X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การตรวจครรภ์ กรณีสงสัยว่าท้องหลังขาดประจำเดือน

บทความ 5 นาที
การตรวจครรภ์ กรณีสงสัยว่าท้องหลังขาดประจำเดือน

ผู้หญิงอยากตั้งครรภ์ ต้องตื่นเต้นกับผลตรวจครรภ์แน่นๆ ว่าแต่จะสามารถตรวจครรภ์ช่วงไหนดี แม่นยำที่สุด

ประจำเดือนขาด เป็นสัญญาณแรกที่ผู้หญิงเราเริ่มสงสัยว่า ตัวเองจะตั้งท้องหรือเปล่า โดยเฉพาะในคนที่ประจำเดือนมาเป็นปกติ อยู่ดี ๆ ประจำเดือนขาดหายไป แต่ถ้าไม่ตรวจก็คงบอกไม่ได้ การตรวจครรภ์ หลังขาดประจำเดือน ต้องทำอย่างไร ทำได้กี่วิธี

 

ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาดเกิดจากอะไร

ถึงแม้ประจำเดือนขาด จะเป็นสัญญาณว่าอาจตั้งครรภ์ แต่ว่าก็มีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ประจำเดือนขาดหาย มาไม่ปกติได้เช่นกัน ดังนี้

  • เกิดภาวะการตั้งครรภ์
  • น้ำหนักมากเกินไป
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ความเครียด
  • เข้าสู่วัยทอง โดยปกติแล้วจะพบในช่วงอายุ 45 ปี ขึ้นไป
  • เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่สมดุล
  • อื่น ๆ

การตรวจครรภ์ หลังประจำเดือนขาด

หากประจำเดือนขาด แล้วสงสัยว่าจะท้องไหม หรือมีแนวโน้มว่าอาจจะตั้งครรภ์ สามารถตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองค่ะ ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เมื่อสงสัยว่าอาจจะตั้งท้อง

สามารถหาซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจปัสสาวะ โดยซื้อได้จากร้านขายยา หรือ จะซื้อออนไลน์ก็ได้เช่นกัน โดยชุดการตรวจปัสสาวะที่วางจำหน่ายทั่วไป มีอยู่ 3 แบบ และราคาไม่แพง

การตรวจครรภ์ กรณีสงสัยว่าท้องหลังขาดประจำเดือน

1. ใช้ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม (Pregnancy Test Strip)

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่ม ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มมีราคาถูกที่สุด โดยมีอุปกรณ์คือ “ที่ใส่ปัสสาวะ” และ “แผ่นตรวจ”

วิธีการทดสอบ
ปัสสาวะใส่ถ้วย แล้วจุ่มแผ่นตรวจด้านที่อยู่ปลายลูกศร ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ แล้วยกแผ่นตรวจขึ้นไปวาง รออ่านผล

Advertisement

1. นำแผ่นทดสอบออกจากซองและนำไปใช้ทันที
2. จุ่มแผ่นทดสอบลงในปัสสาวะอย่างน้อย 10 วินาที ระวังอย่าให้ปัสสาวะโดนแถบเส้นลูกศร
3. รอจนเกิดแถบสี และอ่านผลภายใน 5 นาที
4. ไม่ควรอ่านผลหลังจาก 5 นาทีไปแล้วเนื่องจากผลอาจเบี่ยงเบน

 

 

การตรวจครรภ์ กรณีสงสัยว่าท้องหลังขาดประจำเดือน

2. การตรวจครรภ์ ด้วยที่ตรวจครรภ์แบบหยด (Pregnancy Test Cassette)

จะมีอุปกรณ์ในกล่อง 3 อย่าง ได้แก่ ที่ใส่ปัสสาวะ ตลับทดสอบ หลอดพลาสติก

วิธีการทดสอบ
1.ฉีกซอง และนำตลับทดสอบ ออกจากซอง วางบนพื้นราบ
2.ใช้หลอดพลาสติกที่ให้มาดูดปัสสาวะ ซึ่งอยู่ในถาดที่เตรียมไว้
3.หยดปัสสาวะลงในหลุมทดสอบ 3 หยดช้า ๆ โดยให้หยดแรกซึมก่อนจึงหยดปัสสาวะต่อไป
4.วางตลับทดสอบไว้ประมาณ 1-5 นาที จึงอ่านผลการทดสอบจากช่องอ่านผล

 

 

การตรวจครรภ์ กรณีสงสัยว่าท้องหลังขาดประจำเดือน

3. ที่ตรวจครรภ์แบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests)

ที่ตรวจครรภ์แบบปัสสาวะผ่าน จะมีลักษณะเป็นหลอดแบบมีที่จับ มีปลอกคล้ายปากกา

วิธีการทดสอบ
1. ถอดฝาครอบออก พร้อมกับถือแท่งทดสอบ โดยให้หัวลูกศรชี้ลง
2. ปัสสาวะโดยให้น้ำปัสสาวะผ่านบริเวณที่ดูดซับน้ำปัสสาวะ ซึ่งจะอยู่ต่ำกว่าลูกศร ต้องให้เปียกชุ่ม
3. ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที โดยถือแท่งไว้หรือวางในบริเวณที่แห้งสนิทในแนวราบ

วิธีการอ่านผลทดสอบจาก ที่ตรวจการตั้งครรภ์

1. ตั้งครรภ์: ปรากฎแถบสีขึ้น 2 ขีด แม้ขีดที่สองจะจาง
2. ไม่ตั้งครรภ์: ปรากฏแถบสีขึ้น 1 ขีดที่ตัว C
3. ผลการทำสอบผิดพลาด: ไม่ปรากฎแถบสีขึ้น หรือ ขึ้น 1 ขีดบนตัว T

 

คำแนะนำ การตรวจครรภ์ ด้วยตัวเอง

  • ควรรอให้ประจำเดือนขาด ประมาณ 7 วัน ก่อนใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เพราะบางครั้งประจำเดือนอาจมาช้ากว่าปกติ จากสาเหตุอื่น เช่น ความเครียด วิตกกังวล
  • อ่านรายละเอียดขั้นตอน วิธีการใช้ การอ่านค่า การแปลผลชุดทดสอบอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ผลทดสอบที่ถูกต้องแม่นยำ
  • ควรตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง เพราะปริมาณฮอร์โมน HCG จะมีระดับที่แตกต่างกัน หากตรวจหลายครั้งจะได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนกว่า โดยเว้นระยะทดสอบประมาณ 2-3 วัน
  • ควรตรวจหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือก่อนรับประทานอาหารเพราะจะไม่มีสารเจือปนในปัสสาวะซึ่งอาจจะส่งผลให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้
  • เมื่อฉีกซองแล้วควรรีบตรวจภายใน 1 ชั่วโมงทันที เพราะหากทิ้งไว้นานจะทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจลดลง
  • ควรอ่านผลไม่เกิน 3-5 นาที เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำ เพราะหากทิ้งไว้นานเกิน 5 นาทีไป อาจจะทำให้แปลผลผิดพลาดได้
  • ถ้าผลตรวจอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด แม้ผลตรวจพบขึ้นขีดที่ 2 จาง ๆ  ก็แสดงว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

 

อยากรู้ผลการตรวจครรภ์เร็ว ๆ ชัวร์ ๆ

ถ้าประจำเดือนขาด แต่ใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แล้ว ยังไม่มั่นใจว่าผลแม่นยำหรือไม่ อาจจะไปตรวจการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาล หรือ คลินิกด้วยการตรวจเลือด ตรวจร่างกาย เพราะการตรวจเลือด สามารถบอกได้ว่าท้องหรือไม่ ค่อนข้างแน่นอนเกือบ 100% ด้วยการเจาะเลือด เพื่อตรวจฮอร์โมน HCG แต่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับว่าที่คุณแม่ที่มีลูกยาก หรือ แท้งง่าย อยากรู้ผลไว ๆ จะได้วางแผนดูแลลูกในท้องให้เร็วที่สุด

 

ที่มา (1) (2) (3)

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

gloy

  • หน้าแรก
  • /
  • อยากท้อง
  • /
  • การตรวจครรภ์ กรณีสงสัยว่าท้องหลังขาดประจำเดือน
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว