X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เจาะลึกการเจริญเติบโตทารกในครรภ์จาก 3-40 สัปดาห์ (ตอน 2)

บทความ 5 นาที
เจาะลึกการเจริญเติบโตทารกในครรภ์จาก 3-40 สัปดาห์ (ตอน 2)

ก้าวเข้ามาสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์กันแล้ว คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และเริ่มที่จะปรับตัวกับสภาพตอนตั้งครรภ์นี้ได้แล้ว ในช่วงนี้การเจริญเติบโตทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอะไรบ้าง มาตามดูกันค่ะ

เจริญเติบโตทารกในครรภ์ ในช่วงที่คุณแม่ตั้งท้องเกือบ 40 สัปดาห์ อยากรู้กันไหมคะว่าเจ้าตัวเล็กในท้องของเรามีการเจริญเติบโตแต่ละสัปดาห์อย่างไรกันบ้าง ก่อนที่ลืมตาออกมาดูโลกด้วยร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มาดูกันสิว่า การเจริญเติบโตทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 13-28 นี้มีพัฒนาการอะไรเพิ่มเติมมาบ้าง

เจริญเติบโตทารกในครรภ์

เจริญเติบโตทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 13

ทารกเริ่มมีลายนิ้วมือขึ้นที่นิ้วมือเล็ก ๆ ของเขาแล้ว เส้นเลือดดำและอวัยวะต่าง ๆ ก็เริ่มมองเห็นชัดขึ้นผ่านผิวหนังบาง ๆ ความยาวของลำตัวเริ่มเพิ่มขึ้นและไล่ตามความยาวของส่วนหัวมากขึ้น วัดความยาวของตัวในตอนนี้จะประมาณ 3 นิ้ว ส่วนน้ำหนักประมาณหนึ่งออนซ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 14

เริ่มการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นกับเจ้าตัวเล็ก ลูกจะเริ่มกระพริบตา ขมวดคิ้ว ทำหน้าตาบู้บี้ และดูดนิ้วได้แล้ว สมองเริ่มมีการกระตุ้น ส่วนกล้ามเนื้อบนหน้าก็จะเริ่มมีการเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เริ่มมีการทำงานของไตมากขึ้นสามารถผลิตปัสสาวะและขับปัสสาวะออกมาทิ้งภายในถุงน้ำคร่ำ ในช่วงนี้ลำตัวจะเริ่มพัฒนาเติบโตได้เร็วกว่าช่วงหัว เริ่มมองเห็นลำคอชัดเจนขึ้น ปลายสัปดาห์นี้มือและขาของลูกจะยาวขึ้น มีความยาวของมือกับเท้าอยู่ประมาณครึ่งนิ้ว ส่วนเส้นผมก็เริ่มนุ่มขึ้น และเริ่มมีขนเล็ก ๆ ขึ้นทั่วร่างกาย ส่วนตับก็จะเริ่มทำหน้าที่สร้างน้ำดี ม้ามจะเริ่มผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่15

Advertisement

เจ้าตัวเล็กในท้องจะเริ่มหายใจเข้าและออกด้วยการสูดน้ำคร่ำเข้าและออกผ่านปอด ทำให้ปอดมีการสร้างถุงลมขึ้นมาช่วยในเรื่องของการหายใจเพิ่มขึ้น ขาจะเริ่มยาวกว่าแขนและเริ่มขยับข้อต่อของแขนขาได้แล้ว ส่วนหนังตายังคงปิดสนิทเหมือนเดิม ในช่วงนี้ลูกจะเริ่มรับรู้เกี่ยวกับแสงได้แล้ว คุณแม่ลองเอาไฟฉายไปส่องที่หน้าท้องดูนะคะ จะเป็นการกระตุ้นเสริมพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกได้ ส่วนใครที่รอลุ้นเพศลูกช่วงสัปดาห์นี้ไปพบคุณหมอก็สามารถทำทำอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศลูกดูได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าตัวน้อยว่าจะยอมหันมาให้คุณพ่อคุณแม่เห็นเพศหรือเปล่านะ ถ้ายังเป็นมุมที่บังเพศอยู่ก็คงต้องลุ้นกันต่อไป

Read : ไฟฉายส่องท้องกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 16

ทารกในช่วงนี้เริ่มเติบโตเต็มที่ขึ้นมาแล้ว รูปร่างของลูกมีขนาดพอ ๆ กับผลอะโวคาโด หรือประมาณ 4 ½ นิ้วจากหัวถึงก้น มีน้ำหนักประมาณ 98 กรัม ส่วนอวัยวะต่าง ๆ เช่น ขาจะเริ่มสมบูรณ์ขึ้น หัวก็จะตั้งตรงกว่าเดิมมากขึ้น ตาจากที่เคยอยู่ด้านข้างก็จะเคลื่อนมาด้านหน้าขึ้นเรื่อย ๆ หูเริ่มอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง มีหนังศีรษะที่เริ่มขึ้น เล็บเท้าก็เริ่มยาวขึ้น ช่วงสัปดาห์นี้หัวใจของลูกน้อยสามารถสูบฉีดโลหิตได้ประมาณ 52 ลิตรต่อวัน

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 17

กระดูกอ่อนของลูกเริ่มแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ มีการเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ กับรกมากขึ้น ช่วงตัวยาวขึ้นเป็น 5 นิ้ว สามารถขยับข้อต่อต่าง ๆ ได้ และเริ่มสร้างต่อมเหงื่อขึ้น

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 18

ทารกเริ่มขยับเคลื่อนไหวแขน ขา และตัวได้มากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากนี้จะเริ่มมองเห็นริ้วเส้นเลือดฝอยบาง ๆ ผ่านผิวหนังบาง ๆ ของลูก ส่วนหูก็ค่อย ๆ ขยับมาอยู่ในตำแหน่งที่สมบูรณ์มากขึ้น หัวเริ่มเงยมาตรงมากขึ้น ระบบประสาทจะสร้างสารไขมันมาหุ้มใยประสาทต่าง ๆ และจะเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าลูกเป็นเด็กผู้หญิงร่างกายจะเริ่มสร้างมดลูกขึ้นมา ถ้าเป็นเด็กผู้ชายในตอนนี้อวัยวะเพศของลูกก็จะเริ่มเห็นเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้น

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 19

ช่วงนี้ความยาวของลูกประมาณ 6 นิ้วจากหัวถึงก้น แขนและขาเริ่มมีขนาดสมส่วนมากขึ้นเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ไตยังคงทำหน้าที่ผลิตปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง ส่วนขนอ่อน ๆ เส้นผม และหนังศีรษะก็เริ่มขึ้นมาแบบหรอมแหร็ม ที่บริเวณผิวหนังก็มีคล้ายขี้ผึ้งบาง ๆ คอยเคลือบที่ผิวหนังอีกชั้นเพื่อป้องกันกรดต่าง ๆ ที่อยู่ในรก และช่วยป้องกันการกระแทกกับของแข็งภายในมดลูกด้วย ส่วนระบบประสาทของลูกเริ่มพัฒนามากขึ้น สมองส่วนที่เกี่ยวกับประสาททั้ง 5 (การดมกลิ่น การลิ้มรส การได้ยิน การมองเห็น และการสัมผัส) เริ่มเกิดขึ้น ในช่วงนี้หากคุณแม่จะเริ่มพูดคุยกับลูก หรือส่งเสียงด้วยการร้องเพลง อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ก็จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกเพิ่มมากขึ้นได้

Read : หลากวิธีกระตุ้นลูกให้ฉลาดตั้งแต่อยู่ในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 20

หลังจากสัปดาห์นี้เป็นต้นไปทารกจะหัดกลืนได้มากขึ้นทุกวัน ช่วยเป็นการฝึกระบบเกี่ยวกับการย่อยให้ดีขึ้น และเริ่มที่จะมีการขั้บถ่ายครั้งแรก อึก่อนแรกจะออกมาเป็นสีดำ เหนียว ๆ มาจากสิ่งที่สะสมอยู่ในตับ ไต ไส้พุงของลูกนั่นเอง

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 21

เจ้าตัวน้อยเริ่มขยับร่างกายมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเริ่มเคลื่อนไหวตัวเองได้มากขึ้น ในช่วงนี้คิ้วและเปลือกตาก็เติบโตเต็มที่ และในลูกผู้หญิงก็จะเริ่มเห็นอวัยวะเพศชัดขึ้น

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 22

เจ้าตัวน้อยเริ่มมีรูปร่างหน้าตาที่สมบูรณ์ขึ้นแล้ว ทั้งริมฝีปาก เปลือกตา คิ้วจะเห็นชัดเจนขึ้น ดวงตาเริ่มครบสมบูรณ์แต่ยังบอกสีของตาไม่ได้ มีฟันซี่เล็ก ๆ ขึ้นเป็นตุ่ม ๆ ใต้เหงือก มีขนอ่อน ๆ เริ่มขึ้นทั่วร่างกาย ส่วนผิวหนังจะดูเหี่ยวย่น แต่ถ้าไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังมีจำนวนมากขึ้นก็จะทำผิวของลูกเรียบเนียนเป็นปกติ ส่วนตับอ่อนเริ่มผลิตสารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายมากขึ้น

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 23

ช่วงนี้ลูกในท้องของคุณแม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดุกดิกมากขึ้น ตัวของลูกน้อยสัปดาห์นี้ยาวขึ้นมา 11 นิ้ว และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมามากกว่า ½ กิโลกรัมด้วย ส่วนระบบเส้นเลือดต่าง ๆ ก็พัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจที่ดีขึ้นในอนาคต และลูกก็เริ่มที่จะได้ยินเสียงที่ดังมากขึ้น

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 24

ในช่วงนี้สมองมีการเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และทารกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก 112 กรัม มีขนาดตัวที่ยาวใกล้เคียงหนึ่งฟุตแล้ว ตัวจะเริ่มยืดขึ้น สามารถรับรู้รสชาติต่าง ๆ ได้ ส่วนของปอดก็มีการแบ่งเซลล์ต่าง ๆ แตกกิ่งก้านออกไปเหมือนต้นไม้ เป็นการเตรียมพร้อมของถุงลมที่จะทำงานได้ดีในอนาคต ในส่วนของผิวหนังยังคงมีความบางและโปร่งแสงอยู่

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 25

ผิวหนังของทารกที่เหี่ยวย่นค่อย ๆ เรียบตึงขึ้น เริ่มมีหน้าตาใกล้เคียงกับทารกแรกเกิดแล้ว ส่วนเส้นผมก็ยังขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเห็นความแตกต่างของสีผมชัดขึ้น

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 26

สัปดาห์นี้ลูกน้อยในท้องของคุณแม่จะตัวใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 800 กรัม และตัวยาวขึ้นประมาณ 14 นิ้ว จากหัวถึงเท้า ระบบประสาทต่าง ๆ ภายในหูเริ่มพัฒนาดีขึ้นเรื่อย ๆ สามารถฟังเสียงที่คุ้นชินและเริ่มแยกแยกได้ว่านี้เสียงคุณพ่อหรือคุณแม่ ในระหว่างที่ทารกอยู่ในถุงน้ำคร่ำการหายใจเข้าออกยังแผ่วเบาอยู่ แต่การหายใจนี้จะเป็นการฝึกช่วยให้ทารกแตรียมพร้อมสำหรับการหายใจทางปอดในอนาคต และเตรียมตัวสำหรับการหายใจสูดอากาศเข้าและออกครั้งแรกหลังจากคลอดออกมาใหม่ ๆ ด้วย สำหรับเด็กผู้ชายอัณฑะจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยถุงอัณฑะ และใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วันก็จะสมบูรณ์

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 27

สัปดาห์นี้ลูกจะมีน้ำหนักขึ้นมาเกือบ 1 กิโลกรัม และตัวยาวประมาณ 14 ½ นิ้ว ช่วงนี้ทารกในท้องจะเริ่มตื่นลืมตาและนอนหลังตาตามเวลาได้เอง บางมีก็ยังมีการดูดนิ้วด้วย เนื้อเยื่อในสมองเริ่มพัฒนามากขึ้นและค่อนข้างจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ปอดเริ่มทำงานเป็นระบบมากขึ้น และบางทีคุณแม่อาจจะรู้สึกถึงอาการสะอึกของลูกน้อยในครรถ์ ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้

Read : ทารกในครรภ์สะอึก…..อันตรายไหม

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 28

ตัวน้อยเริ่มกะพริบตาและเริ่มมองเห็นลาง ๆ ตั้งแต่อยู่ในมดลูกได้แล้ว ในช่วงนี้เซลล์ประสาทล้านล้านเซลล์ในสมองพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายลูกจะเริ่มอ้วนขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับการออกมาสู่โลกภายนอกที่ใกล้จะถึงในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว

ซีรีส์การเจริญเติบโตทารกในครรภ์จาก 3-40 สัปดาห์ มีทั้งหมด 3 ตอนนะคะ สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ในช่วงไตรมาส 3 อ่าน เจาะลึกการเจริญเติบโตทารกในครรภ์จาก 3-40 สัปดาห์ ตอน3 คลิก!

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.iosociety.com , 2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 สิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์อยู่ท่าไหน ฟังเสียงหัวใจบอกได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เจาะลึกการเจริญเติบโตทารกในครรภ์จาก 3-40 สัปดาห์ (ตอน 2)
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว