เมื่อไรที่ลูกเริ่มได้ยินเสียง การได้ยินของลูก เริ่มต้นอย่างไร?
การได้ยินของลูก เริ่มขึ้นเมื่อใด คงเป็นคำถามที่คุณแม่หลาย ๆ คนอยากทราบคำตอบ ซึ่งจริง ๆ แล้ว การได้ยินของทารกแรกเกิด เริ่มได้ยินตั้งแต่เค้ายังอยู่ในครรภ์ ระหว่างที่คุณตั้งท้อง ลูกก็สามารถได้ยินเสียงรอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงของคุณแม่แล้ว ซึ่งการพัฒนาการทางการได้ยินของลูกน้อย จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในบางครั้ง อาจใช้เวลานานสักหน่อย ในการตอบสนอง ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเป็นกังวล กลัวว่าลูกจะมีปัญหาทางด้านการฟัง
การได้ยินของลูกในแต่ละช่วง
ช่วงเวลาต่าง ๆ ของการพัฒนาการ ทางการได้ยินของลูก มีดังนี้
1.เด็กแรกเกิด
เด็กแรกเกิด จะเริ่มสนใจเสียงรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงในโทนสูง หรือ เสียงดัง
2.อายุประมาณ 3 เดือน
ช่วงเวลานี้ ลูกของคุณ จะมีการตอบสนองต่อเสียง ที่ได้ยินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เด็ก ๆ อาจหันไปทางเสียงที่ได้ยิน หรือ บางครั้งเด็กก็อาจร้องออกมาเบา ๆ หรือ อาจหัวเราะคิกคัก ๆ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน แต่ในบางครั้งเวลาที่คุณเรียกชื่อลูกน้อย แล้วเค้าไม่หันก็ไม่ได้แปลว่าลูกไม่ได้ยินนะครับ แต่เด็กอาจจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่นอยู่ก็ได้ครับ
ติดตามพัฒนาการทางการได้ยินของลูกในหน้าถัดไป
3.อายุประมาณ 4 เดือน
ช่วงเวลานี้ ลูกจะตอบสนอง ต่อเสียงที่ได้ยิน ด้วยท่าทางตื่นเต้น บางครั้งเมื่อคุณเรียกชื่อลูก เด็กก็อาจจะเริ่มมีการตอบสนอง โดยการยิ้ม หรือ บางทีลูกจะพยายามเลียนแบบเสียงที่คุณพูดกับเค้าครับ
4.อายุระหว่าง 6 – 7 เดือน
ช่วงเวลานี้ ลูกของคุณ จะเริ่มมองหาแหล่งที่มาของเสียง โดยที่บางครั้ง ลูกจะพยายามตั้งใจฟังเสียงที่ไม่ดังจนเกินไป และ อาจแสดงอาการตอบสนอง บางอย่างออกมา
5.อายุประมาณ 1 ขวบ
ลูกคุณจะเริ่มแยกแยะ และ จดจำเสียงที่ได้ยินได้ บางครั้งลูกอาจจะจำเสียงเพลงที่เค้าชอบ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เปิดให้ฟังบ่อย ๆ ได้
อ่านวิธีเพิ่มทักษะด้านการฟัง ในหน้าถัดไป
วิธีเพิ่มทักษะด้านการฟัง
วิธีที่จะช่วยเพิ่มทักษะทางด้านการฟังให้ลูกน้อย เช่น
- ร้อง หรือ ฮัมเพลงให้ลูกฟังบ่อย ๆ นอกจากช่วยพัฒนาทักษะทางการได้ยินแล้ว ยังจะช่วยให้ลูกมีสมาธิดีอีกด้วย
- เปิดเพลงให้ลูกฟัง และ ปรบมือตามจังหวะ
- อ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ลูกเกิด การอ่านหนังสือให้ลูกฟังนั้น สามารถทำได้ตั้งแต่แรกคลอด แม้ลูกจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อ่านให้ฟัง แต่การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ยังเล็ก จะช่วยให้เขาโตมามีนิสัยรักการอ่าน
- หาของเล่นที่มีเสียง หรือ เพลง
- หาเครื่องดนตรีเด็กเล่นให้ลูกเล่นเมื่อเขาโตพอจะเล่นได้
คุณควรหาของเล่น ที่มีเสียงที่แตกต่างกันมาให้ลูกเล่น หรือ ลองเปลี่ยนเพลงที่ร้อง เพราะบางครั้ง การที่ลูกไม่ตอบสนองก็อาจเป็นเพราะเค้าเบื่อ หรือ กำลังสนใจอย่างอื่นอยู่ก็ได้นะครับ แต่หากคุณมีความสงสัยเรื่องการได้ยินของลูกน้อย คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อ ทดสอบการได้ยินของทารก ตรวจการได้ยินของทารก หรือเข้ารับการวินิจฉัยจะดีที่สุดครับ
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และ เด็กชาย รวมถึง เตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ เพราะ theAsianparent Thailand คือ เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา momjunction
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง
ผ้าเช็ดตัว แหล่งเชื้อโรคสู่ลูกน้อยที่คุณไม่คาดคิด
รู้ไหม ทำไม พ่อแม่ถึงเลือก ปกป้องลูกรัก ด้วยคำว่า “หยุด” ?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!