กินนมแม่จนครบขวบ สมาคมกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาและองค์กรทางการแพทย์อื่น ๆ ได้แนะนำอย่างชัดเจนว่า ทารกควรจะได้กินนมแม่จนกระทั่งอายุครบ 1 ขวบ แต่ถึงอย่างนั้นก็พบว่ามีแม่ลูกอ่อนในสหรัฐอเมริกาเพียง 16% เท่านั้นที่ยังคงให้ลูกกินนมแม่จนลูกอายุ 1 ขวบ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่อาจทำให้คุณแม่มีทางเลือกที่ง่ายกกว่าเมื่อเกิดปัญหาหรือความลำบากในการให้นม การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของทารกที่กินนมจากอกแม่ ซึ่งแตกต่างจากการกินนมอื่นอย่างมหาศาล
ถึงแม้จะมีเหตุผลมากมายที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกจนถึง 1 ขวบ แต่สำหรับคุณแม่ที่มีความตั้งใจจริงและตั้งเป้าในการให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบหรือนานกว่านั้น ลองดูวิธีนี้กันค่ะ
กินนมแม่จนครบขวบ
8 วิธีให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบ
#1 ส่งสัญญานขอความช่วยเหลือ
เข้าใจว่าคุณแม่มือใหม่ไม่มีประสบการณ์ให้นมลูกคนแรกมาก่อน และหลักในแนวทางทฤษฎีการให้นมแม่ก็คงไม่เหมือนกับการปฏิบัติ ดังนั้นการขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มี่ความรู้หรือจากเพื่อนคุณแม่ที่ประสบการณ์เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่มาก่อน จะช่วยทำให้คุณแม่เข้าใจและมั่นใจในการให้ลูกดูดนมได้มากขึ้น
#2 กล้าที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ในที่สาธารณะ
ในช่วงแรก ๆ คุณแม่มือใหม่อาจจะรู้สึกเคอะเขิน และไม่มั่นใจเมื่อต้องให้นมลูกในที่สาธารณะ และหากจะใช้วิธีลดการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือต้องคอยปั๊มนมเก็บเพื่อให้ลูกดูดจากขวด ก็จะเป็นการจำกัดสายสัมพันธ์ของการให้ลูกได้กินนมจากอกแม่ จึงเป็นเหตุให้คุณแม่หยุดให้นมลูกก่อนหนึ่งปี ดังนั้นวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมจากเต้าในที่สาธารณะได้ง่ายที่สุด คือ การใช้เสื้อให้นม เพื่อสร้างความมั่นใจในช่วงแรก ๆ ให้ลองฝึกหัดการเปิดเสื้อขึ้นจากด้านล่างหน้ากระจกดูว่า สิ่งที่คนอื่นเห็นเป็นอย่างไร และนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่เลยหากคุณแม่จะมีช่วงเวลาที่ให้ลูกได้กินนมแม่ในที่สาธารณะยามเมื่อต้องมีกิจกรรมออกนอกบ้าน
#3 หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมหรือจุกนมเทียม
ถึงแม้การให้ทารกได้กินนมแม่จากขวดนมลูกจะได้รับสารอาหารจากนมแม่เช่นกัน แต่ผลจากการดูดขวดนมของทารกหรือสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากเต้านมแม่อย่างจุกนมเทียม จะมีโอกาสทำให้เกิดการหย่านมเร็วกว่าที่ควร อาจจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงเนื่องจากเต้านมได้รับการกระตุ้นน้อยลง และอาจจะส่งผลต่อระยะเวลาของการให้ลูกกินนมจากอกแม่ลดลง
#4 ให้คุณพ่อได้มีส่วนร่วม
คงไม่ลืมไปนะว่าคุณพ่อเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในขณะให้นม แต่การมีส่วนร่วมในการให้นมลูกโดยใช้ขวดที่แม่ปั๊มน้ำนมไว้บ่อย ๆ ก็อาจนำไปสู่การหย่านมได้เร็วกว่าที่ควร การหาวิธีที่ทำให้คุณพ่อสามารถมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์พ่อลูกได้นั้นยังมีอีกหลากหลาย เช่น การน้ำให้ลูก หรือการนวดตัว เล่นกับลูกแบบสบตากัน ฯลฯ เหล่านี้ก็จะช่วยสร้างความผูกพันที่ดีระหว่างกันได้ แถมยังเป็นการช่วยให้คุณแม่ได้มีเวลาพักผ่อนได้มากขึ้น
เคล็ดลับให้ลูกได้กินนมจากอกแม่จนครบขวบหรือนานกว่านั้น หน้าถัดไป >>
ทารกควรจะได้ กินนมแม่จน กระทั้งอายุ 1 ขวบ แต่ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ที่อาจทำให้ คุณแม่ มีทางเลือกที่ง่ายกกว่า
#5 กำหนดตารางเวลาประจำวัน
การให้ลูกได้กินนมของคุณแม่แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของทารกแต่ละคน และลักษณะการกินนมจากอกแม่ของทารกอาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเมื่อเขาโตขึ้น คุณแม่หลายคนอาจพบว่าลูกน้อยไม่ได้กินนมแม่ระหว่าง 10-15 นาทีทุกครั้ง หรือควรให้ลูกได้กินนมแม่ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง กำหนดการเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่ต้องคอยกำลังวลเรื่องการให้นมจนอาจทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้ แต่สำหรับคุณแม่มือใหม่ในช่วงแรก การกำหนดตารางเวลาขึ้นมาสำหรับการเลี้ยงลูกในแต่ละวัน เช่น การให้นม การอาบน้ำ พาไปเดินเล่น เล่นกับลูก อ่านหนังสือ จะช่วยให้คุณแม่หาจังหวะที่เหมาะสมกับตัวเอง และเว้นช่วงให้ทารกมีความต้องการนมแม่มากขึ้นเมื่อถึงเวลากินของลูก
#6 รับรู้สัญญาณของการอดนมประท้วง (Nursing Strike)
มีบางช่วงเวลาที่ทารกจะรู้สึกอยากกินนมจากอกแม่มากขึ้นหรือน้อยลง แต่ก็ไม่ได้ความว่านั่นเป็นสัญญาณที่ลูกอยากจะหย่านมก่อนอายุ 1 ขวบ แต่อาจเป็นเพราะทารกกำลังมีพัฒนาการด้านอื่น ๆ จนทำให้พวกเขาสนใจที่จะกินนมจากเต้าน้อยลง หรือที่เรียกว่า “อดนมประท้วง” (Nursing Strike) เช่น ตอนที่ทารกเริ่มจะเคลื่อนไหวเองได้และมีสิ่งเร้ารอบๆ ตัวมากขึ้น บางสิ่งอาจจะดึงดูดความสนใจของพวกเขาไปจากการกินนมจากอกแม่ ซึ่งจะพบได้บ่อยในทารกช่วงอายุ 3-8 เดือน หรือการพบว่าลูกปฏิเสธที่จะกินนมจากอกแม่เพราะมีอาการป่วย ฟันขึ้น มีสิ่งที่ทำให้เขาไม่สบายใจ
วิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ทารกสนใจกินนมจากอกแม่ในช่วงนี้ เช่น การให้ลูกได้กินนมแม่ถี่ขึ้น พาลูกไปกินนมในห้องที่แสงสว่างน้อย ประโยชน์ของการให้ลูกกินนมจากอกแม่จนถึง 1 ขวบยังคงมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีความสำคัญต่อทารกมาก หากมันจะทำให้คุณแม่เหนื่อยเพิ่มอีกนิดแต่ก็คุ้มค่าที่จะพยายามทำให้ลูกหยุดกินนมแม่จากอกไปในช่วงนี้
ทารก ควรจะได้ กินนมแม่จนกระทั้งอายุ 1 ขวบ แต่ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ที่อาจทำให้ คุณแม่ มีทางเลือกที่ง่าย กว่า
#7 ตั้งเป้าไว้ทีละวัน
คุณแม่ที่ตั้งใจวางแผนให้ลูกได้กินนมจากอกแม่ยาวนานถึง 1 ปีหรือมากกว่านั้น แต่อาจจะยังรับมือกับสถานการณ์ในช่วงแรกที่คุณแม่มือใหม่พยายามให้นมไม่ได้ จึงท้อและกลัวว่าจะทำตามเป้าที่วางไว้ไม่ได้ และเริ่มที่จะมองแผนการหย่านมในอนาคตข้างหน้า อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจไปล่วงหน้าอย่างนั้น แต่ลองจัดการไปทีละวัน ให้นมลูกในแต่ละวันด้วยความรักและความต้องการที่จะให้ลูกได้เติบโตอย่างแข็งแรงจากการได้กินนมแม่จากอก เพียงเท่านี้ลูกก็จะมีโอกาสได้กินนมแม่นานถึง 1 ขวบอย่างแน่นอน
#8 การให้นมจากอกคือ ความสุข
เพราะลูกจะเป็นทารกได้เพียงครั้งเดียว ช่วงเวลาที่ให้นมจากอกลูกจะยาวนานเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น หมายความว่าในช่วงเวลานี้ที่ลูกได้กินนมจากอกแม่ คุณจะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับลูกน้อยได้เต็มที่ที่สุด ได้หอมกลิ่นทารกจากตัวลูก และการได้โอบกอด ปลอบโยน จะ ส่งผลสู่พัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดีของลูกได้ การได้เห็น “น้ำนม” สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของแม่แต่ละหยดที่ลูกดูดออกจากเต้า เท่านี้คุณแม่ก็หาความสุขอื่นใดมาเปรียบไม่ได้แล้ว
ดังนั้นในช่วงเวลาที่คุณแม่พยายามให้ลูกได้กินนมจากอกให้ยาวจนถึง 1 ปีหรือมากกว่านั้น ควรพยายามที่จะไม่คิดว่าการให้ลูกกินนมจากอกแม่มีความเจ็บปวด หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของที่จะขวางกั้นระหว่างอกแม่กับลูก นี่คือเคล็ดลับของการให้ลูกกินนมจากอกแม่ และที่สำคัญคุณแม่ควรให้นมลูกด้วยความสบายใจและมีความสุข โดยไม่ต้องมีความกังวลว่าจะให้นมลูกในที่ใดได้บ้าง และเชื่อว่าหากคุณแม่ร้องขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้นมลูกนั้นยากที่จะมีใครปฏิเสธได้.
ขอบคุณที่มา : www.breastfeedingthai.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เจาะลึกคุณค่าในนมแม่ อาหารสุดวิเศษสำหรับทารก
ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!