X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คลิปเคาะปอด ตบอยู่ 20 นาที แต่หนูน้อยไม่ร้องสักแอะ แม่บอกหลับเพลินเลยลูก

บทความ 3 นาที
คลิปเคาะปอด ตบอยู่ 20 นาที แต่หนูน้อยไม่ร้องสักแอะ แม่บอกหลับเพลินเลยลูก

แม่แชร์คลิปเคาะปอดลูก คิดว่าจะร้อง ปรากฏว่า สบายตัวสุด ๆ หลับใส่เลยจ้า

คลิปเคาะปอด ตบอยู่ 20 นาที แต่หนูน้อยไม่ร้องสักแอะ

สมาชิกเฟซบุ๊ก Nu M K Mungkuddy แชร์ คลิปเคาะปอด หนูน้อยทับทิม นอนเพลินไม่ร้องเลยซักแอะ โดนเคาะปอดตบอยู่ 20 นาที พีคสุดคือ 5 นาทีสุดท้าย นางหลับ คงคิดว่านวดแล้วสบายตัว แม่รู้เลยว่า อึดกว่าที่คิดเยอะ

 

www.facebook.com/mk.mungkuddy/videos/10155534760337988/

 

แม่ยังบอกด้วยว่า น้องทับทิม มีอาการไอ มีเสมหะในคอ หมอบอกว่าหลอดลมอักเสบ และเอาเสมหะไปตรวจก็เจอเชื้อไวรัส RSV สำหรับการเคาะปอดก็เพื่อให้เสมหะที่เกาะอยู่ในปอดหลุดออกมา ซึ่งจะใช้วิธีนี้กับเด็กน้อยและผู้ใหญ่ที่ไม่ได้สติ

 

www.facebook.com/mk.mungkuddy/videos/10155530442032988/

 

สำหรับตอนนี้ น้องทับทิมคนเก่งแข็งแรงดีแล้วนะคะ ขอให้น้องทับทิมสดใสอย่างนี้ตลอดไปจนโตเลยนะจ๊ะ

ที่มา : https://www.facebook.com/mk.mungkuddy

 

วิธีเคาะปอดที่ถูกต้อง ระบายเสมหะ

คุณสาธิดา ไพบูลย์ลีสกุล ผู้จัดการแผนกกายภาพบำบัด รพ.พญาไท 3 อธิบายว่า การเคาะปอดทำได้โดยไม่จำกัดอายุของเด็ก

  • การเคาะปอดในเด็กเล็ก – จะใช้จุกนมหรือใช้ 3 นิ้วเคาะหรือเครื่องสั่นปอด ขึ้นอยู่กับแพทย์และนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ประเมิน
  • การเคาะปอดในเด็กโต – จะใช้ฝ่ามือ 1 มือ หรือ 2 มือ เคาะสลับขึ้นอยู่กับช่วงอายุของเด็กโดยแพทย์และนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ประเมิน

 

เทคนิคการเคาะปอดจะไม่ลงน้ำหนักไปที่ปลายนิ้ว แต่จะใช้อุ้งมือแล้วกระดกข้อมือขึ้น-ลง โดยไม่เกร็ง เนื่องจากจะทำให้เด็กรู้สึกเจ็บ ส่วนตำแหน่งการเคาะคือต้องเคาะบริเวณปอด ไม่เคาะต่ำกว่านั้นเพราะอาจโดนอวัยวะส่วนอื่นได้ เช่น กระเพาะอาหาร หรือตับ เป็นต้น

 

อ่าน ไวรัส RSV เชื้อไวรัสตัวร้ายอันตรายต่อเด็กเล็ก ในหน้าถัดไป

Advertisement

ไวรัส RSV เชื้อไวรัสตัวร้ายอันตรายต่อเด็กเล็ก

ไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ อาการคล้ายไข้หวัด

การติดเชื้อไวรัส อาร์เอสวี (RSV) มักจะส่งผลให้เป็นโรคหลอดลมฝอยอักเสบ โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในช่วงอายุน้อยกว่า 6 เดือน อาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา

  • มีน้ำมูกใส ไอ ไข้ต่ำ
  • หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน อาจมีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด บางครั้งไข้ขึ้นสูง 40-41 องศาเซลเซียส

หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องมักจะมีอาการดีขึ้นภายใน 3-4 วันภายหลังจากได้รับการรักษา มีผู้ปวยเด็กบางรายที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

การรักษาโรคหลอดลมฝอยอักเสบจากเชื้อไวรัส RSV

สำหรับการรักษาโรคหลอดลมฝอยอักเสบจากเชื้อ RSV หมอจะให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย ให้น้ำอย่างเพียงพอ หากทานไม่ได้จะให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด ให้ยาลดไข้และเช็ดตัว ให้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นฝอยละออง ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีหลักฐานว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าอาการแย่ลงหรือมีอาการของภาวะหายใจล้มเหลวคุณหมออาจพิจารณาใส่เครื่องช่วยหายใจ เพราะภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง คือ การเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว และโรคหืด

 

ดังนั้น แม่ ๆ ต้องให้ความสำคัญ หมั่นสังเกตอาการลูกรัก และอย่าลืม การล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงไอจามรดกันนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกโดนหอม เห่ออุ้ม จนติดเชื้อ RSV เชื้อร้ายที่เบบี๋ต้องระวังและแม่ห้ามมองข้าม

คลิปในห้องคลอดหมอกระแทกท้องแม่ ทั้งกดทั้งดัน อยากรู้ไหมทำไปเพราะอะไร?

อัลตร้าซาวน์ปรบมือ คลิปน่ารักเบบี๋อัลตร้าซาวน์กำลังปรบมือ พ่อแม่ได้ดูมียิ้มปริ่มน้ำตาคลอ

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คลิปเคาะปอด ตบอยู่ 20 นาที แต่หนูน้อยไม่ร้องสักแอะ แม่บอกหลับเพลินเลยลูก
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว