X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การคลอดลูกไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะผลลัพธ์ที่ได้นั้นช่างคุ้มค่า

บทความ 3 นาที
การคลอดลูกไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะผลลัพธ์ที่ได้นั้นช่างคุ้มค่า

เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนด สิ่งที่คุณแม่หลาย ๆ คนกลัวและกังวลมากที่สุดก็คือ การคลอดลูก ... และเมื่อเราผ่านจุดนั้นมาได้ เราจะรู้เลยว่า การคลอดลูก ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิดเลย

เมื่อเข้าไตรมาสสาม สิ่งที่แม่อย่างฉันกลัวมากที่สุดก็คือ “การคลอดลูก” และฉันก็เชื่อว่า ไม่ใช่ฉันคนเดียวหรอกที่รู้สึกเช่นนั้น ใครเล่าจะไปชอบความเจ็บปวดจริงไหม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเข้ารับการผ่าตัดด้วยแล้ว … บล็อคหลังเหรอ ไม่ต้องพูดถึง คงจะน่ากลัวแบบสุด ๆ เลยละ และสิ่งที่แม่อย่างฉันทำก็คือ การหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคลอดลูกอ่านให้ได้มากที่สุุด ก็เดี๋ยวนี้เขาไม่ได้มีแต่การรีวิวสถานที่กินที่เที่ยวแล้วนะ เขายังมีรีวิวการส่องกล้องท้อง และการผ่าคลอดอีกด้วย เรียกได้ว่า ต้องการอยากรู้ไรพิมพ์ถามอากู๋ได้เลย ไม่กี่นาทีก็ได้รู้แบบหมดไส้หมดพุงแล้วละ

การผ่าคลอด

จากการท่องเที่ยวโลกออนไลน์มาได้สักพักนึง ก็พอจะรู้และเข้าใจถึงความแตกต่างและขั้นตอนการคลอดลูกไม่ว่าจะเป็นการผ่าคลอดหรือการคลอดลูกเองด้วยวิธีการทางธรรมชาติ เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีอะไรเหมือนกันเลย และทุกครั้งที่ฉันดูรีวิวต่าง ๆ ฉันก็ชอบที่จะอ่านคอมเม้นท์ของคุณแม่คนอื่น ๆ ด้วยนะคะ ซึ่งฉันว่า ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กับสิ่งที่เจ้าของบทความเขาเขียนเลยละ (ไม่เชื่อคุณลองใช้เวลานั่งอ่านดูสิ)

Advertisement

ซึ่งแต่ละความคิดเห็นของคุณแม่หลาย ๆ คนที่ฉันมีโอกาสได้อ่านหรือมีโอกาสได้พูดคุยกับคนรอบข้าง ทุกคนล้วนพูดกันเป็นเสียงเดียวว่า “เจ็บไม่กลัว แค่ขอให้ลูกปลอดภัย และได้เห็นหน้าลูกก็พอ”

และแล้ววันนั้นก็มาถึง คุณหมอบอกกับฉันว่า “ผมว่าเราผ่าเถอะ เพราะทารกในครรภ์ตัวใหญ่เกินไป และดูจากคุณแม่แล้ว ผมว่าไม่น่าจะไหว” เอาเหอะ ผ่าก็ผ่า ตอนนี้ตัวจะแตกแล้วเดินก็ไม่ไหว ที่สำคัญอยากเห็นหน้าลูกจะแย่ คุณหมอนัดผ่าตอน 08.30 น. แล้วก็ให้ยาถ่ายมาชุดนึง บอกว่า ทานนะครับ แล้วให้รีบมาโรงพยาบาลก่อนเวลาสักตีห้าครึ่งแต่ไม่เกินหกโมงเช้าก็จะดี

คืนนั้นหลังจากที่ทานยาไป ก็ถ่ายโปร่งโล่งสบายแบบไม่เคยรู้สึกมาก่อน ฉันรีบเข้านอนแต่ก่อนนอนก็ไม่ลืมที่จะพูดกับลูกว่า “พรุ่งนี้เราจะได้เจอกันแล้วนะลูกแม่ ตื่นเต้นไหมลูก แม่ตื่นเต้นมาก ๆ เลยละ”

ฉันรีบมาโรงพยาบาลแต่เช้าตรู่ตามที่หมอสั่ง พยาบาลจัดแจงความความดัน ชีพจร ถามรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการแพ้ยา และบอกให้เปลี่ยนเสื้อผ้า หลังจากนั้นก็โกนขน!!! และใส่สายฉี่!!! ตอนนั้นอายนะ แต่เอาเหอะ! ไม่ใช่เราคนเดียว พยาบาลคงเห็นจนชินแล้วละ

ฉันนอนมองดูนาฬิกาบนผนังด้วยความใจจดใจจ่อ พอใกล้เวลา 08.15 น. พยาบาลก็บอกว่า เชิญค่ะคุณแม่ ได้เวลาแล้วนะคะ แล้วก็เข็นเตียงนอนของฉันไป ฉันบอกให้คุณแม่ของฉันรออยู่ตรงนี้ แต่ฉันรู้นะว่า ไม่ใช่ฉันคนเดียวหรอกที่ตื่นเต้น คุณแม่ของฉันก็เช่นเดียวกัน ที่สำคัญ ท่านไม่ได้นั่งเฉย ๆ แต่ท่านทำนั่งพนมมือทำปากขมุบขมิบไปด้วย บนตักก็มีหนังสือพระเล่มเล็ก ๆ อยู่ ใช่แล้วละค่ะ คุณแม่ของฉันกำลังนั่งสวดมนต์ขอพรให้ฉันและลูกปลอดภัยอยู่นั่นเอง

เมื่อมาถึงห้อง โอ้!! นี่หรือ ห้องผ่าตัดที่ฉันอ่านในรีวิว มันเป็นแบบนี้เองเหรอ ทำไมคนอยู่เยอะแยะไปหมดเลยละ หลังจากที่ตื่นตาตื่นใจอยู่สักพักนึง คุณหมอก็แนะนำว่าใครเป็นใคร แต่ละคนทำหน้าที่อะไรบ้าง ว่าแล้ว คุณหมอก็บอกว่า “อ้าวคุณแม่ นอนขดตัวตะแคงข้างให้ได้มากที่สุด ขดตัวแบบกุ้งไปเลยครับ เดี๋ยวหมอจะฉีดยาบล็อคหลังให้ ไม่เจ็บไม่ต้องเกร็ง ยาจะเย็น ๆ หน่อยนะครับ ไม่ต้องกลัวครับ ไม่มีอะไร” และก็เป็นแบบนั้นจริง ไม่รู้สึกเจ็บหรือว่าน่ากลัวแต่อย่างใดเลย ชิวและฟินมากบอกเลย

คุณหมอกับพยาบาลต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตัวเอง และจะมีคุณหมอวิสัญญีท่านนึงมาคอยชวนฉันพูดคุยเรื่องนู้นเรื่องนี้ อ้อ! มาถึงตอนนี้ไม่ต้องกังวลไปนะคะว่าเราจะเห็นอะไร เพราะเขาจะเอาผ้าและก็ฉากมากั้นไว้ ผ่านไปสักพักนึง คุณหมอก็พูดว่า “เจ็บไหมครับ ถ้าเจ็บบอกหมอนะ หมอจะได้ยังไม่ผ่า” โอ๊ะ! แปลก ฉันไม่รู้สึกอะไรเลยละ แถมยังนอนเมาท์มอยต่อกับคุณหมอวิสัญญีต่อไป ไม่เกิน 10 นาที ก็รู้สึกโล่ง ๆ ที่ท้องแล้วคุณหมอก็เอามือช่วยกันกด ๆ ดัน ๆ ที่ท้องของฉันแล้วก็นับ 1-2-3 พร้อมกัน

การผ่าคลอด

“แว๊ก แว๊ก แว๊ก” เสียงเด็กผู้ชายร้องส่งเสียงดังลั่นสนั่นไปทั่วห้อง น้ำตาของฉันค่อย ๆ ไหลลงมา ไม่นานคุณหมอก็เอาเด็กคนนั้นมาให้ฉัน และบอกว่า “ยินดีด้วยนะครับคุณแม่ น้องสมบูรณ์แข็งแรงดี น้ำหนักตัว 3,700 กรัม” สิ้นเสียงหมอเท่านั้นแหละ ฉันก็หลับไม่รู้เรื่องเลย มารู้ตัวอีกทีก็อยู่ห้องพักฟื้นแล้ว

มาถึงตอนนี้ ฉันรู้แล้วละว่า การคลอดลูกไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอะไรเลย ไม่จำเป็นที่เราจะต้องกังวล เพราะผลที่ได้ลัพธ์นั้นมันช่างคุ้มค่าเสียจริง ๆ อีกอย่างไม่สำคัญหรอกว่า คุณจะผ่าคลอดหรือว่าคลอดลูกเองด้วยวิธีการทางธรรมชาติ สำหรับคุณแม่ทุกคน ไม่มีสิ่งไหนที่จะสำคัญไปกว่า การได้พบเจอหน้าลูกและได้รู้ว่าเขามีสุขภาพร่างกายที่ดีแข็งแรงและสมบูรณ์ คุณผู้อ่านเห็นด้วยไหมคะ

parenttown

 

 

 

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • การคลอดลูกไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะผลลัพธ์ที่ได้นั้นช่างคุ้มค่า
แชร์ :
  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

    เล่นกับลูกยังไงให้ฉลาด? 10 วิธี กระตุ้นประสาทสัมผัสลูกในครรภ์

  • ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
    บทความจากพันธมิตร

    ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว