X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

บทความ 3 นาที
อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

การสอนลูกเรื่องเงินอาจจะฟังดูท้าทาย แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องง่ายไม่ซับซ้อนและเป็นสิ่งที่คุณควรเริ่มทำซะตั้งแต่ลูกยังเล็ก

ตอนลูกยังเล็ก เราสอนลูกหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นการสอนเรื่องตัวอักษร สอนให้อ่านเขียน สอนนับเลข สอนให้ดูแลความสะอาดตนเอง และอีกมากมาย แต่มีอีกอย่างที่เราสามารถเพิ่มเติมเข้าไป นั่นคือ การสอนลูกวัยห้าขวบให้เข้าใจเรื่องเงิน ใช่แล้ว เรื่องเงินนี่แหละ และมันก็ง่ายกว่าที่พ่อแม่หลายคนคิดไว้

ผู้ปกครองสามารถทำตัวเป็นผู้สั่งสอน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเรามองการสอนลูกเรื่องเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จริงแล้ว ผู้สั่งสอนอย่างเราเชื่อว่า มันเป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ผู้ปกครอง การสอนลูกเรื่องเงินก็เป็นสิ่งที่ควรร่วมมือกันทำ และให้คำชี้แนะคำแนะนำที่ชัดเจน (ถ้าอยากรู้ว่าคุณสอนลูกเรื่องเงินแบบไหน ลองทำแบบทดสอบนี้ดูสิ)

จุดประสงค์ คือ ต้องการให้ลูกของเรา

  • มีความรู้ด้านการเงิน
  • รู้จักการคำนวณค่าใช้จ่าย ออมเงิน และรู้จักความแตกต่างระหว่างความต้องการกับความจำเป็น

เราเคร่งเรื่องการเงินของเรามากและก็มีเป้าหมายที่ชัดเจน นี่เป็นสิ่งที่เราต้องการสอนลูก ดังนั้นทำไมไม่เริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ เลยล่ะ

 

ความรู้ในการเลี้ยงดู เริ่มตั้งแต่ยังเล็ก

อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร

จิม บราวน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการเงินมามากกว่า 30 ปี พูดได้เข้าใจง่ายมากเลย “การสอนลูกเรื่องเงินไม่จำเป็นต้องซับซ้อนอะไรมากมาย แค่ต้องทุ่มเทและใช้เวลา แค่นั้นเลย”

เราเคยคิดว่าเรื่องเงินเป็นแนวคิดที่ยากและซับซ้อน แล้วเราก็ได้รู้ว่ามันเหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ถ้าเราย่อยข้อมูลให้อยู่ในระดับที่เด็กเข้าใจได้ มันก็ง่ายมากเลยเลยทีเดียว 

อย่างที่เจยน์ เอ. เพิร์ล ผู้เขียนหนังสือ “ลูกและเงิน ให้ลูกเชี่ยวชาญเพื่อประสบความสำเร็จในด้านการเงิน” (Kids and Money: Giving Them the Savvy to Succeed) กล่าวว่า “ตอนที่เด็กยังอายุน้อยมาก ๆ มันง่ายที่จะสอดแทรกแนวคิดเรื่องเงินเข้าไปในการเล่นที่ใช้จินตนาการของลูก อย่างเช่นการเล่นขายของ” ตอนที่เราเริ่มทำ พบว่าในแต่ละวัน เราสามารถสอนลูกชายได้หลายเรื่องเลย เชื่อเถอะว่า ลูกเข้าใจมากกว่าที่เราคาดหวังไว้เสียอีก

มันยังช่วยให้ลูกสงสัยและอยากรู้เกี่ยวกับทุกสิ่งด้วย ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณรู้ดีแน่นอนว่า การที่ถูกลูกถามไม่หยุดมันเป็นยังไง ความกระตือรือร้นนี้สิ่งที่ดีมากเลย

ตอเราเริ่มสอนลูกเรื่องเงิน เราเริ่มจากเกมง่ายๆ เช่น เล่นจัดงานเลี้ยงน้ำชา เล่นเปิดร้านไอศกรีม ไปจนถึงเล่นขายของแบบร้านซูเปอร์มาร์เก็ตเลย เราสังเกตว่าลูกชายของเราใช้เวลาไม่นาน ก็เข้าใจแนวคิดนี้

เราให้ลูกเรียนรู้เรื่องการออมเงิน ด้วยการให้กล่องออมเงินและให้ลูกเก็บเหรียญที่ได้จากการทำตัวดี และตอนออกไปทำธุระ เราก็พาลูกไปด้วย

ลูกตามติดไปกับเรา ไม่ว่าจะไปที่ธนาคาร ร้านค้า หรือแม้กระทั่งตู้เอทีเอ็ม เพราะว่าประสบการณ์ในชีวิตประจำวันนั้น สำคัญมากสำหรับพ่อแม่ประเภทผู้สั่งสอนแบบเรา และแน่นอนว่าจะดียิ่งขึ้น เมื่อเสริมด้วยคำแนะนำที่ชัดเจนอย่างสม่ำเสมอจากพ่อแม่ผู้ปกครอง เราพูดคุยกับลูกเรื่องเงิน พูดเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานของเงิน เราหาเงินมายังไง และเราใช้เงินยังไง

นานวันเข้า เขาก็เริ่มช่วยเราทำรายชื่อของที่ต้องซื้อในซูเปอร์มาร์เก็ต และคำนวณงบของเรื่องที่ไม่ซับซ้อน อย่างเช่น การออกไปซื้อของในแต่ละสัปดาห์ การออกไปกินมื้อเย็นนอกบ้าน หรือตอนที่เราพาลูกไปเล่นนอกบ้าน และเขายังช่วยชี้ให้เห็นสินค้าลดราคาพิเศษตอนที่เราชอปปิงอีกด้วย ซึ่งเขาก็ช่วยได้เท่าที่เขาพอจะอ่านออกนะ

ทำไมการเริ่มตั้งแต่เด็กจึงสำคัญ

สอนลูกเรื่องเงินตั้งแต่ยังเล็ก

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 2013 พบว่าเด็กสามารถเข้าใจแนวคิดเรื่องเงินได้ตอนอายุสามขวบ และตอนอายุเจ็ดขวบ ก็มีนิสัยการใช้เงินเป็นของตัวเองแล้ว

ลองคิดว่า การสอนลูกเรื่องเงินคล้ายกับการสอนลูกเรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารมากเลย ให้ลูกเข้าใจความสำคัญของการพูดความจริง หรือการพูดขอร้องอย่างสุภาพและการพูดขอบคุณ นิสัยเหล่านี้คือสิ่งที่เราพยายามปลูกฝังในตัวลูกตั้งแต่ยังเล็ก ด้วยการชี้แนะจากผู้สั่งสอนแบบเราอย่างสม่ำเสมอ ส่วนนิสัยการใช้เงินนั้นก็ไม่ต่างกัน

คุณอยากให้ลูกเข้าใจความสำคัญของเงิน คุณค่าของเงิน และนิสัยการใช้เงินที่ควรใช้เพื่อจัดการเงิน จะมีเวลาไหนดีไปกว่าตอนลูกยังเด็กล่ะ วัยที่พร้อมรับแนวคิดและซึมซับทุกอย่างเหมือนกับฟองน้ำ

เพราะฉะนั้นก็อย่ากลัวแนวคิดเรื่องเงิน ทำให้มันง่ายเข้าไว้ และเริ่มสอนลูกเรื่องเงิน จำไว้ว่า การสอนลูกวัยห้าขวบเรื่องเงินเป็นสิ่งที่ง่ายและก็สนุกได้เช่นกัน 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • /
  • อบรมให้ลูกมีความรู้เรื่องเงิน อย่างไร
แชร์ :
  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

    เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

  • มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

    มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

    เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้ ติดแกลม สร้างภูมิคุ้มกันใจในยุคโซเชียล

  • มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

    มาตรฐานรถโรงเรียน ควรเป็นแบบไหน? ความปลอดภัยที่ต้องไม่ละเลย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว