หลายคนที่คบหากัน ต่างก็เริ่มมองถึงความมั่นคงในอนาคต การเก็บเงินร่วมกันก็เป็นอีกหนึ่งความมั่นคงเพื่อที่จะสร้างอนาคตให้กับคู่ของตัวเอง หลายคนตัดสินใจอยากจะเปิดบัญชีเพื่อเก็บเงินร่วมกัน แต่หากเก็บไว้ในบัญชีชื่อของคนใดคนหนึ่ง แล้วเกิดเลิกรากันไป จะทำอย่างไร แล้วเราจะมั่นใจคนที่ถือบัญชีได้มากน้อยแค่ไหน การเปิดบัญชีคู่ จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก แล้วถ้าเป็นแฟนกันจะสามารถ เปิดบัญชีคู่ได้หรือไม่ แล้ว คู่สมรสเปิดบัญชีคู่ จะดีหรือไม่อย่างไร?
การเปิดบัญชีคู่
บัญชีคู่ คือ บัญชีเงินฝากที่มีเจ้าของเงินในบัญชีมากกว่า 1 คน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีออมทรัพย์ ฝากประจำ กองทุนเป็นการวางแผนเก็บออมเงินร่วมกัน หรือเพื่อเป็นเงินกองกลาง ตั้งแต่เสียค่าน้ำค่าไฟ ค่าซื้อของใช้เข้าบ้าน ซื้อรถ ดาวน์บ้าน ค่าเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งซ่อมแซมบ้าน รวมถึงค่าอาหารการกินด้วย ซึ่งการมีเงินกองกลางนี้จะช่วยลดปัญหาจุกจิกกวนใจว่าค่าใช้จ่ายเรื่องไหน ใครเป็นคนออก เพราะสามารถนำเงินกองกลางมาใช้ได้เลย
การเปิดบัญชีร่วม
สำหรับการทำบัญชีคู่นั้น ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ก็สามารถสร้างบัญชีร่วมกันได้ ในความเป็นจริงแล้วจะเป็นใครก็ได้ เพศใดก็ได้ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง หรือแม้กระทั่งเพื่อน ขอแค่เป็นคนที่เราไว้ใจ และมีจุดประสงค์ในการวางแผนการใช้เงินร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีคู่ในการทำธุรกิจขายของออนไลน์ร่วมกับเพื่อน หรือแม้แต่การเปิดบัญชี เพื่อออมเงินไปท่องเที่ยวร่วมกันก็สามารถทำได้
โดยปกติการเปิดบัญชีคู่โดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 แบบ คือ และ, หรือ, เพื่อ, โดย แต่ส่วนใหญ่คู่รักมักจะเปิดบัญชีร่วมกันมักจะใช้อยู่แค่ 2 ประเภท คือ “และ” กับ “หรือ”
เช่น “นายหนึ่ง และ นางสาวสอง” บัญชีลักษณะนี้ จะเป็นบัญชีที่ค่อนข้างมีกฎเคร่งครัด ในกรณีที่จะทำการถอน เปิด – ปิดบัญชี ต้องได้รับการรับรู้ และมีลายเซ็นยินยอมจากทั้งคู่ผู้เปิดบัญชี จะเห็นได้ว่าบัญชีเปิดไว้สำหรับใช้ร่วมกันจริง ๆ ยกเว้นแต่การฝากเงิน สามารถใช้ลายเซ็นของคนใดคนหนึ่งได้ค่ะ
เช่น “นายสาม และ นางสาวสี่” บัญชีลักษณะนี้ จะเป็นบัญชีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้ลายเซ็นของผู้ร่วมเปิดบัญชีคนใดคนหนึ่ง และสามารถทำการถอนเงินได้ทันที ยกเว้นแต่การเปิด – ปิดบัญชี จำเป็นจะต้องใช้ลายเซ็นของทั้งคู่ร่วมกัน ที่สำคัญบัญชีคู่ที่ใช้ “หรือ” นั้น ต้องอาศัยความไว้วางใจซึ่งกัน และกัน ในการนำเงินไปใช้ในเรื่องที่จำเป็นจริง ๆ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เราซึ่งเป็นผู้ร่วมเปิดบัญชีคู่
การเปิดบัญชีร่วม
เปิดบัญชีคู่ที่ไหนได้บ้าง
สำหรับใครที่อยากเปิดบัญชีคู่ ก็สามารถจูงมือคู่ของคุณไปเปิดบัญชีได้ที่ทุกธนาคาร ทุกสาขาเลยค่ะ แต่ ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถเปิดบัญชีคู่แบบออนไลน์ได้ เพราะการเปิดบัญชีประเภทนี้ยังมีเงื่อนไขที่มากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม แต่ละธนาคารก็มีรายละเอียดปลีกย่อยในการเปิดบัญชีต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ก่อนที่จะเปิดบัญชีกับธนาคารควรต้องศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขอย่างละเอียดเสียก่อนแล้วค่อยตัดสินใจเลือก
เปิดบัญชีคู่ ร่วมกับใครได้บ้าง ?
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ต้องเป็นแค่คู่รักอย่างเดียวหรือเปล่าที่จะสามารถเปิดบัญชีคู่ได้ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ใคร ๆ ก็สามารถเปิดบัญชีคู่ร่วมกันได้ค่ะ เพียงแค่คุณพึงพอใจที่จะเปิดบัญชีคู่ ร่วมกันกับใครค่ะ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ญาติพี่น้องทั้งหลาย สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส และยังไม่จดทะเบียน หรือแม้แต่คู่ที่เป็นแค่แฟนกันเฉย ๆ ก็สามารถเปิดบัญชีคู่ร่วมกันได้ค่ะ
เอกสารที่ต้องใช้เพื่อการเปิดบัญชีคู่
- Passport หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีที่ใช้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาทะเบียนบ้านเพิ่มเติม)
- กรณีเป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ใช้เอกสาร Work Permit หรือ VISA ที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มเติม และหนังสือรับรองการทำงานจากนายจ้าง
- กรณีเป็นนักศึกษาใช้ หนังสือรับรองจากสถานศึกษา และบัตรนักศึกษา/นักเรียน (ถ้ามี)
กรณีลูกค้าที่มีสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย (เขตชายแดน) ที่เข้ามาทำงานรับจ้างในประเทศไทย เอกสารที่ใช้ในการเปิดบัญชีมีดังนี้
- หนังสือเดินทาง (Passport) หรือ
- เอกสารสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือเอกสารหลักฐานแสดงตนที่ออกและรับรองโดยหน่วยงานราชการ เช่น แบบ ทร. 38/1 ที่ยังไม่หมดอายุ ทั้งนี้ใบผ่านแดน (Bording Pass) ไม่สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการ
- หนังสือรับรองการทำงานของนายจ้าง
ถอนเงินบัญชีคู่ ทำยังไง?
ปกติแล้วตอนเปิดบัญชีธนาคารจะให้คุณเลือกเงื่อนไขธุรกรรมว่า ต้องการถอนเงินในบัญชีแบบไหน
- ระบุการถอนคนเดียว ถ้าเลือกแบบนี้ เวลาจะถอนเจ้าของบัญชีคนใดคนหนึ่ง สามารถเดินทางไปถอนคนเดียวได้
- ระบุการถอนสองคน กรณีนี้ต้องใช้ลายเซ็นของทั้งสองคน ในการถอนเงินจากบัญชีที่สาขาหากอีกคนหนึ่งมาไม่ได้ ก็ต้องทำหนังสือมอบฉันทะ เพื่อยินยอมในการถอนเงิน
นอกจากนี้การเปิดบัญชีคู่แบบออมทรัพย์ยังสามารถทำบัตร ATM ได้นะคะ แต่ต้องตกลงกันให้ดีว่าจะให้ใครเป็นคนถือบัตร ATM
การเปิดบัญชีร่วม
ข้อดี – ข้อเสีย เปิดบัญชีคู่
ข้อดี
- ได้เป็นเจ้าของเงินร่วมกัน
- จัดการเงินกองกลางง่าย เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ผ่อนบ้าน
- ฝึกวินัยออมเงินร่วมกัน
ข้อเสีย
- ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ เทียบกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่น
- ทำธุรกรรมผ่านแอปไม่ได้
- ถือบัตร ATM ได้คนเดียว
สรุป
เราสามารถเปิดบัญชีคู่ร่วมกันกับใครก็ได้ ส่วนใหญ่จะเปิดได้แค่บัญชีออมทรัพย์ทั่วไป และเจ้าของบัญชีจะมีสิทธิในเงินเท่า ๆ กัน โดยสามารถเปิดบัญชีได้ที่สาขาธนาคาร และต้องดูเงื่อนไขให้ดีก่อนนะคะ
1. ต้องมีบัญชีรายรับ – รายจ่าย
ควรสร้างวินัยทางการเงินด้วยการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายให้เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเริ่มต้นจากการสร้างวินัยทางการเงินด้วยการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของตัวเองก่อน และหลังจากนั้นเริ่มบันทึกบัญชีรายรับ รายจ่ายของครอบครัว
2. ออมเงินให้สม่ำเสมอ
การออมเงินนั้นมีหลากหลายวิธี ทั้งฝากประจำ กองทุน และอื่น ๆ อีกมากมาย ตัวอย่างข้างต้นก็เป็นการสร้างวินัยการออมเงินที่ดี ที่เราสามารถเลือกการออมเงินได้ตามความเหมาะสมของ หากได้ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ความมั่งคั่งมั่นคงก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว
3. กำหนดเป้าหมาย วางความฝันในชีวิตร่วมกัน
ควรคิดวางแผนอนาคตไว้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตคู่ให้อยู่กันอย่างยั่งยืน เช่น หลังจากแต่งงาน จะมีลูกหรือไม่มีลูก คิดคำนวณค่าใช้จ่ายในการมีลูก จะเก็บเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ มีการวางแผนไปเที่ยวจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ คิดวางแผนทั้งหมดให้ครบจนกระทั่งเกษียณอายุ ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้มั่นคงและยั่งยืนนั้นจะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายและวางแผนตั้งแต่ต้นจนจบ
4. อย่าลืมเปิดใจคุยกันเรื่องเงิน
เรื่องเงินทองก็เป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตคู่ ควรมีการปรึกษากันในทุก ๆ เรื่อง และกำหนดข้อตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ทั้งคู่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน รวมไปถึงการแบ่งหน้าที่ในการตัดสินใจในเรื่องการใช้เงิน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
ที่มา : salehere , finstreet , ncb
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน
ออมเงินก่อนเกษียณ จำเป็นแค่ไหน ต้องทำอย่างไรให้มีเงินใช้สบายหลังเกษียณ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!