ่านไปยังทารกขณะอยู่ในครรภ์ และระดับฮอร์โมนลดลงหลังคลอด

 

เลี้ยงเด็กทารก 2

เลี้ยงเด็กทารก วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด การพยาบาลทารกแรกเกิด

วิธีดูแลทารกหลังคลอด การทำความสะอาดทารก

เรื่องการทำความสะอาดให้กับลูกน้อยก็สำคัญ โดยเฉพาะการทำความสะอาดร่างกายของทารกแรกเกิด หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว การทำความสะอาดทั้งหมดตั้งแต่อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และการดูแลสุขอนามัยด้านอื่น ๆ จะต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูแล ดังนั้นจึงจะต้องมีการเตรียมพร้อม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • การทำความสะอาดทารก ด้วยการ อาบน้ำ

    • อาบด้วยน้ำอุ่นๆ ไม่ร้อน โดยอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผมวันละครั้งเดียว
    • อาบน้ำทารกไม่ควรใช้เวลานาน เพียง 5-7 นาทีก็ควรทำให้เสร็จ และไม่อยู่ในบริเวณที่มีลม
    • หลังจากที่ลูกอิ่มนม อย่าอาบน้ำทันที

 

  • ดูแลสะดือ

พ่อแม่ต้องดูแลทั้งโคนสะดือและตรงสะดือให้แห้งอยู่เสมอ โดยเช็ดสะดือทารกด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์ตามที่โรงพยาบาลจัดให้ใช้) ทำความสะอาดวันละ 3 ครั้ง และสะดือจะหลุดได้เอง 1 – 2 สัปดาห์ พอสะดือใกล้หลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้ยา แป้ง มาโรยสะดือเด็ดขาด

 

เลี้ยงดูทารก 4

การพยาบาลทารกแรกเกิด

  • ดูแลช่องปากลูกน้อย

ลูกทานนมบ่อยๆ ต้องหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากลูก ด้วยการเช็ดคราบนมเบาๆ ตามเหงือกและลิ้น เพื่อป้องกันฝ้าขาว วิธีการทำความสะอาด ให้ใช้ผ้านุ่มๆ พันบริเวณปลายนิ้ว นำไปชุบน้ำสะอาด เช็ดเหงือกให้ทั่ว เมื่อลูกรักปากสะอาดก็จะไม่เกิดเชื้อรา ทำบ่อยๆ ยังส่งผลดีตอนโต ลูกก็จะชินกับการแปรงฟันได้ง่ายขึ้น

 

  • เปลี่ยนผ้าอ้อม ดูแลหลังขับถ่าย

ลูกฉี่แล้ว พ่อแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้ทารกตัวเย็น ส่วนการอึนั้น ทารกที่ดื่มนมแม่มักจะอึบ่อยๆ เป็นเรื่องปกติ วิธีทำความสะอาดก้น ให้เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดไปมา

 

  • ดูแลทำความสะอาด อวัยวะเพศลูกสาว

ถ้าเป็นลูกสาวให้แม่เตรียมผ้าเปียก หรือแผ่นสำลีชุบน้ำสะอาด

    • เมื่อลูกสาวฉี่ ให้ใช้ผ้าเปียกเช็ดจากท้องน้อย จนถึงอวัยวะเพศ ไม่ต้องเช็ดลึกไปในช่องคลอด เช็ดตรงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง แล้วเปลี่ยนผ้าเปียกผืนใหม่ เช็ดตรงก้นอีกครั้ง ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจ
    • ถ้าใช้สำลีชุบน้ำ ให้เช็ดเหมือนกับข้อบน หลังจากเช็ดขาหนีบให้เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ แล้วเช็ดตรงก้น ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง ก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ใช้ผ้าขนหนูนิ่มๆ เช็ดเบาๆ ที่ผิวก้น และตรงอวัยวะเพศ ให้แห้งเสียก่อน
    • หากลูกสาวอึ ให้ใช้น้ำสะอาดล้างก้นลูกก่อน พอเกลี้ยง ให้ซับอวัยวะเพศและก้นลูกให้แห้ง เช็ดแค่ด้านนอก ไม่ต้องเช็ดลึกถึงช่องคลอด ย้ำอีกครั้ง การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ห้ามเช็ดจากก้นขึ้นมา เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด ที่สำคัญ ห้ามทาแป้งลงบนอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้อับชื้นและเกิดการติดเชื้อ

 

เลี้ยงเด็กทารก 5

เลี้ยงเด็กทารก วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด การพยาบาลทารกแรกเกิด

 

บทความที่น่าสนใจ

โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก

โรคที่ทารกชอบเป็น ป่วยต้องดูอาการให้ดี บางอาการอาจจะอันตรายกว่าที่คิด

ลูกเสียชีวิตจากการโดนอุ้มและหอม ทารกแรกเกิดเสียชีวิต เพราะผู้ใหญ่อุ้ม หอม จูบ เชื้อโรคจากผู้ใหญ่อันตราย!

ที่มา : rama.mahidol

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • แม่ผ่าคลอด
  • /
  • ดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงเด็กทารก การพยาบาลทารกแรกเกิด ต้องทำอะไรบ้าง?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว