X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อัลตร้าซาวน์ปรบมือ คลิปน่ารักเบบี๋อัลตร้าซาวน์กำลังปรบมือ พ่อแม่ได้ดูมียิ้มปริ่มน้ำตาคลอ

บทความ 3 นาที
อัลตร้าซาวน์ปรบมือ คลิปน่ารักเบบี๋อัลตร้าซาวน์กำลังปรบมือ พ่อแม่ได้ดูมียิ้มปริ่มน้ำตาคลอ

มากันว่าเบบี๋คนนี้ในคลิปอัลตร้าซาวน์น่ารักขนาดไหน ปรบมือรับกับเสียงดนตรีด้วย

อัลตร้าซาวน์ปรบมือ คลิปน่ารักเบบี๋อัลตร้าซาวน์กำลังปรบมือ พ่อแม่ได้ดูมียิ้มปริ่มน้ำตาคลอ

อัลตร้าซาวน์ปรบมือ

อัลตร้าซาวน์ปรบมือ คลิปน่ารักที่พ่อแม่มือใหม่ควรได้ดู

 

ไม่น่าเชื่อเบบี๋น้อยในครรภ์จะประบมือตามจังหวะดนตรี

อัลตร้าซาวด์กับขนาดตัวของเด็ก

Advertisement

เมื่อใกล้กำหนดคลอด คุณหมออาจประมาณขนาดตัวและน้ำหนักของเด็กโดยใช้การวัดจากเครื่องอัลตร้าซาวด์ แต่อย่าลืมว่าอัลตร้าซาวด์เป็นการตรวจวัดจากมุมใดมุมหนึ่ง ดังนั้นจึงมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง คุณหมออาจบอกคุณว่าเด็กจะมีน้ำหนักประมาณ 6 ปอนด์ แต่เมื่อถึงเวลาคลอดจริง เด็กอาจหนักถึง 10 ปอนด์ก็เป็นได้ ดังนั้นคุณไม่ควรเสียเวลากังวลเกี่ยวกับผลอัลตร้าซาวด์มากนัก และเอาเวลาไปออกกำลังกาย เตรียมตัวคลอด และฝึกฝนเทคนิคอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ดีกว่า

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

อัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

ปกติแล้วเวลาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล แพทย์จะตรวจสอบความสมบูรณ์ของเด็กโดยการใช้วิธีอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติอย่างน้อยประมาณ 3 ครั้ง ครั้งแรกจะดูว่าท้องในมดลูกหรือนอกมดลูกและดูว่าเด็กมีอายุกี่สัปดาห์แล้ว ครั้งที่สองเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเด็กทั้งภายในและภายนอก หากอยากรู้เพศ แพทย์จะบอกให้คุณทราบ และครั้งสุดท้ายเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเด็กทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนยืนยันเพศ บอกน้ำหนักและความยาวของเด็กเพื่อพูดคุยถึงวิธีคลอดลูก โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะใช้แบบ 3 มิติ

การอัลตร้าซาวด์ 3 มิติ ก็เหมือนการถ่ายภาพนิ่ง เหมือนรูปภาพตามหนังสือพิมพ์ที่เราเห็นทั่วไป ส่วนการอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ จะเป็นการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่มิติที่ 4 คือเวลานั่นเอง พูดง่าย ๆ ก็คือ ภาพแบบ 3 มิติที่เคลื่อนไหวได้นั่นเอง คุณจะเห็นว่าลูกกำลังทำอะไรในท้อง เช่น กำลังอ้าปาก พอหุบปากลูกก็กลืนแผ่นผิวหนังที่ลูกผลัดเซลล์อยู่ในถุงน้ำคล่ำ ลูกกำลังโบกมือทักทายคุณอยู่ ถ้าคุณเลือกที่จะใช้การอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ โรงพยาบาลบางแห่งอาจจะบันทึกช่วงเวลาที่ดูลูกในท้องลงแผ่นซีดีให้คุณนำกลับมาดูซ้ำที่บ้าน แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

เมื่อถึงเวลาอัลตร้าซาวด์ครั้งแรก คุณจะรู้สึกตื่นเต้นและอยากเห็นลูก แต่สิ่งที่คุณเห็นกลับเป็นเพียงเส้นสีเทาไม่ค่อยชัดที่บอกว่านี่คือลูกของคุณด้วยเทคนิคแบบ 2 มิติ เลยทำให้เห็นทะลุเข้าไปถึงอวัยวะภายในของลูกเลย ส่วนการอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติและอัลตร้าซาวด์ 4 มิติจะเห็นเป็นผิวหนังของลูกปกคลุมอวัยวะภายใน เห็นหน้าตา จมูก ปาก ที่ชัดเจน ทีนี้ก็จะได้รู้กันว่าหน้าตาคล้ายพ่อหรือแม่

ประโยชน์ทางการแพทย์ของการอัตราซาวด์ 3 มิติ และอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ

ช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติของลูกและเตรียมการรักษาได้ทันทีที่ลูกคลอด ในกรณีของการอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติจะเน้นเรื่องอวัยวะภายในว่าทำงานได้ปกติ ลิ้นหัวใจไม่รั่ว พัฒนาการของกระเพาะเป็นปกติ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของสมอง ส่วนอัลตร้าซาวด์ 4 มิติจะเน้นลักษณะภายนอก หากพบว่าลูกปากแหว่ง แพทย์จะได้เตรียมศัลยกรรมตอนคลอดเลย

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะทำอัลตร้าซาวด์แบบ 3 มิติและ 4 มิติ

ช่วงที่คุณมีอายุครรภ์ประมาณ 26 – 30 สัปดาห์ เพราะว่าถ้าทำก่อนหน้านั้นจะเห็นแค่โครงกระดูกของเด็กมากกว่า เนื่องจากร่างกายเด็กยังไม่สามารถสร้างไขมันได้เพียงพอ ส่วนเมื่ออายุครรภ์หลังจาก 30 สัปดาห์ไปแล้ว อาจจะมองเห็นไม่ชัด เพราะลูกอาจจะเริ่มกลับหัว บริเวณหน้าอาจจะอยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน

การอันตราซาวด์ทุกครั้งอาจจะไม่เห็นหน้าลูกทุกครั้งเหมือนอย่างที่คุณคิด ขึ้นอยู่กับว่าลูกกำลังนอนท่าไหน ซุกหน้าอยู่หรือเปล่า แพทย์อาจจะช่วยกระตุ้นให้เด็กขยับตัว พลิกตัวไปมา เพื่อหามุมให้เห็นหน้าชัดขึ้น แต่เด็กบางคนก็ขี้เซานะคะไม่ยอมพลิกตัว สงสัยกำลังหลับสบายในท้องแม่ ลูกดิฉันแอบไม่พอใจที่คุณหมอพยายามปลุก ปัดมือไปมา กลืนน้ำลายและหันหน้าหนีนอนต่ออีก ทีนี้เลยต้องเปลี่ยนท่านอนเองเพื่อให้ได้มุมที่ดีขึ้นบางครั้งคุณหมออาจจะต้องให้คุณออกไปเดินเล่น หรือนัดใหม่อีกสัปดาห์หนึ่ง หากลองกระตุ้นให้ลูกพลิกตัวแล้ว แต่ลูกยังไม่สามารถพลิกมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้

การอัลตร้าซาวด์ทั้ง 3 มิติและอัลตร้าซาวด์ 4 มิติปลอดภัยเท่าเทียมกันกับการทำแบบ2 มิติ เพราะใช้พื้นฐานของการทำแบบ 2 มิติ แต่มาปรับเพิ่มมิติอื่น ๆ เองจากเครื่องมือ

บทความแนะนำ: ตั้งครรภ์แล้ว…ทำไงต่อล่ะ

บทความแนะนำ: เซ็กซ์ขณะตั้งครรภ์

บทความใกล้เคียง: สิ่งที่ต้องทำช่วงโค้งสุดท้ายก่อนคลอด

บทความเกี่ยวข้อง

ท้องอ่อนๆ ต้องอัลตร้าซาวด์ด้วยเหรอ 

ไม่ต้องงงอีกต่อไป เรามีวิธีอ่านอัลตร้าซาวด์ง่ายๆมาบอก!

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
รวมโมเมนต์แห่งความสุขจากงาน Central x theAsianparent Baby Fair 2025
ช้อปสุดฟิน!  ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%
ช้อปสุดฟิน! ครั้งแรกของปี รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว Central x theAsianparent Baby Fair งานแฟร์สินค้าแม่ลูกสุดยิ่งใหญ่ ลดสูงสุด 70%

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ชลลดา วาดนิ่ม

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • อัลตร้าซาวน์ปรบมือ คลิปน่ารักเบบี๋อัลตร้าซาวน์กำลังปรบมือ พ่อแม่ได้ดูมียิ้มปริ่มน้ำตาคลอ
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

    ทำแท้งแล้วผีเด็กจะตามจริงเหรอ ความเชื่อเรื่องผีเด็กหลังทำแท้ง จริงหรือแค่ความรู้สึกผิด?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว